นิทรรศการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อวกาศและการประยุกต์ใช้งาน

กิจกรรมเผยแพร่ความรู้
中国科学技术馆

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน ณ กรุงปักกิ่ง ได้เปิดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโครงการอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมและการประยุกต์ใช้งานครั้งแรกของจีนให้สาธารณชนเข้าชมโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีและวิศวกรรมการใช้ประโยชน์จากอวกาศสังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (Technology and Engineering Center for Space Utilization, Chinese Academy of Sciences: CSU, CAS) และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน (China Science and Technology Museum: CSTM)  โดยพื้นที่จัดแสดงใหญ่ราว 2,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น 5 ส่วน ฉากจําลองตามหัวข้อต่าง ๆ มากกว่า 10 ฉาก และสิ่งจัดแสดงมากกว่า 30 รายการ 

นิทรรศการนี้ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง ดิจิทัล และอื่น ๆ มามอบประสบการณ์เชิงโต้ตอบและเสมือนจริง เช่น “ยานอวกาศเสินโจว” และ “ถิ่นฐานดวงจันทร์”

Plant growth in China's space lab in good condition-Xinhua

ต้นเธลเครส (Arabidopsis) ที่เจริญเติบโตจากเมล็ดพันธุ์ ซึ่งถูกนํากลับมาจากสถานีอวกาศ (ภาพ : Xinhua)

ส่วนหนึ่งของสิ่งจัดแสดงสู่สาธารณชนครั้งแรกเป็นตู้ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ดั้งเดิม และต้นเธลเครส (Arabidopsis) ที่เจริญเติบโตจากเมล็ดพันธุ์ ซึ่งถูกนํากลับมาจากสถานีอวกาศ

การทดลองดังกล่าวดำเนินการโดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์พืชเซลล์โมเลกุล (Centre of Excellence for Plant and Microbial Science: CEMPS) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences: CAS) ระหว่างวันที่ 29 ก.ค.-25 พ.ย. 2565 ซึ่งผ่านวงจรชีวิต 120 วัน โดยทีมนักบินอวกาศเก็บตัวอย่างเธลเครสระยะออกดอกในวันที่ 12 ต.ค. และตัวอย่างชนิดระยะเมล็ดสุกแก่ในวันที่ 25 พ.ย. จากนั้นจัดเก็บตัวอย่างทั้งหมดในอุปกรณ์แช่เยือกแข็งแบบไครโอจีนิก (cryogenic)

ตัวอย่างเหล่านี้จะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการในนครเซี่ยงไฮ้ทางตะวันออกของจีน เพื่อทำการทดสอบและวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม

ทีมนักบินอวกาศจีนประจำภารกิจเสินโจว-15 ร่วมตอบคำถามเยาวชนจากประเทศ SCO

20 เม.ย. 66 – ทีมนักบินอวกาศจีนประจำภารกิจเสินโจว-15 (Shenzhou-15) ซึ่งขณะนี้อยู่บนสถานีอวกาศเทียนกงของจีน ได้ร่วมสนทนาผ่านวิดีโอแชทกับกลุ่มเยาวชนจากจีน อินเดีย และประเทศสมาชิกอื่น ๆ ขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO) 

เยาวชนจากหลายประเทศได้ตั้งคําถามทีมลูกเรือเสินโจว-15 ในหัวข้อต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงอาหาร กิจกรรมยามว่าง และวิธีเอาชนะภาวะไร้น้ำหนักบนสถานีอวกาศ

นายไช่ ซวี่เจ๋อ นักบินอวกาศจีนประจำภารกิจเสินโจว-14 (Shenzhou-14) เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวที่สถานที่จัดงานหลักในกรุงปักกิ่งและแบ่งปันเรื่องราวการสํารวจอวกาศของจีนด้วย โดยเหล่านักบินอวกาศสนับสนุนให้เยาวชนที่สนใจด้าน อวกาศมุ่งมั่นฝึกฝนความรู้และทักษะอย่างรอบด้าน นายไช่กล่าว “ผมหวังว่ากิจกรรมนี้จะช่วย “หว่านเมล็ดพันธุ์ความชื่นชอบอวกาศ” ต่อไป”

กิจกรรมเผยแพร่วิทยาศาสตร์ “วันการบินอวกาศจีน”

