ขณะนี้ฮ่องกงกำลังเร่งพัฒนาแนวทางในการเปิดตัวโครงการขนาดใหญ่ชื่อว่า “AI Supercomputing Centre” ให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านปัญญาประดิษฐ์แก่สถาบันวิจัยต่าง ๆ รวมไปถึงหน่วยงานรัฐบาล มหาวิทยาลัย และภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐบาลจะศึกษารายละเอียดทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ และจะวางแผนงบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการในแผนงบประมาณปีหน้า เพื่อต่อยอดสู่เป้าหมายในการเปิดศูนย์ให้แล้วเสร็จตามกำหนด
ข้อมูลโดย ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในฮ่องกง สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง
- ระบอบการปกครอง “เขตบริหารพิเศษ”
ฮ่องกงมีระบอบการปกครองในลักษณะ “เขตบริหารพิเศษ” ตามนโยบายแห่งชาติจีนที่จะปกครองในรูปแบบ 1 ประเทศ 2 ระบบ โดยให้ฮ่องกงสามารถจัดสรรงบประมาณและปกครองตนเองได้อย่างอิสระ ตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อความมั่นคงแห่งชาติจีน รวมทั้งฮ่องกงมีข้อได้เปรียบในด้านความชำนาญในการค้าขายกับต่างประเทศมานาน ทำให้มีนโยบายพื้นฐานเกือบทุกด้านที่เอื้อต่อการลงทุน และมีสาขาของธนาคารต่างชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศแถบเอเชีย
- โครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุมและรวดเร็ว
ฮ่องกงเป็นเมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐานในการทำธุรกิจกับต่างประเทศอย่างครอบคลุมและรวดเร็วทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เนื่องจากมีท่าอากาศยานนานาชาติที่มีมาตรฐานระดับโลก มีท่าเรือขนส่งสินค้าที่มี ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ติดอันดับ Top 10 ของโลกทุกปีและมีจุดเชื่อมต่อในการลำเลียงสินค้าเข้าสู่จีน หลายจุด หลายช่องทาง - ฮ่องกงมีสกุลเงินของตัวเอง
ฮ่องกงมีสกุลเงินของตัวเอง คือ ฮ่องกงดอลลาร์ (HKD) ที่สามารถค้าขายได้อย่างเสรี (freely convertible) และมีเงินทุนสำรองมหาศาล โดยในปี พ.ศ. 2565 ฮ่องกงมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ 8 ของโลก สูงกว่าประเทศซาอุดิอาระเบีย และเกาหลีใต้ ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 15 ของโลก ทำให้ฮ่องกงมี ความน่าเชื่อถือในด้านความมั่นคงของสกุลเงิน ในขณะที่เมืองอื่น ๆ ในประเทศจีนยังคงค้าขายด้วยเงินหยวน ซึ่งไม่ใช่สกุลเงินตราที่แลกเปลี่ยนได้เสรีและรัฐบาลจีนมีความเข้มงวดในการดูแลค่าเงินหยวน รวมถึงการเคลื่อนย้ายเงินทุน เข้าออกประเทศ นักลงทุนจากต่างประเทศจึงเลือกที่จะทำธุรกิจกับประเทศจีนผ่านฮ่องกง - ฮ่องกงใช้หลักกฎหมาย Common Law
ฮ่องกงใช้หลักกฎหมาย Common Law และมีทีมงานมืออาชีพในทุกสาขาอาชีพจำนวนมาก ทำให้สามารถ ต่อยอดธุรกิจไปยังประเทศตะวันตกได้ง่าย จากตัวเลขในปี 2564 พบว่ามีบริษัทต่างชาติจำนวนมากถึง 9,049 บริษัทเลือกมาจัดตั้งสาขาในฮ่องกง และในจำนวนนั้นมีถึง 1,457 บริษัทที่เลือกให้ฮ่องกงเป็นสำนักงานใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย โดย 5 ประเทศแรกที่มีจัดตั้งบริษัทในฮ่องกงมากที่สุด คือ จีน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา - อัตราภาษีอัตราต่ำ
ฮ่องกงมีอัตราภาษีในอัตราต่ำเมื่อเทียบกับประเทศจีน และมีระบบการจัดเก็บที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
- ฮ่องกงไม่มี Capital Gain Tax
- ฮ่องกงไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT/GST
- ฮ่องกงไม่มีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (withholding tax) สำหรับเงินปันผลและดอกเบี้ยที่ได้รับ
- ฮ่องกงไม่มีภาษีมรดก (Estate Duty)
- ฮ่องกงมีความตกลงทวิภาคีในเรื่องการยกเว้นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน (Double Tax Agreements: DTAs) กับประเทศต่าง ๆ มากว่า 40 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย
- สิทธิประโยชน์ในความตกลง CEPA
ธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งในฮ่องกงจะได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองในการลงทุนตามความตกลง Closer Economic Partnership Arrangement (CEPA) ระหว่างฮ่องกงกับรัฐบาลจีนเพื่อส่งเสริมความ ร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน โดยความตกลง CEPA จะเป็นความร่วมมือใน 4 ด้าน ได้แก่
– ความร่วมมือด้านการค้า โดยสินค้าที่ผลิตในฮ่องกงและได้รับใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากหน่วยงานรัฐบาล (certificate of origin: CO) สามารส่งออกไปยังประเทศจีนได้โดยปราศจากภาษีนำเข้า
– ความร่วมมือด้านบริการ บริษัทที่จัดตั้งในฮ่องกงสามารถให้บริการในประเทศจีนได้โดยได้รับการผ่อนปรนในกฎข้อบังคับต่าง ๆ สำหรับหลายบริการ อาทิ บริการด้านกฎหมาย บริการด้านธนาคาร ประกันภัย บริการด้านการออกแบบด้านคำปรึกษาทางวิศวกรรม และอื่น ๆ
– ความร่วมมือด้านการลงทุน บริษัทที่จัดตั้งในฮ่องกงสามารถขอลงทุนในประเทศจีนได้ โดยได้รับความคุ้มครองการลงทุนและมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ จากประเทศจีน อาทิ การลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์การประมงในน่านน้ำจีน และอื่น ๆ
– ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและวิชาการ โดยในปัจจุบันมีความตกลงร่วมกันระหว่างฮ่องกงกับประเทศจีน 22 ด้าน อาทิ การจัดสัมมนา งานแสดงสินค้า และอื่น ๆ