นครเซี่ยงไฮ้
มุ่งเสริมสร้างการเป็น “5 ศูนย์กลาง” ด้าน (1) เศรษฐกิจ (2) การเงิน (3) การค้า (4) การขนส่ง และ (5) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยสนับสนุนการลงทุน R&D คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.2 ของ GDP และเน้น 3 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ แผงวงจรรวม ยาชีวภาพ และ AI ซึ่งมีมูลค่ารวม 1.4 ล้านล้านหยวน ตลอดจนให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมหลัก 3 สาขา (แผงวงจรรวมยาชีวภาพ และ AI) และอุตสาหกรรมสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ยานยนต์พลังงานใหม่ อุปกรณ์ขั้นสูง วัสดุใหม่ IT เทคโนโลยีอวกาศ และดิจิทัล ซึ่งมีมูลค่ารวม 4 ล้านล้านหยวน โดยมีการส่งมอบเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ C919 ลำแรกและเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 3 ของจีน ขยายศักยภาพของ Zhangjiang Science City ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และดึงดูดบุคลากรความสามารถสูงมาทำงาน
นอกจากนี้ ยังสนับสนุน STAR Market และ start-ups มุ่งขับเคลื่อน “อุตสาหกรรม เป้าหมาย 3 + 6 สาขา” และ อุตสาหกรรมใหม่ 4 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจดิจิทัล เทคโนโลยีสีเขียว metaverse และ smart terminal ขยายบทบาทของศูนย์วิทยาศาสตร์จางเจียง สนับสนุนการบูรณาการ YRD รวมถึงความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการให้บริการประชาชน
เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมุ่งสร้างระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงที่มุ่งพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน ควบคุมระบบกวดวิชา เสริมสร้าง ความร่วมมือระหว่างการศึกษาวิชาชีพ การศึกษาขั้นสูง และการศึกษาตลอดชีวิต รวมถึงความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้าในเทคโนโลยีพื้นฐานของสาขาเชิงยุทธศาสตร์ สนับสนุนเศรษฐกิจอยู่บนพื้นฐานของ R&D และส่งเสริมการรวมตัวกันของบุคลากรที่มีความสามารถสูงโดยมุ่งให้เซี่ยงไฮ้เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการระดับชาติ มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยชั้นนำ
มณฑลเจียงซู
เจียงซูเป็นหนึ่งในมณฑลที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงที่สุดของจีน มุ่งไปสู่การพัฒนารูปแบบใหม่ที่มีคุณภาพสูงและทันสมัย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา GDP เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.5 ต่อปี รายได้หลังภาษี ประชากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.3 ในปี 2565 GDP อยู่ที่ 12.29 ล้านล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8) สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ (รองจากมณฑลกวางตุ้ง) ดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ที่ร้อยละ 2.2 มีความก้าวหน้าสูงในด้านอุตสาหกรรม มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมการผลิตคิดเป็นร้อยละ 37 ของ GDP สูงที่สุดในประเทศ มีการบริโภคที่เข้มแข็ง มูลค่าการค้าปลีกอยู่ที่ 4.28 ล้านล้านหยวน สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ (รองจากกวางตุ้ง)
ให้ความสำคัญกับการเร่งพัฒนาและพึ่งพาตนเองด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในปี 2565 งบประมาณด้านวิจัยและพัฒนาอยู่ที่ร้อยละ 3 ของ GDP มีคลัสเตอร์อุตสาหกรรมขั้นสูงระดับชาติ 10 สาขา สูงที่สุดในประเทศ อาทิ IoT อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล ชีวการแพทย์ เศรษฐกิจดิจิทัล มีมูลค่ากว่า 5 ล้านล้านหยวน มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมหลักของเศรษฐกิจดิจิทัล คิดเป็นร้อยละ 11 ของ GDP มีบุคลากรที่มีทักษะกว่า 14 ล้านคน โดยเป็นบุคลากรด้านวิจัยและพัฒนา 1.088 ล้านคน
มณฑลเจ้อเจียง
