เขตสาธิตนวัตกรรมอิสระแห่งชาติจงกวนชุน

(Zhongguancun National Independent Innovation Demonstration Zone)

Zhongguancun: Beijing's innovation hub is at the centre of China's aim to  become a tech powerhouse | South China Morning Post

ภาพ : Handout

เขตสาธิตนวัตกรรมอิสระแห่งชาติจงกวนชุน (Zhongguancun National Independent Innovation Demonstration Zone) มีต้นกำเนิดจากถนนอิเล็กทรอนิกส์จงกวนชุน (Zhongguancun Electronic Street) ในช่วงต้นทศวรรษ 1980  ปัจจุบันเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของอุตสาหกรรมไฮเทคของจีน และเป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคแห่งชาติแห่งแรก เขตสาธิตนวัตกรรมอิสระแห่งชาติแห่งแรก เขตพิเศษสำหรับบุคลากรที่มีความสามารถแห่งชาติแห่งแรก และเขตทดสอบระบบและกลไกนวัตกรรมของจีน นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนสำคัญของแถบอุตสาหกรรมไฮเทคปักกิ่ง-เทียนจิน-สือเจียจวง (Beijing-Tianjin-Shijiazhuang Hi-Tech Industrial Belt)

ปัจจุบัน เขตสาธิตนวัตกรรมอิสระแห่งชาติจงกวนชุนมีขนาดพื้นที่ 488 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมอุทยานวิทยาศาสตร์ย่อย 16 แห่งใน 16 เขตของปักกิ่ง คือ อุทยานไฮ่เตียน อุทยานซีเฉิง อุทยานตงเฉิง อุทยานเฉาหยาง อุทยานเฟิงไท่ อุทยานสือจิ่งซาน อุทยานเหมินโถวโกว อุทยานฝางซาน อุทยานทงโจว อุทยานซุ่นอี้ อุทยานต้าซิง-อี้จวง อุทยานฉางผิง อุทยานพิงกู อุทยานห้วยโหรว อุทยานมิยุน และอุทยานเหยียนชิ่ง

