ข้อมูลพื้นฐาน

Sichuan - Wikipedia

– ที่ตั้ง/ขนาดพื้นที่ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 485,000 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของจีน) คิดเป็นร้อยละ 5.1 ของพื้นที่ประเทศจีน ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงและภูเขาสูงทางตะวันตกของมณฑล มีความสูงเฉลี่ย 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มและเนินเขามีความสูงประมาณ 1,000 – 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีพื้นที่ติดกับมณฑลหูเป่ย มณฑลหูหนาน มณฑลกุ้ยโจว มณฑลยูนนาน  เขตปกครองตนเองทิเบต มณฑลชิงไห่ มณฑลส่านซีและมณฑลกานซู เสฉวนเป็นมณฑลที่ไม่มีทางออกทะเล (land locked) มีนครเฉิงตูเป็นเมืองเอกของมณฑล

– ข้อมูลประชากร มีประชากร 83.75 ล้านคน ประชากรประกอบด้วยชนชาติหลักจำนวน 15 ชนชาติ ได้แก่ ชาวฮั่น หยี ทิเบต เย้า เฉียง ฮุย มองโกล ลีซอ แมนจู น่าซี ไป๋ ไต ปูยี แม้ว และถูเจีย โดยมีชาวฮั่นเป็นประชากรส่วนใหญ่

– สภาพภูมิอากาศ ลักษณะอากาศในพื้นที่ทางด้านตะวันออกเป็นแบบเขตกึ่งร้อนชื้น ความชื้นและปริมาณ น้ำฝนสูง ในฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 29º เซลเซียส และในฤดูหนาว อุณหภูมิประมาณ 3º – 6º เซลเซียส ในด้านตะวันตกของมณฑล ซึ่งเป็นที่สูงมีลักษณะอากาศเป็นแบบที่ราบสูง ความชื้นและปริมาณน้ำฝนต่ำ อากาศเย็นในฤดูหนาว

– ทรัพยากรสำคัญ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของจีน เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของจีนมาตั้งแต่อดีต สินค้าหลักประกอบด้วยข้าว ข้าวเจ้า ข้าวฟ่าง ผลไม้รสเปรี้ยว น้ำตาล มันฝรั่ง โดยเป็นมณฑลหลักที่ผลิตสินค้าบริโภคของประเทศ มีแร่ธาตุประมาณ 132 ชนิด มีไททาเนียมมากที่สุดในโลก และแร่วาเนเดียมมากเป็นอันดับ 3 ของโลก

– แหล่งพลังงาน มีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สำรวจพบแล้วกว่า 150 ล้านลูกบาศก์เมตร และคาดว่ามีปริมาณสำรองการใช้ได้ถึง 100 ปี อาทิ แหล่งก๊าซธรรมชาติผู่กวง เมืองต๋าโจว พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในมณฑลมาจากการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ โดยมณฑลเสฉวนถือเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากถึง 100 ล้านกิโลวัตต์ และมีปริมาณสำรองพลังน้ำ 150 ล้านกิโลวัตต์ สูงเป็นอันดับ 2 ของจีนรองจากทิเบต

ข้อมูลด้านการปกครอง 

  • มณฑลเสฉวนแบ่งส่วนการปกครองออกเป็น 18 เมือง และ 3 เขตปกครองตนเอง ประกอบด้วย 

18 เมือง ได้แก่ นครเฉิงตู (Chengdu) เมืองเหมียนหยาง (Mianyang) เมืองเต๋อหยาง (Deyang) เมืองอี๋ปิน (Yibin) เมืองพานจือฮัว (Panzhihua) เมืองเล่อซาน (Leshan) เมืองหนานชง (Nanchong) เมืองจื้อกง (Zigong) เมืองหลูโจว (Luzhou) เมืองเน่ยเจียง (Neijiang) เมืองกว่างหยวน (Guangyuan) เมืองซุ่ยหนิง (Shuining) เมืองจือหยาง (Ziyang) เมืองกว่างอัน (Guang’an) เมืองหย่าอัน (Ya’an) เมืองเหมยซาน (Meishan) เมืองต๋าโจว (Dazhou) และเมืองปาจง (Bazhong) 

3 เขตปกครองตนเอง ได้แก่ เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตเชียงอาป้า (Aba Tibetan Qiang Autonomous Prefecture) เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตกานจือ (Ganzi Tibetan Autonomous Prefecture) และเขตปกครองตนเองชนชาติอี๋เหลียงซาน (Liangshan Yi Autonomous Prefecture)

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • มณฑลเสฉวนโดยเฉพาะนครเฉิงตู เป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญที่สุดของภาคตะวันตกของจีน มีประชากรประมาณ 83.04 ล้านคน (ในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในนครเฉิงตูซึ่งเป็นเมืองเอกของมณฑลประมาณ   14 ล้านคน) มณฑลนี้มีการพัฒนาและเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในจีน
  • เป็นศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ และมีศูนย์ส่งดาวเทียมที่เมืองซีชาง (Xichang Satellite Launch Center: XSLC) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 รัฐบาลจีนส่งดาวเทียมฉางเอ๋อ 1 (Chang’e 1) ขึ้นไปสำรวจดวงจันทร์ โดยเป็นการสำรวจดวงจันทร์ครั้งแรกของจีน และได้ส่งดาวเทียมสื่อสารความเร็วสูง APStar – 6D ดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์เข้าสู่วงโคจรที่กำหนดด้วยจรวดขนส่ง Long March -3B ในวันที่ 9 กรกฎาคม เวลา 20.11 น. ที่ศูนย์ปล่อยจรวดส่งดาวเทียมซีชาง มณฑลเสฉวน
  • มณฑลเสฉวนได้มีการอนุมัติเขตปลอดภาษีรวมทั้งสิ้น 6 แห่ง ได้แก่ (1) เขตปลอดภาษีสถานีขนส่งทางราง          (2) เขตปลอดภาษีหลูโจว (3) เขตปลอดภาษีอี๋ปิน โดยเขตปลอดภาษีดังกล่าวพร้อมเปิดให้บริการภายในสิ้นปี 2563 นอกจากนั้น เขตปลอดภาษีเหมียนหยางที่ได้รับการอนุมัติก่อนหน้านี้จะเปิดให้บริการได้ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2563 ทำให้เขตปลอดภาษีในมณฑลเสฉวนมีจำนวนรวม 6 แห่ง แบ่งเป็นเขตปลอดภาษีเดิม 2 แห่ง ได้แก่ (1) เขตปลอดภาษีเฉิงตูไฮเทคโซน (2) เขตปลอดภาษีซีหยวนไฮเทคโซน และเขตปลอดภาษีแห่งใหม่ 4 แห่ง ได้แก่ (1) เขตปลอดภาษีสถานีขนส่งทางราง (2) เขตปลอดภาษีหลูโจว (3) เขตปลอดภาษีอี๋ปิน และ (4) เขตปลอดภาษีเหมียนหยาง
  • รัฐบาลกลางจีนอนุมัติให้นครเฉิงตูเป็นเมืองนำร่องตามยุทธศาสตร์ “Made in China 2025” เพื่อเป็นศูนย์กลางของจีนตะวันตกในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะการผลิตในระดับไฮเอนด์
  • นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลกลางจีนให้เป็น “พื้นที่ทดลอง CBEC แบบครบวงจร”         เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2559 (Cross Border E-Commerce (CBEC) หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน) แบ่งออกได้เป็น 5 เขต ได้แก่ 1) เขต CBEC ปลอดภาษีซวงหลิว 2) เขต CBEC สนามบินซวงหลิว 3) เขต CBEC ไปรษณีย์ด่วนพิเศษเสฉวน (ทั้ง 3 เขตข้างต้นตั้งอยู่ในเขตทดลองการค้าเสรีซวงหลิว นครเฉิงตู) 4) เขต CBEC      ชิงไป๋เจียง และ 5) เขต CBEC คลังสินค้ารองเท้าสตรี

เขตเศรษฐกิจของมณฑลเสฉวน

  • เขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิ่ง เดือนเมษายน 2561 รัฐบาลได้อนุมัติใช้แผนการพัฒนาเขตพัฒนากลุ่มเมือง   เฉิงตู – ฉงชิ่ง จากนั้น ในเดือนกรกฎาคม 2562 คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติได้รายงานและแสดงความเห็นเกี่ยวกับความสำคัญในการสร้างเขตพัฒนากลุ่มเมืองเฉิงตู – ฉงชิ่ง แก่รัฐบาลจีน ในเดือนกันยายน 2562 รัฐบาลจีนได้ส่งผู้แทนมาสำรวจและวิจัยพื้นที่ในมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่ง และในวันที่ 3 มกราคม 2563        ในการประชุมของคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจและการเงินจีน ครั้งที่ 6 ได้มีการลงนามจัดตั้งเขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู –  ฉงชิ่ง
  • การวางตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ของเขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิ่ง มีการบริหารแบบสองศูนย์ เพื่อพัฒนาเป็น      (1) ศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ สร้างศูนย์กลางการลงทุนแห่งใหม่ สร้างแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งในระดับมณฑล ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ สร้างศูนย์อุปโภคบริโภคระดับนานาชาติ และสร้างฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจดิจิทัล และ (2) ศูนย์กลางด้านนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลระดับประเทศ สร้างเมืองวิทยาศาสตร์แห่งภูมิภาคตะวันตกที่นครเฉิงตู และสร้างเมืองวิทยาศาสตร์ระดับประเทศที่เมืองเหมียนหยาง นอกจากนั้น เขตวงกลมเศรษฐกิจดังกล่าว จะผลักดันการพัฒนาการเปิดสู่ภายนอก สร้างเขตสาธิตด้านนวัตกรรม เขตลงทุนการค้าระดับนานาชาติสำหรับภูมิภาคตะวันตก และสร้างศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนระดับนานาชาติ รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมด้านการลงทุน และทัศนียภาพของเมืองที่งดงามด้วย

ความสัมพันธ์ไทย – เสฉวน

การแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง

  • มณฑลเสฉวนเป็นหนึ่งในมณฑลของจีนที่พระราชวงศ์ไทยเสด็จฯ/ เสด็จเยือน และผู้นำระดับสูงเยือน              หลายพระองค์/ คน ได้แก่ (1) เมื่อปี 2552 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เยือนนครเฉิงตู และสถานที่สำคัญต่าง ๆ อาทิ อำเภอเป่ยชวน เมืองเหมียนหยาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย และทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างอาคารเรียน ณ โรงเรียนประถมศึกษาเซียนเฟิงลู่ สิรินธร (2) วันที่ 7-9 เมษายน 2553 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เยือนมณฑลเสฉวน ทรงเข้าร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียนประถมศึกษาเซียนเฟิงลู่สิรินธร และทรงพระราชทานพระพุทธชินราชทองจำนวน 8 องค์แก่วัดต่าง ๆ ในมณฑลเสฉวน (3) 8-10 เมษายน 2554 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เยือนมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่ง พระองค์ทรงรับตำแหน่ง ศ. กิตติมศักดิ์ จาก ม. เสฉวน ม. เฉิงตู และ ม.ซีหนาน  (4) พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ  เสด็จเยือนมณฑลเสฉวน ตามคำกราบทูลเชิญของสมาคมมิตรภาพระหว่างประเทศ มณฑลเสฉวน ระหว่างวันที่ 25-30 กันยายน 2555  โดยสถาบันการอาหารชั้นสูงแห่งมณฑลเสฉวน (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยการท่องเที่ยวเสฉวน) ได้ทูลเกล้าถวายตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ และเมื่อเดือนสิงหาคม 2558  รอง นรม. พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง ได้เยือนนครเฉิงตูเพื่อเข้าประชุมหารือ คกก.รถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 6   
  • สำหรับการเยือนระดับสูงที่สำคัญระหว่างปี 2559 – 2561 เช่น (1) การเยือนนครเฉิงตูของ ศ.พิเศษ พรเพชร วิชิตรชลชัย ประธาน สนช. เมื่อวันที่ 25 – 26 พฤษภาคม 2559 (2) การเยือนเมืองเล่อซานของนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วธ เมื่อวันที่ 22 – 23 กันยายน 2559 (3) การเยือนนครเฉิงตูของพลเอกธนะศักดิ์ ปฎิมาประกร   รอง นรม. เมื่อวันที่ 29 – 30 พฤศจิกายน 2559 (4) การเสด็จฯ ผ่านนครเฉิงตูของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 ซึ่งเป็นการเยือนมณฑลเสฉวนครั้งที่ 8 (5) การเข้าร่วม กปช.สมัชชาใหญ่ UNWTO ของ รมว. ก.ท่องเที่ยวฯ และปลัด ก.ท่องเที่ยวฯ ที่นครเฉิงตู เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2560 (6) การเยือนเสฉวนของ รอง นรม. พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง พร้อม รมว.ก.ดิจิทัลฯ ระหว่าง 9 – 10 พฤศจิกายน 2560 และ (7) การเสด็จฯ เยือนมณฑลเสฉวนอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ระหว่าง วันที่ 6 – 10 เมษายน 2561 โดยเสด็จฯ เยือนนครเฉิงตู เมืองเหมียนหยาง/เป่ยชวน เมืองเหมยซาน และเมืองเล่อซาน/เอ๋อเหมยซาน (ง๊อไบ้)   
  • นอกจากนี้ เมื่อเดือนกันยายนปี 2560 รัฐบาลไทยได้บริจาคเงินจำนวน 1 ล้านบาทแก่รัฐบาลมณฑลเสฉวน       เพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อกรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อำเภอจิ่วไจ้โกวเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560         โดยมอบหมายให้กงสุลใหญ่ฯ เป็นผู้มอบ

บริษัทไทยที่มาลงทุนในมณฑลเสฉวน

  • บริษัทไทยที่มาลงทุนในมณฑลเสฉวนตามข้อมูลของทางการเสฉวนมีจำนวน 97 รายที่ได้มาขึ้นทะเบียน แต่ลงทุนจริงเพียง 45 โครงการ มูลค่าการลงทุนกว่า 7,769 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลงทุนด้านการบริการ อุตสาหกรรมการผลิต กิจการค้าปลีก – ส่ง ฟาร์ม ที่พักและร้านอาหาร การเงิน อาหารสัตว์ เป็นต้น โดยการลงทุนหลัก ได้แก่    
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์ (C.P. GROUP) ของไทย ได้ก่อตั้งโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์ขึ้นในอำเภอ ผีเสี้ยน โรงงานชาจีนที่เมืองหย่าอัน และโรงงานผลิตไวน์ที่เมืองซีชาง มณฑลเสฉวน โดยเป็นบริษัทไทยที่มีมูลค่าการลงทุนมากที่สุดและลงทุนในมณฑลเสฉวนมานานกว่า 30 ปี (เป็นบริษัทลงทุนต่างชาติบริษัทแรกในเสฉวน)
  • บริษัท อีซีไอ-เมโทร (ECI-Metro) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างอีซีไอ กับบริษัท เมโทรแมชีนเนอรี่ จำกัด ผู้แทนจำหน่ายเครื่องจักรกลหนักของ Caterpillar (แคตเตอร์พิลลาร์) ในประเทศไทย ได้รับการแต่งตั้งจาก Caterpillar ให้เป็นผู้แทนจำหน่ายและให้บริการ Caterpillar ในเขตภาคตะวันตกของประเทศจีนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน ซึ่งดำเนินกิจการครอบคลุมพื้นที่ 9 มณฑลของภาคตะวันตกจีน ประกอบด้วย มณฑลเสฉวน นครฉงชิ่ง มณฑลยูนนาน มณฑลกุ้ยโจว มณฑลส่านซี มณฑลกานซู เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย มณฑลชิงไห่ และเขตปกครองตนเองทิเบต
  • ธนาคารกสิกรไทย เปิดสาขาที่นครเฉิงตู ซึ่งเป็นสาขาที่สองในประเทศจีน และถือเป็นสะพานเชื่อมความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างมณฑลเสฉวนและภาคตะวันตกของจีนกับประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียน
  • บริษัท สุโขไทย อินเตอร์คอร์ปอเรท จำกัด
  • บริษัท Earthbound จำกัด
  • บริษัท ฟาร์-อี จำกัด
  • เครือ บ. เวทโปรดักส์ กรุ๊ป ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตสารเสริมอาหารในอาหารปศุสัตว์ สัตว์ปีก และสัตว์น้ำ ถือเป็นบริษัทด้านการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์รายใหญ่อันดับ 3 ของไทยรองจากเครือซีพีและเครือเบทาโกร ได้แสดงความสนใจในการจดทะเบียนบริษัทในมณฑลเสฉวน ภายใต้ชื่อ บจก. เวทโปรดักส์ (เสฉวน)

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู

– นครฉงชิ่ง เป็นนครที่ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน โดยได้แยกออกจากมณฑลเสฉวนมาเป็นนครปกครองโดยตรง ภายใต้รัฐบาลกลางเมื่อปี 2540 เป็นหนึ่งในสี่นครนอกเหนือจาก  กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ นครเทียนจิน ที่อยู่ภายใต้การบริหารโดยตรง ภายใต้รัฐบาลกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน

– เป็นส่วนหนึ่งของเขตวงกลมเศรษฐกิจนครเฉิงตู นครฉงชิ่ง เน้นการสร้างเมืองที่มีความเป็นสากล เมืองสีเขียว และเมืองอัจฉริยะ

– นครฉงชิ่ง เป็นเมืองศูนย์กลางของประเทศ ศูนย์กลางทางการเงินของจีน ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของแม่น้ำแยงซีตอนบน และฐานอุตสาหกรรมยานยนต์และฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่ทันสมัยที่สำคัญในประเทศจีน อาทิ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก เป็นต้น

– ในแง่ของยุทธศาสตร์ชาติ นครฉงชิ่งถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการพัฒนาจีนตะวันตก      โดยเป็นจุดเชื่อมต่อนโยบายข้อริเริ่ม “สายแถบและเส้นทาง ”(一带一路)กับแถบเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซี (长江经济带)และเป็นพื้นที่ราบสูงเปิดกว้างทางตอนในของจีน (内陆开放高地)

– รัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของนครฉงชิ่งเป็นอย่างมากในปี 2553 ได้ก่อตั้งเขตเศรษฐกิจใหม่     เหลี่ยงเจียงขึ้น นับเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่อันดับ 4 ของจีน และมีเขตสินค้าปลอดภาษีเหลียงลู่ซุ่นทานซึ่งเป็นเขตสินค้าปลอดภาษีแห่งแรกของจีนตอนใน

ภาพรวมเศรษฐกิจ

– ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP ปี 2565 อยู่ที่ 22,912912,903 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 เมื่อเทียบเป็นรายปี)

– นครฉงชิ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งที่สำคัญในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน สภาแห่งรัฐของจีนได้อนุมัติให้นครฉงชิ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งระดับชาติที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางราง ทางน้ำ ทางหลวง และทางอากาศ

– นครฉงชิ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์หลักของข้อริเริ่มระเบียงการค้าเชื่อมทางบกกับทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่ (New International Land-Sea Trade Corridor – ILSTC) และเป็น Hub ของเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้าอวี๋ซินโอว (ฉงชิ่ง ซินเจียง ยุโรป)

– สถานีขนส่งสินค้าและสถานีศูนย์กลางตู้คอนเทนเนอร์รถไฟฉงชิ่ง เป็นสถานีศูนย์คอนเทนเนอร์แห่งที่สามของประเทศจีนที่ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นและได้นำไปใช้งาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่านครฉงชิ่งมีฐานการขนส่งทางรถไฟระดับชาติ นอกจากนี้ นครฉงชิ่งยังเป็นจุดเริ่มต้นของ Yuxinou Railway ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สินค้าบางรายการจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่จะส่งไปยังยุโรปจะถูกขนส่งไปยังยุโรปผ่านนครฉงชิ่ง และถูกส่งจากยุโรปมายังเมืองอื่น ๆ ในประเทศจีนผ่านนครฉงชิ่งเช่นกัน

– ปัจจุบันท่าเรือนครฉงชิ่งเป็นท่าเรือที่มีปริมาณงานมากที่สุดในภาคกลางและตะวันตกของจีน ในเขตเศรษฐกิจใหม่     เหลี่ยงเจียงมีท่าเรือ อาทิ ท่าเรือชุ่นทาน ท่าเรือกว่อหยวน (ท่าเรือเชื่อมศูนย์กลางการขนส่งทางราง ทางหลวง ทางน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ)

ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่82,402 ตร.กม.เลขาธิการพรรคฯนายหยวน เจียจุน (Mr. Yuan Jiajun)
นายกเทศมนตรีนายหู เหิงหวา (Mr. Hu Henghua)
ประชากรประมาณ 32 .13 ล้านคนปธ.สภาผู้แทน ปชช.นายหวัง โจ่ง (Mr. Wang Jiong)
ภาษาจีนกลาง ภาษาถิ่นฉงชิ่ง ปธ.สภาที่ปรึกษานายถัง ฟางหยู่ (Mr. Tang Fangyu)
ศาสนาพุทธมหายาน ลัทธิเต๋า อิสลาม ชนชาติหลักฮั่น แม้ว หุย มองโกล ถู่เจีย
การศึกษามหาวิทยาลัยฉงชิ่งมหาวิทยาลัยซีหนานมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเสฉวนการคมนาคมท่าอากาศยานนานาชาติฉงชิ่งเจียงเป่ยสถานีรถไฟฉงชิ่งเหนือ
ข้อมูลเศรษฐกิจปี 2565
GDP2,912,903 ล้านหยวน(เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6)สกุลเงินหยวน (元) CNY
มูลค่าอุตสาหกรรม– อุตสาหกรรมระดับปฐมภูมิ(อาทิ อุตสาหกรรมการเกษตร)มีมูลค่า 201,205 ล้านหยวน(เพิ่มขึ้นร้อยละ 4)- อุตสาหกรรมระดับทุติยภูมิ(อาทิ อุตสาหกรรมการผลิต) มีมูลค่า 11,169,386 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3)- อุตสาหกรรมระดับตติยภูมิ(อาทิ อุตสาหกรรมการบริการ มีมูลค่า 11,542,312 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9)ยอดค้าปลีกรวมของสินค้าอุปโภคบริโภค1,390,000 ล้านหยวน(ลดลง ร้อยละ 0.30)
ทรัพยากรธรรมชาติมีทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์ อาทิ แร่สตรอนเดียมแร่แมงกานีส ถ่านหิน หินอ่อน หินปูนและมี พืชสมุนไพรกว่า 2,000 ชนิดอุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมยานยนต์และอะไหล่อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และการสื่อสารอุตสาหกรรมการถลุงและแปรรูปโลหะ
รายได้สุทธิส่วนบุคคลของชาวเมือง45,509 หยวน(เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6)รายได้สุทธิส่วนบุคคลของชาวชนบท19,313 หยวน(เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7)
การค้ากับต่างประเทศ815,835.29 ล้านหยวนมูลค่าการส่งออก524,531.86 ล้านหยวน(เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5)
การขยายตัวของการค้ากับต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 2มูลค่าการนำเข้า291,303.43 ล้านหยวน(เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9)
สินค้าส่งออกที่สำคัญอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติอุปกรณ์ ไฟฟ้า รถยนต์ รถจักรยานยนต์ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีทันสมัย แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก แล็ปท็อปตลาดส่งออกที่สำคัญสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียนญี่ปุ่น อินเดีย ฮ่องกง ไต้หวัน RCEP เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย
สินค้านำเข้าที่สำคัญแผงวงจรรวม อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับอุปกรณ์ อุปกรณ์สำหรับผลิตเซมิคอนดักเตอร์ แร่โลหะ แร่เหล็ก แร่กำมะถันตลาดนำเข้าที่สำคัญสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ สหภาพยุโรปออสเตรเลีย แอฟริกา
สถิติสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยปี 2565
การค้ากับไทยการค้าระหว่างไทยฉงชิ่งมีมูลค่ารวม 18,503.45 ล้านหยวน ลดลง ร้อยละ 12.4 โดยการส่งออกมีมูลค่า 7,109.73 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 และการนำเข้า 11,393.72 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 20.4
สินค้านำเข้าจากไทยฮาร์ดไดรฟ์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ บอยเลอร์เครื่องจักรและส่วนประกอบ ผลไม้ ยางพารา
สินค้าส่งออกไปไทยอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติแบบพกพา อุปกรณ์รับส่งข้อมูล แผ่นอลูมิเนียมอัลลอยด์ ท่อทองแดงบริสุทธิ์ ท่อเหลี่ยมอลูมิเนียม ชิ้นส่วนอะไหล่เสริมรถจักรยานยนต์ หม้อแปลง ชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์
ภาคธุรกิจไทยในนครฉงชิ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ CP ธนาคารกรุงเทพ บ. ECI-METRO สาขานครฉงชิ่ง ร้านสปาไทย และร้านอาหารไทย
วิสาหกิจจากนครฉงชิ่งที่มาลงทุนในไทย– บริษัท ลี่ฟาน แมนูแฟคเจอร์(ไทยแลนด์) จำกัด เป็นบริษัท ลี่ฟาน กรุ๊ป Lifan Industry Group) ได้มาลงทุนจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทย่อย ในไทยเมื่อปี 2552 ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมไทย จีนจังหวัดระยอง- บริษัท ซองเชน แมชชินเนอรี แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด ก่อตั้งและลงทุนโดย จงเซิน กรุ๊ปในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ตั้งโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ริวก้า ” ในประเทศไทยเมื่อปี 2555
สำนักงานไทยที่กำกับดูแลนครฉงชิ่ง– สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเฉิงตู- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครเฉิงตู- สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน (นครเซี่ยงไฮ้)- สำนักงานการเกษตร (กรุงปักกิ่ง)- สำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร (นครกว่างโจว)
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
1. การเยือนระดับพระราชวงศ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จพระราชดำเนิน นครฉงชิ่งรวม 3 ครั้ง- เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2539 เสด็จฯ เยือนเมืองฉงชิ่ง ในปีนั้นเมืองฉงชิ่งยังอยู่ในเขตพื้นที่มณฑลเสฉวน โดยได้แยกออกไปเป็นนคร เมื่อปี 2540 ) ไปเป๋าติ่งซาน อำเภอต้าจู๋ มีการบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง เย็นสบายชายน้ำ
– เมื่อ วันที่ 13 – 27 สิงหาคม 2544 เสด็จฯ เยือนมณฑลยูนนาน นครฉงชิ่ง แต่ไม่ได้บันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง“ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย” (มีการอ้างถึงในสำนักข่าวจีน แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดชัดเจน)- เมื่อวันที่ 8 – 10 เมษายน 2554 เสด็จฯ เยือนมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่ง โอกาสนี้ มหาวิทยาลัยเสฉวน มหาวิทยาลัยเฉิงตูและมหาวิทยาลัยซีหนาน ได้ขอพระราชทานถวายตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี2. การเยือนระดับรัฐบาลนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ– เมื่อวันที่ 6 – 8 มิถุนายน 2564 นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนนครฉงชิ่ง เพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ และการประชุมกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ระดับรัฐมนตรี Mekong – Lancang Cooperation: MLC) ครั้งที่ 6 และเข้าพบนายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือด้านวัคซีน การฟื้นฟูจากโควิด-19
การสถาปนาความสัมพันธ์ความร่วมมือไทย – นครฉงชิ่ง
1. ความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง/เมืองมิตรภาพระหว่างเมืองในนครฉงชิ่งกับจังหวัดต่าง ๆ ของไทย– เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2554 นครฉงชิ่ง ได้สถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องกับกรุงเทพมหานครฯ- เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2551 นครฉงชิ่ง ได้สถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องกับจังหวัดเชียงใหม่2. ความสัมพันธ์ด้านการศึกษา– สถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ก่อตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ มหาวิทยาลัยซีหนาน และสำนักงานคณะกรรมการภาษาจีนสากลหรือฮั่นปั้น อีกทั้ง มหาวิทยาลัยซีหนาน ยังได้มีการจัดตั้งห้องเรียนขงจื้อร่วมกับโรงเรียนมัธยมกั๋วกวงหาดใหญ่ ซึ่งมีชื่อเสียงและได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย- มหาวิทยาลัย Sichuan International Studies University (SISU) ได้ก่อตั้งภาควิชาภาษาไทยเมื่อปี 2559 ซึ่งนับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในนครฉงชิ่งที่มีภาควิชาภาษาไทย

ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู 

สถานะวันที่ 6 มิ.ย. 2566

ความร่วมมือทางการศึกษาไทย – นครฉงชิ่ง

– สถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ก่อตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ มหาวิทยาลัยซีหนาน และสำนักงานคณะกรรมการภาษาจีนสากลหรือฮั่นปั้น อีกทั้ง มหาวิทยาลัยซีหนาน ยังได้มีการจัดตั้งห้องเรียนขงจื้อร่วมกับโรงเรียนมัธยมกั๋วกวงหาดใหญ่ ซึ่งมีชื่อเสียงและได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย

– มหาวิทยาลัย Sichuan International Studies University (SISU) ได้ก่อตั้งภาควิชาภาษาไทยเมื่อปี 2559 ซึ่งนับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในนครฉงชิ่งที่มีภาควิชาภาษาไทย

– เมื่อ ก.ค. 2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่นกับ Chongqing Jiaotong University ได้ลงนามความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรในหลายด้านโดยเฉพาะด้านระบบราง การคมนาคม การขนส่ง การอากาศยาน โดยมีแผนเปิดหลักสูตรร่วมระดับปริญญาตรี 3 + 1 และ 2 + 2 ในสาขาการบินและอวกาศ สาขาวิศวกรรมการขนส่ง สาขาวิศวกรรมโยธาและสาขาการจัดการการท่องเที่ยว ฯลฯ อีกทั้งส่งเสริมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาฝีมือ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสองมหาวิทยาลัย

– เมื่อวันที่ 23 – 24 ตุลาคม 2563 นางทิพย์วรรณ ศุภมิตรกิจจา กงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู พร้อมด้วยนายวรันณ์ธร คชทโรภาส กงสุล และเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้เดินทางเยือนนครฉงชิ่ง เพื่อ (1) เยี่ยมนักศึกษาไทยที่ Southwest University (SWU) และพบปะหารือผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการศึกษาไทย – จีน ตลอดจนการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับนักศึกษาไทย SWU เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงลำดับต้น ๆ ของนครฉงชิ่ง มุ่งเน้นการผลิตบุคลากรด้านการสอนภาษาจีนให้กับชาวต่างชาติ และมีนักศึกษา ไทยมากที่สุดในนครฉงชิ่ง อย่างไรก็ดี นักศึกษาไทยจำนวนมากได้เดินทางกลับไทยในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจีน (2) เข้าร่วมกิจกรรมครบรอบ 70 ปีการสถาปนามหาวิทยาลัย Sichuan International Studies University (SISU) และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อส่งเสริม ความร่วมมือด้านการศึกษากับผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ในโอกาสนี้ คณะฯ ได้เยี่ยมชมภาควิชาภาษาไทย คณะภาษาตะวันออกของ SISU ด้วย

– เมื่อ มิ.ย. 2564 ม. เกริกและ Chongqing Normal University ฉงชิ่งได้ลงนามทำความร่วมมือทางการศึกษา โดยมีข้อตกลงทำความร่วมมือ 3 แผนงาน อาทิ การร่วมอบรมของระดับ ป. โท การร่วมพัฒนางานวิจัย การร่วมสร้างฐานการฝึกงานในต่างประเทศ ซึ่งนอกจากการร่วมมือทางการศึกษาดังกล่าวจะยังดำเนินการทำความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ต่อไป

– นักศึกษาไทยในนครฉงชิ่ง ปัจจุบันมี นศ. ไทยศึกษาอยู่ที่นครฉงชิ่งประมาณ 263 คน โดยส่วนมากศึกษาอยู่ที่ Southwest Unversity และ Chongqing University

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู

1 พฤศจิกายน 2566

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]