24 เม.ย. 66 – วันการบินอวกาศจีนครั้งที่ 8 โดยท้องถิ่นต่าง ๆ ของจีนได้จัดวันเปิดเผยการบินอวกาศ ห้องเรียนเผยแพร่วิทยาศาสตร์ การประกวดความรู้ และงานแลกเปลี่ยนการศึกษาที่เกี่ยวข้องรวม 400 กิจกรรม โดยหอนิทรรศการการบินอวกาศ สิ่งก่อสร้างด้านการบินอวกาศที่เกี่ยวข้องจะเปิดสู่มวลชน นักเรียน และนักศึกษา สมาชิกสภาวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญได้เดินทางไปตามโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เพื่อประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชน

นักเรียนชั้นประถมแสดงกิจกรรมสาธิตการบินอวกาศ                ที่ประดิษฐ์ได้เอง ที่เมืองหันตัน มณฑลเหอเป่ยนักเรียนใช้ขวดน้ำรีไซเคิลทำเป็นจรวดยิงสู่อวกาศ                                       ที่โรงเรียนหย่งโจว มณฑลหูหนาน
ครูกำลังสอนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การบินอวกาศให้นักเรียน   ที่เมืองอันชิ่ง มณฑลอันฮุยหอเผยแพร่วิทยาศาสตร์การบินอวกาศ                                     ที่เมืองจ่าวจวง มณฑลซานตง
นักเรียนประถมกำลังทดลองโมเดลสำรวจดาวอังคาร                             ที่เมืองจี่หนาน มณฑลซานตงครูกำลังสอนความรู้ด้านการบินและการบินอวกาศให้เด็ก ๆ       ในโรงเรียนอนุบาล ที่เมืองเหลียนหยุนก่าง มณฑลเจียงซู

หน่วยงานด้านอวกาศของจีน




China National Space Administration (CNSA)中国国家航天局http://www.cnsa.gov.cn/

CNSA เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการกิจการอวกาศภาคพลเรือน และความร่วมมือกับต่างประเทศทางด้านอวกาศ ภารกิจหลักของ CNSA ได้แก่ ศึกษาและร่างนโยบายและกฏระเบียบสำหรับอุตสาหกรรมอวกาศ, ศึกษาและร่างแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศ, จัดการและดำเนินการโครงการอวกาศ, อมุมัติและดำเนินการโครงการอวกาศเพื่อการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ภาคพลเรือน, จัดการด้านความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทางอวกาศกับต่างประเทศ รวมถึงเข้าร่วมในองค์กรระหว่างทางด้านอวกาศในฐานะตัวแทนของประเทศ หน่วยงานสำคัญที่อยู่ภายใต้ CNSA เช่น China Earth Observation System and Data Center, China Space Debris Observation and Data Application Center และ Lunar Exploration and Space Program Center เป็นต้น



Chinese Academy of Sciences (CAS)中国科学院https://www.cas.cn/

สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences, CAS) เป็นสถาบันค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ (Natural Sciences) ที่เปรียบเสมือนคลังสมอง (Think Tank) ของประเทศ และถือได้ว่าเป็นองค์กรวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีนักวิจัยรวมกว่า 60,000 คน มีสถาบันวิจัยกระจายอยู่ทั่วประเทศมากกว่า 100 แห่ง มีหลายสถาบันของ CAS ที่มีบทบาทไม่น้อยต่อการดำเนินงานทางกิจการอวกาศของจีน เช่น National Astronomical Observatory of China (NAOC), National Space Science Center (NSSC) และ Institute of Remote Sensing and Digital Earth (RADI) เป็นต้น


บริษัทวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินอวกาศแห่งประเทศจีนChina Aerospace Science and Technology Cooperation (CASC)中国航天科技集团公司http://www.spacechina.com/ 

CASC เป็นหนึ่งในบรรษัทขนาดใหญ่ที่รัฐเป็นเจ้าของ (State-Owned Enterprise, SOE) ที่ดำเนินงานทางด้านกิจการอวกาศ บริษัทมีพนักงาน วิศวกร และช่างเทคนิครวมกว่าแสนชีวิต มีบริษัทลูกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในงานที่เกี่ยวกับองค์ประกอบและระบบย่อยต่าง ๆ ของเทคโนโลยีอวกาศจำนวนมากที่เรียกว่า Academy หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญและเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี ได้แก่ R&D and production complexesChina Academy of Launch Vehicle Technology (CALT)Academy of Aerospace Solid Propulsion Technology (AASPT)China Academy of Space Technology (CAST)Academy of Aerospace Liquid Propulsion Technology (AALPT)Sichuan Academy of Aerospace Technology (SAAT)Shanghai Academy of Spaceflight Technology (SAST)China Academy of Aerospace Electronics Technology (CAAET)China Academy of Aerospace Aerodynamics (CAAA)Specialized companiesChina Satellite CommunicationsChina Great Wall Industry Corporation Limited (CGWIC)China Aerospace International HoldingsBeijing Shenzhou Aerospace Software Technology Co, Ltd.China Spacesat Co. Ltd.China Siwei Surveying and Mapping Technology Co, LtdChina Aerospace Investment Holdings

สถาบันเทคโนโลยีจรวดขนส่งแห่งชาติจีนChina Academy of Launch Vehicle Technology (CALT)http://calt.spacechina.com/หน่วยงานใหญ่ที่สุดที่ดำเนินการด้านการพัฒนาและจัดสร้างจรวดส่งดาวเทียม โดยเฉพาะจรวดในตระกูล Long Mach ของจีน นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบเรื่องการจัดส่งนักบินอวกาศอีกด้วย

สถาบันเทคโนโลยีอวกาศแห่งประเทศจีนChina Academy of Space Technology (CAST)https://www.cast.cn/หน่วยงานหลักของจีนที่ทำหน้าที่ออกแบบ พัฒนา และจัดสร้างตัวดาวเทียม ซึ่งมีบริษัทและสถาบันปลีกย่อยลงไปอีกมากมายที่เชี่ยวชาญในแต่ละระบบของดาวเทียม เช่น Beijing Institute of Control Engineering มีหน้าวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัด, ระบบนำร่องและระบบควบคุมการวางตัวและตำแหน่ง (Attitude and Orbit Control) ในวงโคจรของดาวเทียม เป็นต้น CAST มีได้มีความร่วมในการจัดสร้างดาวเทียมสื่อสารให้กับหลายประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ เยอรมันนี และ ปากีสถาน เป็นต้น

สถาบันเทคโนโลยีอวกาศแห่งเซี่ยงไฮ้Shanghai Academy of Space Technology (SAST)http://www.sast.cn/บริษัทลูกขนาดใหญ่ของ CASC ที่มีพนักงานกว่า 16,800 คน มีภารกิจหลากหลายครอบคลุมทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ ทั้งการวิจัยออกแบบและจัดสร้างดาวเทียมโดยเฉพาะดาวเทียมสำรวจโลก (EO) ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ดาวเทียมที่ใช้เทคโนโลยี SAR รวมถึงระบบย่อยและองค์ประกอบต่าง ๆ ของดาวเทียม ระบบจอดเทียบของยานและสถานีอวกาศ นอกจากนี้แล้ว SAST ยังประสบความสำเร็จในการพัฒนาจรวดบางรุ่นด้วย เช่น จรวดชนิดเชื้อเพลิงเหลว Long March 4

บริษัท ไชน่า เกรท วอลล์ อินดัสทรี คอร์ปอเรชั่นChina Great Wall Industry Cooperation (CGWIC)บริษัทลูกของ CASC ที่ทำหน้าที่ในการทำธุระกรรมเกี่ยวการขายและการทำสัญญากับต่างประเทศ

ศูนย์ทรัพยากรข้อมูลดาวเทียมและการประยุกต์ใช้Center for Resources Satellite Data and Applications (CRESDA)https://www.cresda.com/หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการนำภาพถ่ายดาวเทียมสำรวจมาประยุกต์ใช้งาน ครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนงาน การนำเสนอโครงการ การจัดเก็บ ประมวลผล วิเคราะห์ และส่งข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพให้กับรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

China Aerospace Science and Industry Corporation (CASIC) accelerates  building of industrial chains

China Aerospace Science and Industry Corporation (CASIC) 中国航天科工集团有限公司http://www.casic.cn/