เส้นทางการพัฒนา

จงกวนชุนมีต้นกำเนิดจาก “ถนนอิเล็กทรอนิกส์” ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 (มกราคม 1983-เมษายน 1988)
23 ตุลาคม 1980นายเฉิน ชุนเซียน (Chen Chunxian) นักวิจัยจากสถาบันฟิสิกส์ของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences: CAS) ซึ่งเคยไปเยือนซิลิคอนวัลเลย์     ได้จัดตั้งแผนกบริการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ความเคลื่อนไหวนี้ ส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจไฮเทคในจงกวนชุนอย่างมาก และนำไปสู่การจัดตั้งเขตทดลองการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ปักกิ่งและอุทยานจงกวนชุน
ค.ศ. 1984บุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลุ่มหนึ่ง ทำธุรกิจในเขตจงกวนชุน พวกเขาสำรวจวิธีเปลี่ยนความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นผลผลิตโดยการจัดตั้งบริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยี
ค.ศ. 1987บริษัทเทคโนโลยีเกือบ 100 แห่ง รวมตัวกันที่ถนนไป่อี้ (Baiyi) ปัจจุบันคือถนนจงกวนชุน(Zhongguancun) ไปยังถนนเฉิงฟู่ (Chengfu) และถนนจงกวนชุน(Zhongguancun) ถึงถนนไฮ่เตียน (Haidian) ทางตอนเหนือ และไปยังถนนเสวี่ยหยวน (Xueyuan) ทางตะวันออก สร้างพื้นที่รูปตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ “F” ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “ถนนอิเล็กทรอนิกส์”
ช่วงระยะเวลาของเขตนำร่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ของปักกิ่ง (ค.ศ. 1988-1999)
10 พฤษภาคม 1988สภาแห่งรัฐอนุมัติ “ข้อบังคับชั่วคราวของเขตนำร่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ของปักกิ่ง” อย่างเป็นทางการ และกำหนดให้พื้นที่ประมาณ 100 ตารางกิโลเมตรใน        เขตไห่เตี้ยน กรุงปักกิ่ง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เขตจงกวนชุน กำหนดให้เป็นพื้นที่นโยบายของเขตนำร่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ของปักกิ่ง
20 พฤษภาคม 1988รัฐบาลเทศบาลปักกิ่งประกาศใช้ “ข้อบังคับชั่วคราวของเขตนำร่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ของปักกิ่ง” ด้วยเหตุนี้ เขตนำร่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ของปักกิ่งจึงได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
เมษายน 1994คณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้อนุมัติให้อุทยานเฟิงไถ (Fengtai Park) และอุทยานฉ่างผิง (Changping Park) รวมอยู่ในพื้นที่นโยบายของเขตนำร่อง
มกราคม 1999คณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ปรับพื้นที่ของเขตนำร่องอีกครั้ง และรวมเมืองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic City) และอุทยานอี๋จวง (Yizhuang Park) ไว้ในพื้นที่นโยบายของเขตนำร่อง ตั้งแต่นั้นมา เขตนำร่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ของปักกิ่งได้กำหนดรูปแบบเชิงพื้นที่เป็น “หนึ่งเขตห้าอุทยาน”
ช่วงระยะเวลาของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจงกวนชุน (มิถุนายน 1999 – กุมภาพันธ์ 2009)
5 มิถุนายน 1999สภาแห่งรัฐเผยแพร่ “การตอบกลับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์จงกวนชุน” ซึ่งเห็นชอบในหลักการต่อรัฐบาลเทศบาลปักกิ่งและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน “คำขอคำแนะนำในการดำเนินยุทธศาสตร์การฟื้นฟูประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และการศึกษา และการเร่งรัดการก่อสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์จงกวนชุน” เพื่อเร่งการก่อสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์จงกวนชุน และแผนพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์จงกวนชุน
10 สิงหาคม 1999รัฐบาลเทศบาลปักกิ่งประกาศ เปลี่ยนชื่อคณะกรรมการบริหารของเขตนำร่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ปักกิ่งเป็น “คณะกรรมการบริหารอุทยานวิทยาศาสตร์จงกวนชุน” (Administrative Commission of Zhongguancun Science Park)
17 มกราคม 2006ด้วยความเห็นชอบของสภาแห่งรัฐ คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติได้ประกาศ    เขตพัฒนาระดับรัฐ 20 เขตชุดที่ 5 ซึ่งผ่านการตรวจสอบและอนุมัติ ได้ปรับพื้นที่ของอุทยานวิทยาศาสตร์จงกวนชุนเป็น 23,252.29 เฮกตาร์ ครอบคลุม อุทยานไฮ่เตียน (Haidian) อุทยานเฟิงไถ (Fengtai) อุทยานชางผิง (Changping) อุทยานเต๋อเซิง (Desheng) (รวมถึงอุทยาน Yonghe) เมืองอิเล็กทรอนิคส์ สร้างรูปแบบเชิงพื้นที่ของ “หนึ่งเขตสิบอุทยาน”
ช่วงระยะเวลาของเขตสาธิตนวัตกรรมอิสระแห่งชาติจงกวนชุน (มีนาคม 2009-ปัจจุบัน )
13 มีนาคม 2009สภาแห่งรัฐเผยแพร่ “การอนุมัติในการสนับสนุนอุทยานวิทยาศาสตร์จงกวนชุนเพื่อสร้างเขตสาธิตนวัตกรรมอิสระแห่งชาติ” โดยชี้แจงว่า ตำแหน่งใหม่ของอุทยานวิทยาศาสตร์จงกวนชุนเป็นเขตสาธิตนวัตกรรมอิสระระดับชาติ และเป้าหมายคือการเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลระดับโลก
13 ตุลาคม 2012สภาแห่งรัฐอนุมัติการปรับขนาดเชิงพื้นที่และเค้าโครงของเขตสาธิตนวัตกรรมอิสระแห่งชาติจงกวนชุน จาก “หนึ่งเขตสิบอุทยาน” เป็น “หนึ่งเขตสิบหกอุทยาน” ประกอบด้วย อุทยานไฮ่เตียน (Haidian Park) อุทยานเฉาหยาง (Chaoyang Park) อุทยานเฟิงไท่ (Fengtai Park) อุทยานซีเฉิง(Xicheng Park) อุทยานตงเฉิง (Dongcheng Park) อุทยานสือจิ่งซาน (Shijingshan Park) อุทยานเหมินโถวโกว (Mentougou Park) อุทยานฝงซาน (Fangshan Park) อุทยานทงโจว (Tongzhou Park) อุทยานซุ่นอี้ (Shunyi Park) อุทยานต้าซิง-อี้จวง (Daxing – Yizhuang Park) อุทยานฉางผิง (Changping Park) อุทยานพิงกูพาร์ค (Pinggu Park) อุทยานห้วยโหรว (Huairou Park) อุทยานมิยุน (Miyun Park) และอุทยานเหยียนชิ่ง (Yanqing Park)
Zhongguancun AI park Phase I starts construction