เจ้อเจียงมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ (รองจากกวางตุ้ง เจียงซู และซานตง) เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของจีน เป็นมณฑลแรกที่ได้รับเลือกให้เป็น “Demonstration Zone for Common Prosperity” ช่องว่างทางรายได้ระหว่างประชาชน ในเมืองและชนบทต่ำสุดในประเทศ มุ่งดำเนินการตามยุทธศาสตร์ “88 Strategy” ที่ ปธน. สีฯ มอบไว้เมื่อปี 2546 ในขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมณฑล เจ้อเจียง
ประเด็นที่ให้ความสำคัญ คือ เสริมสร้างระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยมี เศรษฐกิจดิจิทัลเป็น “No. 1 Project” และพัฒนาคลัสเตอร์ อุตสาหกรรม “415X” ได้แก่ อุตสาหกรรมขั้นสูงระดับ 4 ล้านล้านหยวน อาทิ ICT อุปกรณ์ขั้นสูง การบริโภคและสุขภาพ ปิโตรเคมีสีเขียว อุตสาหกรรมชั้นนำระดับ 1.5 ล้านล้านหยวน อาทิ EV พลังงานแสงอาทิตย์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และอุตสาหกรรมดาวรุ่งระดับ 1 หมื่นล้านหยวน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ วิศวกรรมชีวภาพ วัสดุใหม่
ยกระดับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียว จัดตั้งห้องปฏิบัติการระดับชาติ 16 แห่ง และระดับมณฑล 10 แห่ง ดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมขนาดใหญ่ 2 พันโครงการ มีวิสาหกิจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมขั้นสูงกว่า 5 หมื่นราย และสนับสนุนให้นครหางโจวเป็น National Comprehensive Science Center ตลอดจนจะเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตไฟฟ้าเป็น 168 ล้านกิโลวัตต์ โดยกว่าร้อยละ 43 มาจากพลังงานหมุนเวียน
มณฑลอานฮุย
อานฮุยมุ่งพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเพื่อให้ทันกับมณฑลอื่นใน YRD โดย GDP มีขนาด 4.5 ล้านล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5) ขจัดความยากจนสำหรับประชากรยากจนในชนบท 4.84 ล้านคน รายได้หลังภาษีของ ประชากรเพิ่มเป็น 32,600 หยวน (เพิ่มจาก 23,984 หยวน) วิสาหกิจเอกชนมีจำนวนกว่า 7 ล้านราย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 91.3) การค้าระหว่างประเทศมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้าน USD มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงมากที่สุดในประเทศ ผลผลิตธัญญาหารสูงกว่า 40 ล้านตัน สูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ และค่าเฉลี่ย PM2.5 ลดลงเหลือ 34.9 ไมโครกรัม/ ลบ.ม. (จาก 54 ไมโครกรัม/ ลบ.ม.) และมุ่งพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และอุตสาหกรรมขั้นสูง ขีดความสามารถด้านนวัตกรรมขยับขึ้นมาอยู่อันดับ 7 ของประเทศ (จากอันดับ 10) มีความก้าวหน้าด้านควอนตัมฟิสิกส์ นิวเคลียร์ฟิวชั่น เทคโนโลยีแกนในการผลิตชิพและซอฟแวร์
- ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูงส่งเสริมการเชื่อมโยงภาคการเงินกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผ่าน Hefei Science and Technology Financial Reform Pilot Zone เพิ่มแรงงานทักษะในภาคอุตสาหกรรม 3 แสนคน
- สนับสนุนวิสาหกิจชั้นนำเสริมสร้างเครือข่ายด้านนวัตกรรมและห่วงโซ่อุตสาหกรรม ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง รวมถึงอุตสาหกรรมชั้นนำสมัยใหม่ข้างต้น แผงวงจรรวม EV และพลังงานใหม่ ผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล และเพิ่มแพลตฟอร์มให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงอุตสาหกรรม อีก 10 แห่ง (ต่อยอดจากโครงการ Antelope)
- พัฒนาชนบท/ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน/ ปกป้องสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมเกษตรสมัยใหม่และการรักษาระดับการผลิตธัญญาหารในปริมาณที่สูงด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เครื่องจักร และดิจิทัล รวมทั้งใช้ประโยชน์จากการประชุม YRD Green Food Processing Conference ที่อานฮุยเป็นเจ้าภาพทุกปี สนับสนุนการบูรณาการกับ YRD รวมถึงในส่วนของ G60 STI Corridor และการเชื่อมโยงกับ Hongqiao International Open Hub ตลอดจนการเชื่อมโยงกับพื้นที่ตอนกลางของประเทศ รวมถึงการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นใน International Chamber of Commerce Alliance ในพื้นที่ ทั้งสอง พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนกว่า 4 ล้านกิโลวัตต์