สถาบันวิจัย

ภาพ : .IOE, CAS

สถาบันทัศนศาสตร์และอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Institute of Optics And Electronics, Chinese Academy of Sciences) ก่อตั้งขึ้นในปี 1970 และเป็นสถาบันวิจัยที่ใหญ่ที่สุดของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

สาขาการวิจัยหลักของสถาบัน ประกอบด้วย การวัดการติดตามโฟโตอิเล็กทริก การควบคุมลำแสง ออปติกแบบปรับได้ การสังเกตและระบุโฟโตอิเล็กทริกเป้าหมายทางดาราศาสตร์ การผลิตเชิงแสงขั้นสูง อุปกรณ์ออปโตอิเล็กทรอนิกส์ด้านการบินและอวกาศ ออปติกไมโครนาโนและออปติกไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ออปติกชีวการแพทย์

สถาบันแห่งนี้ มีห้องปฏิบัติการหลักแห่งชาติ 4 แห่ง คือ ห้องปฏิบัติการหลักของเทคโนโลยีไมโครแมชชีนนิ่งออฟติคอล ห้องปฏิบัติการหลักของการควบคุมลำแสง ห้องปฏิบัติการหลักด้านทัศนศาสตร์แบบปรับตัว และห้องปฏิบัติการสำคัญของเทคโนโลยีการวัดความแม่นยำออปโตอิเล็กทรอนิกส์อวกาศ

นอกจากนี้ สถาบันให้ความสนใจกับการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและความร่วมมืออย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ และเป็นเจ้าภาพการประชุม Advanced Optical Manufacturing and Testing Technologies Session (AOMTT) หลายครั้งและกิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างประเทศอื่น ๆ

http://www.ioe.cas.cn

大数据分析】中国科学院大学成都生物研究所招生简章复试分数线报录比真题答案考研经验分享- 知乎

ภาพ : CIB, CAS

สถาบันชีววิทยาเฉิงตู สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chengdu Institute of Biology, Chinese Academy of Sciences) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1958 สนับสนุนการสร้างงเศรษฐกิจของประเทศและอารยธรรมทางนิเวศ สนับสนุนยุทธศาสตร์การฟื้นฟูชนบท โครงการสายแถบและเส้นทาง และนิเวศวิทยาบริเวณต้นน้ำลำธารของแม่น้ำแยงซีเกียง

สถาบันมุ่งที่จะแก้ไขปัญหาขอบเขตทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างสภาพแวดล้อมทางนิเวศ การใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ความมั่นคงด้านทรัพยากรอาหาร สุขภาพมนุษย์ และน้ำ

สถาบันมีห้องปฏิบัติการร่วมความหลากหลายทางชีวภาพและบริการระบบนิเวศจีน-โครเอเชียหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมการแพทย์ธรรมชาติแห่งชาติ ห้องปฏิบัติการหลักด้านการฟื้นฟูระบบนิเวศภูเขาและการใช้ทรัพยากรทางชีวภาพ ห้องปฏิบัติการหลักเสฉวนด้านการอนุรักษ์ระบบนิเวศและการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ ห้องปฏิบัติการหลักด้านจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อมและประยุกต์ และห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของมณฑลเสฉวน

สถาบันได้สร้างความสัมพันธ์ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง ตลอดจนมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในกว่า 20 ประเทศและภูมิภาค

http://www.cib.cas.cn

ภาพ : IMDE, CAS

สถาบันวิจัยภัยอันตรายและสิ่งแวดล้อมบนภูเขาแห่งเฉิงตู สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Institute of Mountain Hazards and Environment, Chinese Academy of Sciences) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1965 มุ่งเน้นสาขาการวิจัยหลักไปที่การจัดการกับภัยพิบัติบนภูเขา สภาพแวดล้อมของภูเขา และการพัฒนาที่ยั่งยืนของพื้นที่ภูเขา

สถาบันมีหน่วยการวิจัย 4 แห่ง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการหลักเกี่ยวกับภัยพิบัติบนภูเขาและกระบวนการพื้นผิวห้องปฏิบัติการหลักเกี่ยวกับกระบวนการอีพิเจเนติกส์บนภูเขาและการควบคุมระบบนิเวศ ศูนย์วิจัยการพัฒนาภูเขา และศูนย์แอปพลิเคชันดิจิทัลเมาเทนและการสำรวจระยะไกล  และแพลตฟอร์มสนับสนุน 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมลดภัยพิบัติภูเขาเสฉวน และศูนย์ทดสอบและจำลองสถานการณ์ที่ครอบคลุม