บรรษัทขนาดใหญ่ที่รัฐเป็นเจ้าของ (SOE) ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของจีน CASIC มีพนักงานหลักแสนคนและมีบริษัทลูก, หน่วยงานวิจัยออกแบบ โรงงานผลิต และสำนักงานดำเนินธุรกิจที่อยู่ภายใต้มากมายเช่นเดียวกับ CASC บริษัทหลักที่ทำหน้าที่ในการจัดจำหน่ายและทำสัญญากับต่างประเทศของ CASIC คือ China Precision Machinery Import-Export Company ภารกิจส่วนใหญ่ของ CASIC จะเกี่ยวของกับเทคโนโลยีป้องกันประเทศ แต่บริษัทก็ดำเนินงานทางด้านเทคโนโลยีดาวเทียมด้วย หนึ่งในหน่วยงานลูกของ CASIC คือ Academy of Information Technology จะเชี่ยวชาญในเรื่องการพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็ก เช่นดาวเทียม Hangtian-Tsinghua-1 ที่มีน้ำหนักเพียง 50 กิโลกรัมที่ปฏิบัติภารกิจในวงโคจร SSO นอกจากนี้ CASIC ยังพัฒนาจรวดปล่อยดาวเทียมโดยใช้เชื้อเพลิงชนิดแข็ง (Solid-Fueled Propulsion System) เช่น จรวด Kuaizhou           ที่ออกแบบสำหรับบรรทุกดาวเทียมขนาดเล็กไปยังวงโคจร LEO และ GTO ด้วย 
  1. One Space Technology Company 

ก่อตั้งในปี พ.ศ.2558 ดำเนินธุรกิจมุ่งเน้นไปที่ 3 แขนงหลัก ได้แก่ การให้บริการส่งดาวเทียม (โดยจรวดตระกูล M-Series) ในเชิงพานิชย์, การให้บริการแพลทฟอร์มทดสอบระบบดาวเทียมก่อนใช้งานจริงในอวกาศ (Flight Test Platform), และจำหน่ายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าและระบบขับเคลื่อน (Propulsion System) ของดาวเทียม นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนงานที่จะดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับดาวเทียมขนาดเล็กด้วย

  1. LandSpace Technology Cooperation 

ก่อตั้งในปี พ.ศ.2558 ดำเนินธุรกิจทางด้านการวิจัยพัฒนาจรวดส่งดาวเทียมโดยมุ่งเน้นจรวดชนิดเชื้อเพลิงเหลวขนาดเล็ก และให้บริการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรแบบประหยัด (Low-Cost Commercial Launch)

  1. Chang Guang Satellite Technology Company 

ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2557 เป็นบริษัทเอกชนแห่งแรกของจีนที่ดำเนินการกิจการทางด้านดาวเทียมถ่ายภาพ (Remote Sensing Satellite) และจำหน่ายภาพถ่ายดาวเทียมในเชิงพานิชย์ บริษัทรับดำเนินการวิจัยพัฒนาและจำหน่ายระบบต่าง ๆ ของดาวเทียมสำรวจ และระบบ UAV (Unmanned Arial Vehicle) ด้วย ซึ่งรวมถึงระบบติดตามและควบคุมจากภาคพื้นดิน บริษัทมีดาวเทียมสำรวจตระกูล Jilin ที่สามารถภาพถ่ายความละเอียดสูง โดยดาวเทียมดวงแรกคือ Jilin-1A เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558

  1. Beijing PieSat Technology Company 

ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2551 มีความเชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและการประยุกต์ใช้งาน บริษัทให้บริการเชิงพานิชย์เกี่ยวกับระบบแผนที่และข้อมูล GIS (Geographic Information System) มีผลิตภัณฑ์ เช่น โปรแกรม PIE (Pixel Information Expert) ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลภาพอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษย์ (Artificial Intelligence) และ โปรแกรม PIE-Map ที่มีความแม่นยำสูงและสามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลนำร่องของดาวเทียม Beidou ได้

กิจการอวกาศเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง        ที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งสำหรับภารกิจการป้องกันประเทศและการประยุกต์ใช้งานในภาคพลเรือน (Dual-Use System) เช่นเดียวกับกิจการอื่นๆ เช่น กิจการการบิน การต่อเรือ และการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลจีนมีหน่วยงาน คือ State Administration for Science, Technology and Industry for National Defense (SASTIND) ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวง Ministry of Industry and Information Technology (MIIT) ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการลักษณะดังกล่าว โดยมีหน้าที่ตั้งแต่การร่างแนวนโยบาย ออกกฏหมายและข้อบังคับ และติดตามการดำเนินงาน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการการวิจัยและพัฒนา การจัดการโครงการ การจัดจำหน่าย รวมไปถึงการนำไปใช้ประโยชน์ หน่วยงานที่สนับสนุนภารกิจของ SASTIND มีอยู่ด้วยกันหลายสาขา รวมถึง China National Space Administration และ China Atomic Energy Authority

ข้อมูลหน่วยงานด้านอวกาศของจีน โดย ดร.มานพ อ้อพิมาย 

ผู้อำนวยการ ฝ่ายการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการจัดการโครงการ

องค์การความร่วมมือทางด้านอวกาศระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิค (APSCO)

ความร่วมมือไทย – จีน

ไทย – จีน จับมือตั้ง “สถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ” พัฒนาเทคโนโลยีสำรวจอวกาศเชิงลึก
pr20231005 1 01

25 กันยายน 2566 – ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และศาสตราจารย์ ดร. กวน เฟิง (Prof. Dr. Guan Feng) ประธานกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศเชิงลึก (Deep Space Exploration Laboratory: DSEL) องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (China National Space Adminnistration: CNSA) ลงนามความร่วมมือวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำรวจอวกาศเชิงลึก ภายใต้โครงการสถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ (International Lunar Research Station) เปิดทางนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรไทยร่วมพัฒนาอุปกรณ์วิจัยในโครงการสำรวจดวงจันทร์ ฉางเอ๋อ-7 พัฒนาขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงด้านอวกาศห้วงลึก ยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของไทย  ร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบอุปกรณ์ปฏิบัติภารกิจอวกาศ ดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์สนับสนุนอื่น ๆ รวมถึงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะเชิงวิจัย ด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์ และวิศวกรรมดาราศาสตร์เชิงลึก ครอบคลุมถึงการสำรวจอวกาศ สภาพอวกาศ วิทยาศาสตร์ข้อมูล และการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศห้วงลึก นับเป็นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงสุดที่จะสร้างองค์ความรู้ และพัฒนาบุคลากรในประเทศนั้นๆ ได้ กำลังคนที่มีศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำเป็นต้องบ่มเพาะด้วยโจทย์ที่ท้าทาย สดร. เล็งเห็นความสำคัญ และมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยใช้โจทย์วิจัยดาราศาสตร์ และเทคโนโลยีอวกาศเป็นแนวทางขับเคลื่อน จึงแสวงหาความร่วมมือกับนานาชาติ ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ จนนำมาสู่การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้

ภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรไทย นำโดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกำหนดประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่ท้าทายในการสำรวจทรัพยากรของดวงจันทร์ โดยนำเสนออุปกรณ์วิทยาศาสตร์และวิจัย (Payload) ที่รองรับภารกิจหลักของอวกาศยานฉางเอ๋อ 7 ได้แก่ อุปกรณ์สำรวจสภาพอวกาศระหว่างโลกและดวงจันทร์ ตรวจวัดรังสีคอสมิก และติดตามผลกระทบที่มีต่อโลก (Sino-Thai Sensor Package for Space Weather Global Monitoring) ซึ่งผ่านการคัดเลือกโดยคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ฝ่ายจีนในโครงการฉางเอ๋อ 7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 7 อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่จะติดตั้งไปกับยานดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเชิงวิศวกรรมร่วมกันระหว่างสองประเทศ และทางจีนมีแผนจะส่งไปสำรวจดวงจันทร์ภายในปี ค.ศ. 2026

ดร. ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การสำรวจสภาพอวกาศ หรืออนุภาคพลังงานสูงในห้วงอวกาศเป็นปัจจัยด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่มีผลกระทบต่อชีวิต และกิจกรรมของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน เช่น พายุสุริยะ ที่ผิวดวงอาทิตย์เกิดการระเบิดลุกจ้า ปลดปล่อยอนุภาคประจุไฟฟ้าออกมาจำนวนมหาศาล ประจุไฟฟ้าที่พุ่งออกมานี้ จะรบกวนระบบดาวเทียม การสื่อสาร สภาพการผลิตพลังงานของเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบไฟฟ้าแรงสูง ดังนั้นการศึกษาปัจจัย ตลอดจนแบบจำลอง จะทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยด้านสภาพอวกาศได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

โครงการความร่วมมือไทย-จีน ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศเชิงลึก ภายใต้โครงการสถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติในครั้งนี้ จะส่งเสริมให้นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรวิจัยไทยได้มีโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง ผ่านการทำงานร่วมกันในการผลิตเครื่องมือตรวจวัดอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ ซึ่งนำไปใช้ในอวกาศได้จริง เพื่อศึกษาปรากฏการณ์และผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ ข้อมูลที่ได้จะสามารถมาวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงพัฒนาแบบจำลองเพื่อนำมาใช้แจ้งเตือนต่อสาธารณชนได้อย่างแม่นยำ ขณะเดียวกัน ยังได้เรียนรู้และพัฒนาด้านวิศวกรรมระบบอวกาศยานสำหรับการสำรวจอวกาศห้วงลึก อาทิ การออกแบบ ทดสอบภายใต้สภาวะอวกาศยิ่งยวด ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การออกแบบอุปกรณ์สำหรับการพัฒนาอวกาศยานอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต

องค์การความร่วมมือทางด้านอวกาศระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิค(Asia Pacific Space Cooperation Organization: APSCO)

จีนและไทย มีความร่วมมือด้านอวกาศภายใต้องค์การความร่วมมือทางด้านอวกาศระหว่างประเทศในเอเชีย  แปซิฟิค เพื่อสร้างความร่วมมือในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ และการนำไปใช้ประโยชน์   เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ความร่วมมือด้านอวกาศภายใต้ APSCO ยังเป็นการใช้ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศร่วมกัน แลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากรทางปัญญา รวมถึงโอกาสในการเข้าร่วมโครงการด้านอวกาศที่สำคัญของจีน กิจกรรมของ APSCO ที่ประเทศไทยเข้าร่วม ประกอบด้วยการพัฒนาบุคลากรทางด้านอวกาศของประเทศสมาชิก และการเข้าร่วมและเป็นผู้นำโครงการที่ได้รับทุนสนันสนุนจาก APSCO

ประเทศไทยส่งบุคลากรมาศึกษาด้านอวกาศ ณ ประเทศจีน ปัจจุบันสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท 26 คน ปริญญาเอก 14 คน การบ่มเพาะบุคลากรด้านอวกาศรุ่นใหม่ เช่น โครงการพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กโดยนักศึกษา (Student Small Satellite (SSS)) ร่วมกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัย ประเทศไทยโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เข้าร่วมในโครงการนี้ในส่วนของการพัฒนาดาวเทียม SSS-2B

อ้างอิง

  • สำนักข่าวซินหัว. อวกาศ

https://www.xinhuathai.com/tag/อวกาศ

  • จีนเผยชุดภาพสี ‘ดาวอังคาร’ ทั้งดวงครั้งแรก

https://www.xinhuathai.com/china/353889_20230425

  • 国家航天局、中国科学院联合发布中国首次火星探测火星全球影像图

https://www.cnsa.gov.cn/n6758823/n6758844/n10010282/n10010308/c10015468/content.html

  • China unveils first global panoramic images of Mars

https://www.cnsa.gov.cn/english/n6465652/n6465653/c10003737/content.html

  • LIVE: Fourth Class from China’s Tiangong Space Station
  • List of spaceflight launches in January–June 2023

https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_spaceflight_launches_in_January%E2%80%93June_2023

  • List of spaceflight launches in July–December 2023

https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_spaceflight_launches_in_July%E2%80%93December_2023

  • ไทย – จีน จับมือตั้ง “สถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ” พัฒนาเทคโนโลยีสำรวจอวกาศเชิงลึก

https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/73129

  • สดร. จับมือ จีน พัฒนาขีดความสามารถคนไทย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำรวจอวกาศเชิงลึก

https://www.narit.or.th/index.php/news/3551-pr20231005-01

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]