เป้าหมายการพัฒนา

ค.ศ. 2025

ภายในปี ค.ศ. 2025 เขตสาธิตนวัตกรรมอิสระแห่งชาติจงกวนชุนจะเป็นผู้นำในการสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก โดยให้การสนับสนุนที่แข็งแกร่งแก่ปักกิ่งในการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติ มีเป้าหมาย 5 ด้าน ดังนี้

1) ความก้าวหน้าที่สำคัญในการปฏิรูปเชิงลึกและนวัตกรรม สร้างสภาพแวดล้อมของระบบเศรษฐกิจใหม่ที่มีการคาดการณ์ล่วงหน้าและครอบคลุม

2) ปรับปรุงความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นอิสระ เอาชนะเทคโนโลยีที่เป็น “ปัญหาติดคอ” (ปัญหาเทคโนโลยีที่จีนกำลังเผชิญหน้า 35 รายการ) เทคโนโลยีชั้นนำขั้นแนวหน้า (Frontier Leading Technology) และเทคโนโลยีที่สร้างความพลิกผัน (Disruptive Technology)

3) อุตสาหกรรมไฮเทคครอบครองห่วงโซ่คุณค่าระดับกลางและระดับสูของโลก และระดับความเป็นอิสระและความมั่นคงทางอุตสาหกรรมและความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุตสาหกรรมได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

4) ระบบนิเวศของนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบอยู่ในระดับชั้นนำของสากล สร้างระบบสถาบันและรูปแบบการกำกับดูแลที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล 

5) ความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างประเทศได้ก้าวสู่ระดับใหม่ ความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรนวัตกรรมระดับโลกและระดับความเป็นสากลขององค์กรได้รับการปรับปรุง

ค.ศ. 2035

ภายในปี ค.ศ. 2035 เขตสาธิตนวัตกรรมอิสระแห่งชาติจงกวนชุนจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก และเป็นเสาหลักที่สำคัญด้านนวัตกรรมของโลก โดยจะให้การสนับสนุนเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุการพึ่งพาตนเองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับสูง และเร่งสร้างประเทศที่เข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แพลตฟอร์มนวัตกรรมจงกวนชุน 

 (Zhongguancun Innovation Platform)

แพลตฟอร์มนวัตกรรมจงกวนชุน (Zhongguancun Innovation Platform) ร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและเทศบาลนครปักกิ่ง โดยมุ่งเน้นที่การบูรณาการทรัพยากรด้านนวัตกรรมเพิ่มเติม เช่น วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ องค์กรกลาง และองค์กรเทคโนโลยีขั้นสูงในเมืองหลวง การนำกรณีพิเศษ การจัดการพิเศษ และโหมดการอนุมัติร่วมกันข้ามระดับไปใช้นโยบายการปฏิรูปต่างๆ ที่ได้รับการอนุมัติจากสภาแห่งรัฐภายใต้แพลตฟอร์มดังกล่าว มีองค์กรทำงาน 9 องค์กร ได้แก่ สำนักงานการประชุมร่วมเพื่อการอนุมัติและอนุมัติโครงการสร้างความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ คณะทำงานการเงินเทคโนโลยี คณะทำงานความสามารถพิเศษ คณะทำงานจัดหาเทคโนโลยีใหม่และผลิตภัณฑ์ใหม่ของรัฐบาลและส่งเสริมการใช้งาน คณะทำงานนำร่องนโยบาย คณะทำงานวางแผนและก่อสร้าง คณะทำงานเมืองวิทยาศาสตร์จงกวนชุน และคณะทำงานอุตสาหกรรมบริการสมัยใหม่

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]