โครงการความร่วมมือไทย – สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน

(Chinese Academy of Sciences: CAS)

เพื่อพัฒนากำลังคนและการวิจัยพัฒนาตามพระราชดำริฯ

โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงาน
นักเรียนทุน สำนักงาน ก.พ. – UCAS
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) กับการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่น
โครงการภาคีความร่วมมือไทย – จูโน (Thai – Jiangmen Underground Neutrino Observatory)
ความร่วมมือกับ IHEP : Institute of High Energy Physics
โครงการของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานไทยกับ CAS/UCASโครงการวิจัย Observations and investigations of special binary stars observed by TESS        (2564 – 2566)ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC)โครงการพัฒนาดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ TSC-Pathfinder เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมขั้นสูง
ความร่วมมือระหว่างศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช.- NCNST/CAS (National Center for Nanoscience and Technology, Chinese Academy of Sciences)
ความร่วมมือระหว่างสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) กับ IAP (The Institute of Atmospheric Physics), CAS
ความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) GISTDA กับ ม.อู่ฮั่น และ AIR (Aerospace Information Research Institute)/CAS (ชื่อเดิม RADI/CAS)
โครงงานวิจัยร่วมกันระหว่างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กับ IEECAS ที่ซีอาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ความร่วมมือระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. กับ ICT (Institute of Computing Technology), CAS

ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2566

โครงการความร่วมมือกับสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (Chinese Academy of Sciences: CAS)

เพื่อพัฒนากำลังคนและการวิจัยพัฒนาตามพระราชดำริ

  1. นักเรียนทุน สำนักงาน ก.พ. – UCAS

จากการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างสำนักงาน ก.พ. กับ UCAS ได้ให้การสนับสนุนทุนนักศึกษาไปเรียนปริญญาเอกที่ UCAS ปีละไม่เกิน 10 ทุน โดยทาง UCAS ยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาให้ครึ่งหนึ่ง  ส่วนค่าใช้จ่ายที่เหลือ (ค่าธรรมเนียม การศึกษาอีกครึ่งหนึ่งและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ) เป็นทุนจากรัฐบาลไทย โดยสำนักงาน ก.พ. โดย MoU ณ ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022 – 2026) นับเป็นฉบับที่ 5 โดยมีความก้าวหน้าของความร่วมมือสรุปได้ดังนี้ 

1.1 ตั้งแต่ปี 2552 – 2565 มีผู้รับทุนทั้งสิ้น 45 คน ปัจจุบันมีผู้รับทุนจบปริญญาเอกและปริญญาโทกลับมารับราชการ ในหน่วยงานภาครัฐแล้วจำนวน 19 คน และกำลังศึกษาอยู่ 23 คน นักเรียนทุนปี 2565 เตรียมตัวสมัครเรียนภาษาจีน 3 คน 

1.2 มีผู้สำเร็จการศึกษารวมทั้งสิ้นจนถึงปัจจุบัน จำนวน 19 คน

  1. สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) กับการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่น

• เครื่องโทคาแมคเครื่องแรกของไทยเป็นความร่วมมือ สทน. กับสถาบัน ASIPP (Institute of Plasma Physics, CAS) สาธารณรัฐประชาชนจีน และทุนสนับสนุนจาก กฟผ. 

• คนไทยสามารถประกอบส่วนแกนของเครื่องโทคาแมค (บริจาคจาก ASIPP) เข้ากับระบบสนับสนุนจาก    การให้ทุนของ กฟผ. ในเดือนมิถุนายน 2565 

• ASIPP อบรมเชิงปฏิบัติการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย (สทน., กฟผ.) จนสามารถเดินเครื่องได้เอง ในเดือนกรกฎาคม 2565 

• ถอดเครื่องโทคาแมคแยกออกเป็นส่วน ๆ ให้สะดวกต่อการขนย้ายมาติดตั้งที่ สทน. องครักษ์ เมื่อ              17 มกราคม 2566 คาดว่าจะติดตั้งเสร็จเมษายน 2566 และเดินเครื่องกรกฎาคม 2566

ไทยจับมือจีนมุ่งสร้าง 'ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์' เครื่องแรกในอาเซียน

ไทยโทคาแมค-1 (Thai Tokamak-1 หรือ TT-1) เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันเครื่องแรกของไทย (ภาพ : Handout)

  1. โครงการภาคีความร่วมมือไทย – จูโน (Thai – Jiangmen Underground Neutrino Observatory)

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธี ลงนามความร่วมมือระหว่างสมาชิก JUNO – ไทยกับ IHEP (Institute of High Energy Physics) CAS เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2560 ณ IHEP กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Jiangmen มณฑล Guangdong การทดลอง (Experimental Hall) ตั้งอยู่ใต้ดินลึกประมาณ 700 เมตร (แนวดิ่ง) เพื่อลดสัญญาณรบกวนอุโมงค์ (Slope Tunnel) ยาว 1,265 เมตร เชื่อมระหว่าง Experimental Hall กับห้องปฏิบัติการเหนือพื้นดิน ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างและคาดว่าจะเริ่มตรวจวัดได้ในปี 2567

จูโน (JUNO) เป็นการทดลองที่ใช้ Liquid Scintillator (LS) ประมาณ 20 กิโลตัน ในการตรวจวัดนิวตริโน LS บรรจุในถังอะครีลิกทรงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 35.4 เมตร ที่ตั้งอยู่ในบ่อบรรจุน้ำเพื่อทำหน้าที่ป้องกัน กัมมันตภาพรังสีตามธรรมชาติโดยรอบถังอะครีลิกมีหลอดโฟโตมัลติพลายเออร์ (PMT) จำนวนมากติดตั้งอยู่ เพื่อตรวจวัดสัญญาณเมื่อนิวตริโนทำอันตรกิริยากับอะตอมของธาตุใน LS

วัตถุประสงค์ของจูโนเพื่อตรวจวัดลำดับมวลของนิวตริโน จูโนมีสมาชิก 74 สถาบันจาก 18 ประเทศรวมถึงสมาชิกภาคีไทย JUNO (มทส. จุฬา และ สดร.) 

JUNO Warwick Group
besIIIgroup

การทดลอง JUNO การทดลอง BESIII

  1. ความร่วมมือกับ IHEP : Institute of High Energy Physics

BESIII ย่อมาจาก Beijing Spectrometer Experiment III เป็น Detector รุ่น 3 ในการทดลองชนกันของ electron กับ positron ที่พลังงาน 2 – 4.2 GeV ด้วยเครื่องเร่งอนุภาค BEPC (Beijing Electron-Positron Collider) ตั้งอยู่ที่ Institute of High Energy Physics, CAS ปักกิ่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้เข้าร่วม เป็นสมาชิกของการทดลอง BESIII (Beijing Spectrometer Experiment III) Collaboration เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2562 เพื่อศึกษาอนุภาคาเฮดรอนแปลกใหม่ (exotic hadron) ที่มีควอร์ก 4 ตัว (tetraquarks) และ 5 ตัว (pentaquarks) ซึ่งถือเป็นความร่วมมือด้านการวิจัยในระดับนานาชาติ BESIII มีสมาชิกกว่า 72 สถาบัน จาก 15 ประเทศในทวีปเอเชีย ยุโรปและอเมริกา (หมายเหตุ อนุภาคเฮดรอนปกติมีควอร์กเพียง 2 ตัว (เมซอน) หรือ 3 ตัว (แบริออน) เท่านั้น)

  1. โครงการของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานไทยกับ CAS/UCAS

ความร่วมมือระหว่าง สดร. และหอดูดาวยูนนาน (Yunnan observatories : YNOs)

5.1 โครงการวิจัย Observations and investigations of special binary stars observed by TESS    (2564–2566) ดำเนินงานตามคำแนะนำของ Prof. Sheng-Bang Qian (YNOs) เช่น ระบบดาวคู่ใกล้ชิดแบบแตะสัมผัส (contact binaries) เป็นต้น และสดร. ยังได้ขยายขอบเขตงานวิจัย เช่น การศึกษาโนวา (novae) ซึ่งเป็นดาวแปรแสงอีกด้วย ปี 2565 ดำเนินการวิจัยโดยค้นหาดาวคู่พิเศษจากฐานข้อมูลของ TESS ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ดาวเทียมขององค์การนาซ่า ร่วมกับ ข้อมูลสเปกตรัมจาก LAMOST เขต Xinglong ของจีน แล้วทำการติดตามสังเกตการณ์ด้วยกล้องภาคพื้นดิน เช่น จากกล้อง 2.4 เมตร กล้อง 1 เมตร ของไทย ร่วมกับข้อมูลจากกล้องของจีน เช่น จากกล้อง GMG 0.7 เมตร ณ หอดูดาวเกาเหมยกู่ เขตลี่เจียง กล้อง 0.6 เมตร และ 1 เมตร ของหอดูดาวยูนนาน เขตคุนหมิง โดยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ ในวารสารนานาชาติ ร่วมกัน 4 เรื่อง เช่น ใน PASJ, RAA และ New Astronomy เป็นต้น

ความร่วมมือในอนาคต

 ปี 2566 สดร. และ YNOs ได้ร่วมวางแผนการทำวิจัย การแลกเปลี่ยนข้อมูล และการตีพิมพ์ผลงานร่วมกัน โดยยึดตามแนวทางที่ Prof.Sheng-Bang Qian จาก YNos ได้แนะนำ โดยข้อมูลวิจัยต่างๆที่ได้จากการสังเกตการณ์  ดาวคู่ จะช่วยไขปริศนาที่มาของดาวพิเศษต่างๆ เช่น blue stragglers ในกระจุกดาวปิด รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เช่น การพกพูนมวล (mass accretion) และการหลอมรวมในระบบดาวคู่ (binary merger) เป็นต้น

 ในปี 2567 สดร.จะจัดทำโครงการวิจัย ร่วมกับ YNOs โดยจัดให้มีกิจกรรมทางวิชาการ เช่น จัดประชุม Sino-Thai symposium ทางด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ไทย-จีน นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนนักวิจัย (visiting researcher) จาก Yunnan observatories ด้วย

5.2 ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC) สถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษาภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 12 สถาบัน (ได้แก่ สทอภ., สดร., สซ., สทน., สวทช., NIA, ม.มหิดล, ม. เกษตรศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์, ม.เทคโนโลยีสุรนารี, ม. เทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ และ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) ได้ร่วมกันลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศไทย เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564 จัดตั้งเป็นภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC) (https://www.narit.or.th/index.php/tsc) 

วัตถุประสงค์การจัดตั้ง เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคน เพื่อพัฒนาดาวเทียมวิจัยขนาดเล็ก โดยใช้ความสามารถในประเทศ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมขั้นสูง เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศให้เป็นอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนนักเรียนนักศึกษา

แผนการดำเนินงาน

5.3 โครงการพัฒนาดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ TSC-Pathfinder เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมขั้นสูง

TSC-Pathfinder เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง Changchun Institute of Optics, Fine Mechanics and Physics, of the Chinese Academy of Sciences (CIOMP) และ สดร. เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคน ด้านวิศวกรรมขั้นสูง โดย สดร. ได้ส่งวิศวกรจำนวน 3 ท่าน เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิควิจัย เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจโลก กับคณะวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญของ CIOMP ณ มณฑลฉางชุน สาธารณรัฐประชาชนจีนปัจจุบันประกอบดาวเทียม TSC-P แล้วเสร็จในระดับต้นแบบวิศวกรรม (Engineering Model) แล้ว

ทีมวิศวกรไทย ปฏิบัติงาน ณ CIOMP จำนวน 3 คน ได้แก่ 

– ดร. พีรพงศ์ ต่อฑีฆะ วิศวกรวิจัย ผู้จัดการโครงการ TSC-P รับผิดชอบ การบริหารโครงการเชิงวิศวกรรม และงานวิจัยด้านระบบควบคุม-นำร่องของดาวเทียม

– นายชารีฟ มนูทัศน์ วิศวกรระบบดาวเทียมและอิเล็กทรอนิกส์ รับผิดชอบ ด้านวิศวกรรมระบบไฟฟ้า การสื่อสาร และอุปกรณ์ตรวจวัด 

– นายพีรเชษฐ์ ชาติศิริวัฒนา วิศวกรทัศนกลไก รับผิดชอบวิศวกรรมระบบทัศนูปกรณ์ของดาวเทียมการประกอบ และทดสอบเชิงกล

  1. ความร่วมมือระหว่างศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช.- NCNST/CAS (National Center for Nanoscience and Technology, Chinese Academy of Sciences)

6.1 ความร่วมมือด้านการเป็นที่ปรึกษาร่วม (joint supervision) ให้กับนักเรียนทุนรัฐบาล ที่ศึกษา ณ UCAS นักวิจัย นาโนเทค/สวทช. เป็นที่ปรึกษาร่วมให้กับนักเรียนทุนรัฐบาล ก.พ. (UCAS) ที่ศึกษา ณ NCNST/CAS จำนวน 3 คน 

[1] งานวิจัย An investigation of nanocarrier-mediated delivery of CRISPR-Cas9 to breast cancer cells ออกแบบและสังเคราะห์สารชีวภัณฑ์ที่สามารถยับยั้งการทำงานของโปรตีนในเซลล์มะเร็งที่เกี่ยวข้องกับกลไกการดื้อ ยาต้านมะเร็ง และออกแบบพาหะระดับนาโนเพื่อใช้เป็นระบบนำส่งสารชีวภัณฑ์ไปยังเซลล์มะเร็งด้วยระบบที่แม่นยำ สำหรับการใช้ร่วมกับยาฆ่ามะเร็งเต้านม มีนักวิจัยร่วม ได้แก่ Prof. Dr. Xing-Jie Liang อ.NCNST/CAS และ ดร. คทาวุธ นามดี นักวิจัยนาโนเทค/สวทช. เป็นที่ปรึกษาร่วมให้นายนวมินทร์ สงวนหมู่ นักศึกษาทุน UCAS ปี 2558 

[2] งานวิจัย Noninvasive and high specific of miRNA21 detection in saliva by molecular beacon and padlock probe based exponential rolling circle amplification ออกแบบชุดตรวจวัด miRNA ในน้ำลายที่สามารถตรวจได้รวดเร็ว ภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง เหมาะกับการใช้แบบ Point-of-care ตรวจวัด miRNA ที่ความเข้มข้นระดับต่ำ ราคาถูก ใช้งานง่าย และเป็นการตรวจแบบไม่รุกรานผู้ป่วย มีนักวิจัย ร่วม ได้แก่ Prof. Dr. Ding Baoquan อาจารย์ NCNST/CAS และ ดร. เดือนเพ็ญ จาปรุง นักวิจัยนาโนเทค/สวทช. เป็นที่ปรึกษา ร่วมให้ นายปิยวัฒน์ ปิติกุลธรรม นักศึกษาปริญญาเอก UCAS ปี 2559 

[3] งานวิจัย The Novel Nanoscale Delivery System of mRNA for SARS-COV2-vaccine prevention and treatment การพัฒนาระบบนำส่งวัคซีนชนิด mRNA แบบใหม่สำหรับโรคโควิด-19 เพื่อนำส่งวัคซีนโดยการพ่นจมูกเป็นรูปแบบ การบริหารยาที่มีศักยภาพในการดูดซึมตัวยาผ่านทางเยื่อบุโพรงจมูกเข้าสู่ร่างกายและก่อให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันได้ดี และเป็นการบริหารยาที่ไม่ล่วงล้ำเข้า มีนักวิจัยร่วม ได้แก่ Prof. Dr. Xing-Jie Liang อาจารย์ NCNST/CAS และ ดร. คทาวุธ นามดี นักวิจัยนาโนเทค/สวทช. เป็นที่ปรึกษาร่วมให้นางสาวพิรุณรัตน์  เดชบำรุง นักศึกษาปริญญาเอก UCAS ปี 2562

6.2 ความร่วมมือเชิงวิชาการ นาโนเทค/สวทช. จัดประชุมความร่วมมือ “ไทย-จีนทางด้านนาโนเทคโนโลยีเพื่อ สุขภาพ: จากศาสตร์สู่การประยุกต์ใช้” ในระหว่างงานประชุมวิชาการ สวทช. ครั้งที่ 17 (NAC2022) โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดงานสัมมนา ดังนี้ 

[1] เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน 

[2] เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องและทิศทางตามนโยบายของสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทย  ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม 

[3] เพื่อส่งเสริมให้เกิดการดูแลนักศึกษาที่รับทุน ในรูปแบบ joint supervision ภายใต้หัวข้อความร่วมมือที่เป็นความต้องการของทั้งสองหน่วยงาน 

[4] เพื่อเป็นการนำเสนอให้นิสิต นักศึกษาไทย เห็นโอกาสในการศึกษาต่อในสาธารณรัฐประชาชนจีนผ่านทุนรัฐบาล ก.พ. กับ มหาวิทยาลัยแห่งสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (UCAS)

  1. ความร่วมมือระหว่างสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) กับ IAP (The Institute of Atmospheric Physics), CAS

7.1 การพัฒนากำลังคน นายกฤตนัย ต่อศรี นักศึกษาปริญญาเอก สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จาก IAP, CAS ทุน CAS-TWAS President‘s Fellowship สาขาอุตุนิยมวิทยา (Meteorology) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565 หัวข้อวิจัย “การแปรผันของฝนรายฤดูกาลของ ประเทศไทยและการประเมินความสามารถ ของแบบจำลอง IAP-AGCM” (Torsri et al. 2022 ) โดยจะมีแผนงานความร่วมมือในอนาคตกับ IAP ได้แก่ การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำ IAP-AGCM มาประยุกต์ใช้ในการคาดการณ์ฝนรายฤดูกาลของประเทศไทย 

7.2 ด้านการวิจัยด้านบรรยากาศศาสตร์ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการจัดการสารสนเทศทรัพยากรน้ำและระบบบริหารจัดการน้ำ

แผนการดำเนินงาน 

(1) โครงการพัฒนาระบบคาดการณ์สภาพอากาศเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการบริหารจัดการน้ำในช่วงไม่เกินฤดูกาล (2-12 สัปดาห์) สำหรับประเทศไทย (Sub-seasonal to Seasonal Prediction: S2S) แผนงาน 5 ปี (2564-2568) ร่วม วิจัยกับ Prof. Zhaohui Lin และทีม IAP, CAS 

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา 1) องค์ความรู้ 2) บุคคลกรวิจัยด้านบรรยากาศศาสตร์ และ 3) ระบบคาดการณ์สภาพอากาศเพื่อ ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการบริหารจัดการน้ำในช่วงไม่เกินฤดูกาล (2-12 สัปดาห์ล่วงหน้า) สำหรับประเทศไทย 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

• เกิดระบบคาดการณ์สภาพอากาศ 2-12 สัปดาห์ล่วงหน้า เพื่อสนับสนุนวางแผนการบริหารจัดการน้ำ ในสภาวะปกติและสภาวะวิกฤตโดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม 

• เผยแพร่องค์ความรู้และต่อยอดงานวิจัยด้านอื่น ๆ อาทิ การเฝ้าระวังไฟป่า ภัยแล้ง มลภาวะทางอากาศ และด้านสาธารณสุข เป็นต้น

งบประมาณ จัดสรรโดย สกสว. ภายใต้ทุน ววน. อว. 

(2) โครงการการวิจัยและพัฒนาระบบคาดการณ์ฝนเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำในลุ่มเจ้าพระยา (โครงการ 1 ปี พ.ศ. 2565) โดยมี Prof. Zhaohui Lin, IAP CAS เป็นที่ปรึกษาโครงการ 

วัตถุประสงค์ 

– เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบคาดการณ์ฝนรายสองสัปดาห์ถึงหกเดือนล่วงหน้าด้วยการพัฒนานวัตกรรมการบูรณาการ เทคโนโลยีการคาดการณ์ฝนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

– เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและหน่วยงานปฏิบัติเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการคาดการณ์ฝน  ของประเทศไทย 

– เพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศด้านการคาดการณ์ฝนโดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างนักวิจัยภายในประเทศและต่างประเทศ 

ผลลัพธ์ 

– ระบบคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนรายสองสัปดาห์เพื่อการบริหารจัดการน้ำสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 

– ระบบคาดการณ์ปริมาณฝนรายหกเดือนล่วงหน้าเพื่อการบริหารจัดการน้ำสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

7.3 การส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาความร่วมมืองานวิจัยด้านบรรยากาศศาสตร์ (Atmospheric Sciences) ระหว่างนักวิจัยไทยกับ CAS โดย สสน. และ IAP ร่วมจัดอบรม หัวข้อ “Increasing Capability (INCAP) on Gaps and Challenges of Sub-seasonal to seasonal (S2S) Climate Prediction in Thailand” เมื่อวันที่ 10 – 11 ส.ค. 2565 โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วม ทั้งสิ้น 120 คน (ทั้ง On-site และ Online)

  1. ความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) GISTDA กับ ม.อู่ฮั่น และ AIR (Aerospace Information Research Institute)/CAS (ชื่อเดิม RADI/CAS)

8.1 หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (นานาชาติ) สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์ (SCGI (Sirindhorn Center for GeoInformatics) Master Program) เป็นความร่วมมือระหว่าง ม.อู่ฮั่น – ม.บูรพา – สทอภ. จนถึงปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว 25 คน

8.2 โครงการพัฒนาระบบติดตามและประเมินปริมาณผลผลิตพืชเศรษฐกิจในประเทศกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ด้วยเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ร่วมกับ AIR – CAS (ชื่อเดิม RADI – CAS) และ UN-ESCAP 

วัตถุประสงค์

– พัฒนาระบบเพื่อติดตามและประเมินปริมาณผลผลิตของพืชเศรษฐกิจ (ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย และ ยางพารา เป็นต้น) ในประเทศกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ 

– สร้าง platform สำหรับใช้พัฒนาศักยภาพบุคลากรและถ่ายทอดองค์ความรู้ของระบบในภูมิภาค 

ระยะเวลา 2 ปี (ปี 2565 พัฒนาระบบฯ และปี 2566 สร้าง platform)

งบประมาณ 479,000 USD (ได้รับเงินสนับสนุนทั้งหมดจากกองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง ของรัฐบาลจีน) 

รายชื่อนักวิจัย 

– Prof. Li Jia, Aerospace Information Research Institute, CAS 

– ดร. ปกรณ์ เพ็ชรประยูร 

– นายภานุ เนื่องจำนงค์ 

– นายกาญจน์ กมลบริสุทธิ์ 

– นางสาวดรุณี พรมโชติ 

– Mr. Keran Wang, ESCAP 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 

– ระบบฯ ของภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพสามารถสนับสนุนการตัดสินใจได้ และช่วยให้การคาดการณ์มีความรวดเร็ว แม่นยำ ทันต่อสถานการณ์ 

– ศักยภาพในการแข่งขันของประชากรในภูมิภาค ด้านการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีมีเพิ่มมากขึ้น 

– สถานะและบทบาทของไทยในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรในเวทีระดับภูมิภาคและนานาชาติมีเพิ่มมากขึ้น 

โดยกิจกรรมในปี 2565 มีการพัฒนาระบบและพัฒนาบุคลากร อาทิ มีนาคม 2565 มีการจัดประชุมแบบออนไลน์เพื่อรับ ฟังข้อมูล ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศภูมิภาคแม่น้ำโขง

  1. โครงงานวิจัยร่วมกันระหว่างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กับ IEECAS ที่ซีอาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้รับผิดชอบ : ศ.ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ และ Prof .Dr. Junji Cao 

ผลงานตีพิมพ์ล่าสุดประจำปี 2565 

– สัมประสิทธิ์การปลดปล่อยของโลหะหนัก สารประกอบอินทรีย์คาร์บอน ธาตุคาร์บอนและสารไอออนที่ละลายในน้ำใน PM2.5 จากการเผาไหม้ชีวมวลทั้งหมด 17 ชนิดสำหรับเป็นข้อมูลในการใช้วิเคราะห์แหล่งกำเนิดของฝุ่น PM2.5 ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Atmospheres Pollution Research เมื่อมกราคม 2565

– ระดับความเข้มข้นและการระบุแหล่งกำเนิดของสารก่อมะเร็งโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในตะกอนทะเลสาบ หนองหานและทะเลสาบสงขลา ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Heliyon เมื่อมิถุนายน 2565 

– การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียมเพื่อประเมินผลกระทบของเงื่อนไขทางอุตุนิยมวิทยาที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง ระดับความเข้มข้นของสารประกอบอินทรีย์คาร์บอนและสารไอออนที่ละลายในน้ำใน PM2.5 ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Atmospheres เมื่อพฤษภาคม 2565

  1. ความร่วมมือระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. กับ ICT (Institute of Computing Technology), CAS

โครงการวิจัยระบบแปลภาษาอัตโนมัติ จีน – ไทย

(1) ระบบแปลภาษาอัตโนมัติ จีน-ไทย พ.ศ. 2564 เรียกใช้งานหน่วยย่อย (module) ภาษาไทยของแพลตฟอร์ม AI for Thai ของเนคเทคและภาษาจีนจากบริการเปิด (open services) หน่วยย่อยเหล่านี้ คือ ระบบสังเคราะห์เสียงพูด รู้จำเสียงพูด และ ระบบรู้จำตัวอักษรจากภาพ

(2) การดำเนินงานปี 2565 

2.1 เพิ่มคุณภาพของข้อมูลโดยใช้หลักการ Knowledge Distillation ซึ่งคือการนำเอาผลการทำนายจากหลาย ๆ โมเดล มาร่วมกันสร้างชุดข้อมูลฝึกสอน 

2.2 สร้างชุดข้อมูลทดสอบใหม่จำนวน 1,000 ประโยคโดยคัดเลือกประโยคที่มีคุณภาพและปรับปรุงโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งภาษาจีนและภาษาไทย (รวม 6 คน) 

(3) ผลการทดสอบแบบอัตโนมัติด้วยด้วยค่า BLEU Score กับระบบแปลแบบ Transformer

(4) ผลการทดสอบระบบกับชุดข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาจีนไทยที่สอบผ่าน HSK5 (เทียบเท่าความรู้ภาษาจีนระดับปริญญาโท) จำนวน 5 คน 

(5) นักวิจัยความร่วมมือภายใต้โครงการภายใต้โครงการครั้งที่ 22 โครงการ “Chinese-Thai Neural Machine Translation” รหัส 22-BC-04

(6) แนวทางพัฒนาในปี 2566

ลำดับแหล่งข้อมูลภาษาต้นทางจำนวนประโยค
1ประโยคจาก HSK 1-6จีน5000
2ประโยคจากบทความด้าน วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ไทยและจีนไทยและจีน5000
3ข่าวด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีไทยและจีน2000
4(Document Level) บทความ เรื่องสั้นจีน4000
5ประโยคในด้านการแพทย์ไทยและจีน4000

(7) การขยายผลงานวิจัยสู่งานด้านอื่นๆ 

7.1 ระบบแปลภาษาไทย-พม่า 

7.2 ระบบสรุปใจความอัตโนมัติ (ThEconSum: An Economics-Domained Dataset for Thai Text Summarization and Baseline Models, iSAI-NLP-AIOT 2022)

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]