ภาพ : Ma Ji/Xinhua
เมืองวิทยาศาสตร์ภาคตะวันตก (เฉิงตู) (Western (Chengdu) Science City) ครอบคลุมพื้นที่ 361.6 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่รวบรวมโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ ประกอบด้วย 4 พื้นที่หลัก ดังนี้
1) เขตเศรษฐกิจใหม่ เป็นพื้นทีขององค์กรทางเศรษฐกิจใหม่และทีมนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นไปที่เศรษฐกิจใหม่และอุตสาหกรรมใหม่ เช่น การสื่อสาร 5G ปัญญาประดิษฐ์ การสร้างภาพและเสียงบนเครือข่ายและวัฒนธรรมดิจิทัล บิ๊กดาต้า และความปลอดภัยของเครือข่าย ได้สร้างเขตนำร่องนวัตกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลระดับชาติ และเขตนำร่องนวัตกรรมและการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์รุ่นใหม่ระดับชาติ
2) เมืองชีวภาพนานาชาติเฉิงตูเทียนฟู่ เป็นพื้นที่ของนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพและผู้ประกอบการ โดยมุ่งเน้นไปที่ยาเทคโนโลยีชีวภาพ อุปกรณ์การแพทย์ประสิทธิภาพสูง ยารักษาโรคที่แม่นยำ และสาขาอื่น ๆ โดยจะสร้างแพลตฟอร์ม เช่น ฐานสาธิตนำร่องสำหรับการถ่ายโอนและการเปลี่ยนแปลงความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญระดับชาติในการผลิตยาใหม่ที่สำคัญ
3) เมืองเทคโนโลยีแห่งอนาคต เป็นพื้นที่ของมหาวิทยาลัยนวัตกรรมระดับนานาชาติและองค์กรนวัตกรรม โดยเน้นการผลิตอัจฉริยะ การบินและอวกาศ และอื่น ๆ สร้างศูนย์วิทยาศาสตร์ประยุกต์ระดับโลก เขตสาธิตการผลิตอัจฉริยะในภาคตะวันตกของจีน และเมืองวิทยาศาสตร์และการศึกษานานาชาติเฉิงตู-ฉงชิ่ง
4) ฐานนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ เป็นพื้นที่ขององค์ประกอบระดับไฮเอนด์ของอุตสาหกรรมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาวงจรรวม จอแสดงผลใหม่ เทอร์มินัลอัจฉริยะ และอื่น ๆ สร้างซิลิคอนแวลลีย์แห่งใหม่ในจีน รวบรวมแพลตฟอร์มที่สำคัญ เช่น สถาบันวิจัยเฉิงตูของหัวเว่ย ศูนย์นวัตกรรมของจิงตง
ภาพ : Western (Chongqing) Science City)
เมืองวิทยาศาสตร์ภาคตะวันตก (ฉงชิ่ง) (Western (Chongqing) Science City) ครอบคลุมพื้นที่ 1,198 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเขตสาธิตนวัตกรรมอิสระแห่งชาติ เขตนำร่องการค้าเสรี เขตเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งชาติ มหาวิทยาลัย 28 แห่ง เช่น มหาวิทยาลัยฉงชิ่ง ห้องปฏิบัติการหลักระดับชาติ 5 แห่ง นิคมอุตสาหกรรม 14 แห่ง โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ และบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูง 137 แห่ง
อุตสาหกรรมหลักมุ่งเน้นไปที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ เช่น วงจรรวม ปัญญาประดิษฐ์ บิ๊กดาต้า และ 5G ด้านการผลิตขั้นสูง เช่น วัสดุน้ำหนักเบา การผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ และหุ่นยนต์อัจฉริยะ ด้านสุขภาพ เช่น วัคซีนแอนติบอดี การรักษาทางชีวภาพ การวินิจฉัยภายนอกร่างกาย อุปกรณ์ทางการแพทย์ มุ่งเน้นอุตสาหกรรมด้านบริการเทคโนโลยีขั้นสูง 4 ด้าน คือ การบ่มเพาะการวิจัยและพัฒนา การตรวจสอบและการทดสอบ การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล โลจิสติกส์อัจฉริยะ ส่งเสริมการบูรณาการของห่วงโซ่อุตสาหกรรม นวัตกรรม ทักษะความสามารถ การเงิน และนโยบาย เพื่อสร้างต้นแบบคลัสเตอร์อุตสาหกรรมระดับโลก
โครงการสำคัญในพื้นที่ ได้แก่ อุทยานอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะฮั่นกู อุทยานเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ศูนย์คณิตศาสตร์ประยุกต์แห่งชาติ ศูนย์วิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยฉงชิ่ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ครบวงจรเฉิงหยู่ ศูนย์ข้อมูลขั้นสูง สถาบันวิจัยอุตสาหกรรมแม็กเลฟและฐานการผลิต สิ่งอำนวยความสะดวกการทดลองชั่วคราวที่รวดเร็วเป็นพิเศษ ห้องสมุดทรัพยากรประชากรธรรมชาติของจีนศูนย์ฉงชิ่ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฉงชิ่งของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน สถาบันวิจัยบิ๊กดาต้าฉงชิ่งของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ศูนย์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ฉงชิ่งของสถาบันเทคโนโลยีปักกิ่ง และบริษัทชั้นนำ เช่น Inventec, Quanta, SK Hynix, CR Micro, UMC, Zhien Pharmaceutical, CVTRI เป็นต้น
ภาพ : Liangjiang New Area
เขตนวัตกรรมความร่วมมือเหลียงเจียงฉงชิ่ง (Chongqing Liangjiang Collaborative Innovation Zone) ตั้งอยู่ในเขตเหลียงเจียงใหม่ นครฉงชิ่ง มีพื้นที่ประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร ยึดมั่นการพัฒนารูปแบบ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี + อุตสาหกรรม” มุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมเกิดใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ เว็บ 3.0 และอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ก่อตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาระดับสูงระดับนานาชาติ และสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมแบบครบวงจร
เขตนวัตกรรมแห่งนี้ มีสถาบันวิจัยประมาณ 50 แห่ง รวบรวมผู้มีความสามารถด้านนวัตกรรมระดับสูงมากกว่า 3,000 คน ทีมนักวิชาการ 25 ทีม และแพลตฟอร์มวิจัยและพัฒนามากกว่า 140 แห่ง และมีสถานีวิจัยหลังปริญญาเอกระดับชาติทั้งหมด 5 แห่ง สถานีวิจัยหลังปริญญาเอกระดับเทศบาล 20 แห่ง และสถาบันวิจัยระดับสูงแห่งใหม่ระดับเทศบาล 21 แห่ง ได้รวบรวมองค์ประกอบนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น สถาบันวิจัยและพัฒนา องค์กรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทีมงานที่มีความสามารถ และสถาบันกองทุน อาทิเช่น
1) สถาบันเทคโนโลยีปักกิ่ง ศูนย์นวัตกรรมฉงชิ่ง (Beijing Institute of Technology Chongqing Innovation Center) พัฒนาและทดสอบรถยนต์บินได้อัจฉริยะแบบคนขับสองที่นั่งคันแรกของโลก
2) สถาบันบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์จีน (Chinese Academy of Engineering) วิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับโครงการไชน่าฟู่เหยียน (China Compound Eye)
3) มหาวิทยาลัยจี๋หลิน สถาบันวิจัยฉงชิ่ง (Jilin University Chongqing Research Institute) 4) สถาบันเทคโนโลยีฮาร์บิน สถาบันวิจัยฉงชิ่ง (Harbin Institute of Technology Chongqing Research Institute)