#เรื่องเล่ายามดึก สินค้าของไทยเป็นที่นิยมจริงหรือไม่? หรือแค่การตลาดแบบฉาบฉวย?
เมื่อวันก่อน อ้ายจงได้เห็นข้อความบน Facebookของเพื่อนคนหนึ่ง ที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับประเด็นนี้ ข้อความนั้นมีใจความว่า
.
“สินค้า BEAUTYของไทย มีลูกค้าชาวจีนจริงๆ เพียงแต่การค้นหาและรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นจึงอาจไม่มีความยั่งยืน”
.
สำหรับมุมมองของอ้ายจง ในมุมมองของคนที่ทำงานสายการตลาดจีน ผมขอตอบกลางๆ ไม่เจาะจงเฉพาะสินค้าประเภท BEAUTY
ผมมองว่า มันอยู่ที่เราวางสิ่งที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ของเราให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก อาทิ
– วาง Position กำหนดให้ถูกว่า ตำแหน่งของเราจะอยู่ในจุดไหน กลุ่มเป้าหมายคนจีนที่จะมาเป็นลูกค้าเราคือกลุ่มไหน
– วาง Brand characters กำหนดตัวตนของแบรนด์เราให้ชัดเจน
– วางกลยุทธ์การตลาด ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ให้สอดคล้องกับสองข้อข้างต้น
ปัจจุบันกลยุทธ์หนึ่งที่แทบทุกแบรนด์เลือกใช้ คือ การใช้ KOL (Key Opinion Leader) ผู้นำทางความคิด /Celebในโลกออนไลน์/เน็ตไอดอล หรือ คนที่มีผู้ติดตามจำนวนมากในโลกออนไลน์ เช่น เพจต่างๆ ตรวนี้เราก็ควรวิเคราะห์และเลือกให้ดีว่า “มีจำนวนผู้ติดตามจริงไหม หรือซื้อยอดมา เพราะในจีนมีประเด็นนี้จำนวนมาก”, “กลุ่มคนติดตามของKOLตรงเป้าของเราไหม?”
.
โดยการใช้ KOL ก็ควรวาง periodเวลาที่จะใช้ให้ชัดเจนและเหมาะสม ควรใช้ KOLควบคู่ไปกับกลยุทธ์สื่อสารการตลาดในระยะยาว ไม่ใช้แต่ KOLเพียงอย่างเดียว เพราะส่วนใหญ่จะเป็นแบบ (กระแส)มาไว ไปไว
.
– วาง customer journey การเดินทางของกลุ่มเป้าหมายของเรา รวมถึงแพลทฟอร์มที่ใช้ในการทำการตลาด อย่างเช่นถ้าเราจะทำการตลาดออนไลน์ในจีน เราก็ควรทราบว่า กลุ่มเป้าหมายที่มีต่อสินค้าของเรา อยู่บนแพลทฟอร์มใด แพลทฟอร์มไหนเหมาะสมกับเรา ตัวอย่างเช่น หากเป็นสินค้าประเภทความสวยความงาม ก็เหมาะที่จะใช้ Xiaohongshu ซึ่งเป็นแพลทฟอร์มที่ผู้ใช้งานเป็นคนจีนรุ่นใหม่ และชื่นชอบในสินค้าความงาม โดยเฉพาะแบรนด์ต่างประเทศ
.
– วางขั้นตอนและแผนงาน ว่าสิ่งใดควรทำเลยเป็นอันดับแรกๆ และสิ่งใดยังรอได้เมื่อพร้อมจึงทำ เช่น หากมีความมุ่งมั่นที่จะเจาะตลาดจีน ก็ควรมีแผนสำหรับจดตราสินค้าในจีน ไม่ควรรีรอ เพราะมีหลายกรณีที่ทำการตลาดไปแล้ว ปรากฏว่า พอจะเข้าตลาดจีนจริงๆ ชื่อแบรนด์ที่เราใช้ทำการตลาด กลับโดนคนจีนจดตัดหน้าไปแล้ว
.
ทุกข้อข้างต้นที่กล่าวมา เราควรวางให้ชัดเจน ครอบคลุม ไม่ฉาบฉวย
.
ต้องยอมรับว่า ณ ปัจจุบันนี้ แบรนด์ไทยหลายราย มีการทำการตลาดที่ค่อนข้างฉาบฉวย เน้นปั่นกระแสให้เกิดขึ้นไว แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดผลเสียตามมา เช่น หากทำการตลาดออนไลน์ มีการปั่นและปั้น engagement ยอดlikes ยอดแชร์ จะทำให้แบรนด์ของเราที่มีเพจบนสังคมออนไลน์ในจีนเป็นเหมือนบ้านของแบรนด์เรา โดนมองในทางที่ไม่ดี และยังถูกแพลทฟอร์มแบนเนื้อหา พร้อมทั้งจำกัดการมองเห็นได้อีกด้วย อย่างบนแพลทฟอร์มWeibo หลายคนไม่รู้ว่า เนื้อหาที่เราเป็นคนโพสต์ผ่านเพจหรือaccountของเรา หากมีเนื้อหาโฆษณาจนเกิดไป หรือปั่นยอดengagement -ปั่นกระแส แพลทฟอร์มจะ “ซ่อนโพสต์ของเรา จากการมองเห็นสาธารณะโดยอัตโนมัติ”
.