สถาบันมีหลักสูตรระดับปริญญาเอก 6 หลักสูตรในสาขาภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์มนุษย์ นิเวศวิทยา วิทยาศาสตร์ดิน วิศวกรรมธรณีเทคนิค การทำแผนที่ และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์  หลักสูตรระดับปริญญาโท   6 หลักสูตรในสาขาภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์มนุษย์ การทำแผนที่และระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ นิเวศวิทยา วิศวกรรมธรณีเทคนิค และวิทยาศาสตร์ดิน  นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรวิจัยหลังปริญญาเอกในสาขาภูมิศาสตร์

http://www.imde.cas.cn

核工业西南物理研究院- 抖音百科

ภาพ : IMDE, CAS

สถาบันฟิสิกส์ตะวันตกเฉียงใต้ บริษัทนิวเคลียร์แห่งชาติจีน (Southwestern Institute of Physics, China National Nuclear Corporation) ก่อตั้งขึ้นปี 1965 ในนครเฉิงตู เป็นสถาบันวิจัยนิวเคลียร์ฟิวชันครั้งแรกของจีนเป็นแกนหลักของยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ของชาติ 3 ขั้นตอน (เครื่องปฏิกรณ์ความร้อน เครื่องปฏิกรณ์เร็ว และเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชัน) เป็นผู้พัฒนาเครื่องโทคาแมค HL-2M และเป็นส่วนสำคัญในการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทดลองเทอร์โมนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (ITER) ของจีน

แนวทางการวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลักของสถาบัน คือ การรวมนิวเคลียร์ที่ควบคุมการกักขังด้วยแม่เหล็ก รวมถึงการกักขังในพลาสมา การทดลองการให้ความร้อน และการวิจัยเชิงทฤษฎี ไฟฟ้าแรงสูงและกระแสขนาดใหญ่ สุญญากาศสูงพิเศษ สนามแม่เหล็กแรง แหล่งกำเนิดไอออนกระแสแรง การทำความร้อนด้วยไมโครเวฟ การควบคุมอัตโนมัติ ไครโอเจนิกที่อุณหภูมิต่ำ ความเป็นตัวนำยิ่งยวด การออกแบบ การสร้าง และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าฟิสิกส์ขนาดใหญ่ เทคโนโลยีและวัสดุของเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชัน เป้นต้น

โครงสร้างสถาบันประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฟิวชั่น (Center for Fusion Science) ศูนย์ประยุกต์พลาสม่า (Plasma Application Center) และวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคนิคแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเฉิงตู (Engineering &Technical College of Chengdu University of Technology)

https://www.swip.ac.cn

ภาพ : CIGIT, CAS

สถาบันเทคโนโลยีอัจฉริยะสีเขียวฉงชิ่ง สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chongging lnstitute of Green and lntelligent Technology, Chinese Academy of Sciences) 

สถาบันเทคโนโลยีอัจฉริยะสีเขียวฉงชิ่ง มีสถาบันวิจัยย่อย 4 แห่ง คือ 

  • สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electronic Information Technology) 
  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะ (Institute of Intelligent Manufacturing Technology) 
  • สถาบันนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมซานเสีย (Three Gorges Institute of Ecology and Environment) และ
  • สถาบันชีวการแพทย์และสุขภาพ (Institute of Biomedicine and Health)

http://www.cigit.cas.cn

中科院重庆科学中心首批团队入驻_重庆市人民政府网

ภาพ : CIGIT, CAS

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฉงชิ่ง สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chongqing Science Center of the Chinese Academy of Sciences) สร้างขึ้นร่วมกันโดยรัฐบาลเทศบาลนครฉงชิ่งและสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ตั้งอยู่ในเมืองเจิงเจีย โซนไฮเทคฉงชิ่ง มีพื้นที่ก่อสร้างรวมประมาณ 2 ล้านตารางเมตร

ทิศทางการวิจัยมุ่งเน้นไปที่ความอัจฉริยะของข้อมูลมหัต (big data intelligence) ชีวการแพทย์ (biomedicine) วัสดุใหม่ (new materials) และสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยา (ecological environment) โดยมีแผนสร้างสถาบันวิจัยเทคโนโลยีซิลิคอนไลท์ แพลตฟอร์มการวิจัยนวัตกรรมซอฟต์แวร์ยานยนต์ และศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ข้อมูลชีวการแพทย์

การก่อสร้างระยะแรก (ส่วนแรก) ของศูนย์วิทยาศาสตร์ฉงชิ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ทะเลสาบเหลียนฮวาของเมืองเซิงเจีย เมืองวิทยาศาสตร์ภาคตะวันตก (ฉงชิ่ง) ประกอบด้วย 6 อาคาร

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]