• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • #เรื่องเล่ายามดึก มีหลังไมค์มาถามว่า ดูหนังจีนหลายเรื่องมีฉาก “โรงเรียนจีนให้นัก…

#เรื่องเล่ายามดึก มีหลังไมค์มาถามว่า ดูหนังจีนหลายเรื่องมีฉาก “โรงเรียนจีนให้นัก…

#เรื่องเล่ายามดึก มีหลังไมค์มาถามว่า ดูหนังจีนหลายเรื่องมีฉาก “โรงเรียนจีนให้นักเรียนนวดตาในห้องเรียน” จึงเกิดความสงสัยว่า “ทำไปทำไม และเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไรบ้าง”

.

พออ้ายจงได้รับคำถามหลังไมค์ inboxมาแบบนี้ อ้ายจงจึงอยากนำมาเล่าต่อครับ เพราะถือเป็นประเด็นในจีนที่น่าสนใจทีเดียว

.

สำหรับ “การนวดตาในชั้นเรียนของนักเรียนจีน” เป็นหนึ่งในวิธีที่ถูกนำมาใช้ป้องกันและแก้ปัญหา “สายตาสั้น” ที่ถือเป็นปัญหาสุขภาพของเด็กจีนที่ทางรัฐบาลจีนกำลังเอาจริงเอาจังมากในช่วงหลายปีมานี้

.

โดยการนวดตาแบบนี้ มีไอเดียพื้นฐานมาจากการแพทย์แผนจีน ซึ่งแม้ว่าจะมีหลายฝ่ายตั้งคำถามว่า “การนวดตามันแก้ปัญหาสายตาสั้นได้จริงหรือไม่? โดยฝ่ายที่ตั้งข้อสงสัยระบุว่า งานวิจัยที่รองรับยังมีค่อนข้างน้อย” แต่โรงเรียนในจีนก็ยังคงให้นักเรียนนวดตา เพราะอย่างน้อยสามารถช่วยผ่อนคลาย ลดอาการเมื่อยล้าของการใช้สายตา จากการเรียนอย่างหนัก

.

ปัจจุบันจีนมีจำนวนประชากรสายตาสั้น 600-700ล้านคน โดยเฉพาะประชากรวัยเรียน โดย Wang Ningli ผู้อำนวยการศูนย์สายตา โรงพยาบาล Beijing Tongren เผยว่า “ปัญหาสายตาสั้นถือเป็นปัญหาสุขภาพที่พบมากในหมู่นักเรียนจีน อย่างนักศึกษาแพทย์ในจีน สายตาสั้นมากกว่า 90%ของจำนวนนักศึกษาแพทย์ทั้งหมด”

.

ด้าน Feng Dengli ประธานโรงพยาบาลด้านสายตาในกรุงปักกิ่ง Beijing Radiant Children’s Eye Hospital ก็ให้ข้อมูลที่เป็นไปในทางเดียวกัน คือ 80%ของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยมีปัญหาสายตาสั้น และจากการสำรวจเด็กนักเรียน 62,000ในปักกิ่ง พบว่า 23%ของเด็กอนุบาล เริ่มมีปัญหาสายตา”

.

สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ยกระดับปัญหาสายตาสั้น เป็นปัญหาสุขภาพระดับชาติที่ทางจีนต้องดำเนินแก้ไข โดยชูนโยบาย “ลดจำนวนคนสายตาสั้น โดยเฉพาะในเด็กจีน เช่น จำนวนนักเรียนม.ต้นที่สายตาสั้นจะต้องลดต่ำลง คือมีจำนวนไม่เกิน60% ภายในปี 2030 ”

.

จากนโยบายของสีจิ้นผิงในการต่อสู้ปัญหาสายตาสั้น ทำให้ตอนนี้มีหลายแผนหลายวิธีการถูกนำมาใช้ อย่างยิ่งในโรงเรียนจีน เพราะเด็กจีนมีปัญหามากสุด แผนที่ถูกนำมาใช้ก็เช่น การนวดตา (อย่างที่เล่าในตอนต้น ซึ่งอันนี้จริงๆมีมานับสิบปีแล้ว), การงดใช้โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนสิกส์ในห้องเรียน , มีกิจกรรมนอกห้องเรียนรวมถึงวิชาพลศึกษา ที่ทำให้เด็กไม่ต้องนั่งจ้องกระดานดำหรือตำราอยู่แต่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว เป็นต้น

.

เล่าโดย ปอ-ภากร กัทชลี หรือที่รู้จักในนาม “อ้ายจง”

——

ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://blogs.wsj.com/chinarealtime/2015/04/21/chinese-children-rub-eyes-to-improve-vision/

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]