กล่าวคือ ผู้ประกอบการและแบรนด์ไทย “ไม่ควร” มุ่งเน้นแต่จะผลักตัวเองไปในจีนโดยทันที โดยไม่คำนึงถึงแบรนด์เราว่า แบรนด์เราจริงๆแล้วเป็นอย่างไร บางครั้งเราลืมมองแม้กระทั่งแบรนด์ตนเองในไทยว่าอยู่จุดใด
.
ความจริงในตอนนี้จาก Insightในจีน คือ คนจีนเองเริ่มมีความกระอักกระอ่วนใจกับการโดนยัดเยียดแบรนด์ต่างๆจากไทยว่า นี่คือแบรนด์ไทยนะ เป็นแบรนด์TOP10 ที่ต้องใช้ คือไม่ว่าแบรนด์ไหนไปทำการตลาดในจีน ก็ต้องมีการทำcontentจัดอันดับประมาณนี้ เรียกได้ว่า “ล้นตลาด” และเหตุนี้ ทำให้ผู้ประกอบการจีนเองก็มาแอบอ้างแบรนด์ไทยได้โดยง่าย ดังนั้นผู้บริโภคชาวจีนจึงถวิลหา แบรนด์คุณภาพ แบรนด์ที่คนไทยใช้ และเป็นแบรนด์ที่ทำให้พวกเขาชาวจีนอยากลองใช้ อยากลองทำความรู้จัก โดยไม่จำเป็นต้องยัดเยียดมากเกินไป ตามหลัก Inbound Marketingการตลาดแรงดึงดูด : ทำตัวเราให้ Sexy น่าค้นหา น่าทำความรู้จัก และเอาตนเองไปอยู่ให้ถูกจุดที่กลุ่มเป้าหมายจะเข้าถึง
.
อีกหนึ่งความจริงที่อยากบอกต่อ คือ ไม่ใช่คนจีนทุกคนที่จะมีรสนิยม/ความต้องการในการอยากลองอยากใช้แบรนด์ไทย เราจึงต้องเจาะให้ถูกจุด อาจเริ่มจากการสำรวจตลาดและความต้องการของสินค้าประเภทเดียวกับเราในสายตาคนจีน เช่น
-การไปออกบูทเพื่อลองตลาดและเปิดตัวสินค้าเราให้เป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะผู้ประกอบการในจีนที่อาจจะมาเป็นพาร์ทเนอร์ตัวแทนจำหน่ายของเราในอนาคต แต่เราก็ต้องเลือกให้ถูก ว่า “เมืองที่เราไปออกบูท มี potential สำหรับสินค้าไทยและสินค้าเราหรือไม่? ”
-การเจาะกลุ่มลูกค้าชาวจีนผ่านกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่มาในไทยแบบ FIT (มาเที่ยวเอง ไม่ได้มากับทัวร์) ก็เป็นหนึ่งในการเปิดตลาดลูกค้าชาวจีนที่น่าสนใจและทำได้ง่าย คือต่อยอดจากการขายภายในประเทศไทยอยู่แล้ว
.
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าเราจะทำแบรนด์สินค้าอะไรก็ตาม เราควรใช้คุณภาพเป็นตัวนำ เปรียบเสมือน Content ที่มีคำกล่าวว่า Content (Quality) is King เราควรตอบให้ได้ว่า “ตัวเรามีดีอะไร? ตัวเรามีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าไปในตลาดจีนหรือไม่? เราจะเข้าไปในทิศทางไหน หากตลาดนั้นเป็นทะเลแดง มีคู่แข่งจำนวนมาก ซึ่งเราก็ต้องมีการวิเคราะห์เพื่อ รู้เรา และรู้เขา จนได้ทิศทาง+จุดเด่น-กิมมิคของแบรนด์”
.
เมื่อมี Content (Product) ที่ดี เปรียบดัง King เราก็มาพ่วงด้วย Context บริบทที่เหมาะสมต่อคนจีน-กลุ่มเป้าหมายของเรา ตามคำกล่าว Content is King but Context is God เพื่อเจาะเข้าตลาดให้ได้และอยู่ยาวๆ
———————
เขียนโดย ภากร กัทชลี เจ้าของเพจอ้ายจง
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #การตลาดจีน
ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง