ความร่วมมือไทย-จีน

ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไทย – จีน

ความร่วมมือระดับรัฐบาล

    ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีกรอบความร่วมมือในระดับรัฐบาลทั้งสิ้น 2 กรอบ

    (1) ความร่วมมือภายใต้คณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ (คกร.) ไทย – จีน (Sino – Thai joint Committee of the Science and Technical Cooperation)

    ประเทศไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศมีข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ และวิชาการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงนามเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2521 ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่ระบุวันหมดอายุจนกว่าจะมีการยกเลิก ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้ คกร. ไทย-จีน โดยมีการสร้างความร่วมมือใน 3 รูปแบบ คือ การศึกษาดูงาน ความร่วมมือทวิภาคี และไตรภาคี

    ผลการประชุม คกร. ไทย-จีน สมัยที่ 22 เมื่อเดือนธันวาคม 2561 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ โครงการในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จำนวน 6 โครงการ ได้แก่ ข้อเสนอโครงการศึกษาดูงานของ วศ. จำนวน 1 โครงการ และข้อเสนอโครงการความร่วมมือทวิภาคีของ ศน.สวทช. สสนก. และ วศ. หน่วยงานละ 1 โครงการ และของ ศอ.สวทช. จำนวน 22 โครงการ รวมทั้งฝ่ายจีนขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาข้อเสนอของ สดร. เพิ่มเติมอีก 1 โครงการด้วย

    (2) ความร่วมมือภายใต้คณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทาง เศรษฐกิจระหว่าง ไทย – จีน (JC เศรษฐกิจ ไทย – จีน)

    ประเทศไทยโดยกระทรวงพาณิชย์มีความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศจีน ซึ่งมีการจัดประชุม JC เศรษฐกิจ ไทย – จีน ทุก 2 ปี โดยมีประเด็นความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นสาขาหนึ่งของความร่วมมือด้วย

    ผลการประชุม JC เศรษฐกิจ ไทย – จีน ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในการสร้างความร่วมมือด้าน Quantum Computing การเกษตรแม่นยำและเกษตรสมัยใหม่ การจัดตั้ง Biopharma and Nanomedicine Innovation Hub รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนใน EECi และ Food Innopolis นอกจากนี้ยังมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่าง สทอภ. กับสถาบันอวกาศแห่งชาติของจีนเพื่อสร้างความร่วมมือด้านการผลิตและการวิจัยเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศด้วย

    ความร่วมมือระดับกระทรวง

      กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เดิม) มีการจัดทำข้อตกลงและบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กับสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 6 ฉบับ คือ

      ข้อตกลง/บันทึกความเข้าใจวันลงนามวันหมดอายุ
       1. ข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือใน 4 โครงการระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน11 ต.ค. 5610 ต.ค. 61
       2. บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี29 ก.ค. 48ไม่มี จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งยกเลิก
       3. บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน16 พ.ค. 49ไม่มี จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งยกเลิก
       4. บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ EECi และ Silk Road Economic Belt)9 ธ.ค. 598 ธ.ค. 64
       5. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาชนจีน5 พ.ย. 624 พ.ย. 67
      6. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน19 พ.ย. 65

      (1) สถานภาพความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ไทย – จีน

      ความร่วมมือภายใต้กรอบ STEP Program ตามข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มี 6 สาขา ดังนี้

      สาขาความร่วมมือหน่วยงานไทยหน่วยงานจีน
      1. ความร่วมมือด้านการจัดตั้งศูนย์วิจัยร่วมไทย – จีน ด้านระบบราง (Thailand – China Joint Research Center on Railway System)– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
      – สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
      CRRC Qingdao Sifang Co., Ltd.
      2. ความร่วมมือด้านการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology Application)สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (GISTDA, องค์การมหาชน)– National Remote Sensing Center of China (NRSCC)
      – China Center for Resources Satellite Data and Application (CRESDA)
      3. ความร่วมมือด้านการจัดตั้งห้องปฏิบัติการด้าน เทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์– สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
      – สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ไทย (วว.)
      Institute of Microbiology, CAS (IMCAS)
      4. ความร่วมมือด้านการวิจัย นโยบาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (STI Policy Cooperation)สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)Beijing Great Wall Enterprise Institute (GEI)
      5. การแลกเปลี่ยนบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)China Science and Technology Exchange Center
      6. โครงการศูนย์ถ่ายทอด เทคโนโลยีไทย-จีน (Thai-China Technology Transfer Center หรือ TCTTC)สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)China-ASEAN Technology Transfer Center (CATTC)

      บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ระหว่าง
      กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และ
      สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

      เนื้อหาที่ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุน อำนวยความสะดวก และส่งเสริมความร่วมมือที่สอดรับกับความสนใจของทั้งสองฝ่ายในสาขาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในสาขา 
      การเกษตรและอาหาร
      เทคโนโลยีการเกษตร
      วิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์
      ดิจิตอลและอิเล็กทรอนิกส์
      เทคโนโลยีสารสนเทศ
      วิทยาการหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
      ชีวเคมี
      ความหลากหลายทางชีวภาพ
      เทคโนโลยีชีวภาพ
      เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์
      สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
      วัสดุศาสตร์
      นาโนเทคโนโลยี
      พลังงาน
      เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม
      นิวเคลียร์และรังสี
      เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน
      เทคโนโลยีเซนเซอร์
      เทคโนโลยีอวกาศ
      การบริหารจัดการลุ่มน้ำและทรัพยากรน้ำ
      การประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่จากการสำรวจด้วยดาวเทียมและข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจโลกเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเกษตรยั่งยืนที่ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 
      สื่อสารและการเผยแพร่ทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ การตระหนักรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์         

      ในรูปแบบของ
      การส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัย ภาคเอกชน องค์กรภาครัฐ และสถาบันอุดมศึกษา
      การแลกเปลี่ยนทุนการศึกษาสำหรับผู้เชี่ยวชาญอาวุโส นักวิจัยและนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ตลอดจนทุนวิจัยหลังปริญญาเอกในสาขาความร่วมมือที่เห็นชอบร่วมกัน
      การแลกเปลี่ยนทุนการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านเทคนิคและนักศึกษาเพื่อเข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมทั้งในไทยและจีนในสาขา ที่เห็นชอบร่วมกัน โดยเฉพาะในสาขา
      ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่จากการสำรวจด้วยดาวเทียม และข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจโลก เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
      การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูงในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
      การแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสารสนเทศ
      การแลกเปลี่ยนการเยือนของนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และกลุ่มนักศึกษา
      การแลกเปลี่ยนการจัดนิทรรศการเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
      ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนตัวอย่างและการชิ้นงานในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
      ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนมาตรฐานโรงงานนิวเคลียร์และรังสี
      การพัฒนาวิชาชีพสำหรับบุคลากรของศูนย์/พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
      การร่วมส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในไทยและจีน 
      การดำเนินโครงการวิจัยร่วม 
      รูปแบบความร่วมมืออื่นๆ ที่เห็นชอบร่วมกัน

      ข่าวสารนิเทศ
      ภาษาไทย

      กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

      • จีนพร้อมผนึกความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการสำรวจดวงจันทร์กับไทย

      https://www.mhesi.go.th/index.php/pr-executive-news/8583-2023-02-13-04-12-41.html

      • ไทยและจีนเร่งผลักดันความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

      https://www.mhesi.go.th/index.php/pr-executive-news/8585-2023-02-13-07-34-59.html

      • ไทย-จีน ยกระดับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: มุ่งเป้าการพัฒนาสู่อาเซียน

      https://www.mhesi.go.th/index.php/pr-executive-news/8587-2023-02-13-07-53-07.html

      • ไทย-จีนจับมือผลักดันการดำเนินการเชิงรุกด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ผ่านแนวคิดการจัดตั้งศูนย์วิจัยจีนในไทย

      https://www.mhesi.go.th/index.php/pr-executive-news/8588-2023-02-13-08-08-01.html

      • อว. ผนึกกำลัง สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน: สานพลังกระชับความร่วมมือด้าน อววน.

      https://www.mhesi.go.th/index.php/pr-executive-news/8589-2023-02-13-09-15-31.html

      • จีนพร้อมผลักดันความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบรางไทย

      https://www.mhesi.go.th/index.php/pr-executive-news/8590-2023-02-13-09-26-47.html

      • อว.เจรจาผลักดันความร่วมมือกับห้ากระทรวง/หน่วยงานของจีน

      https://www.mhesi.go.th/index.php/all-media/infographic/8643-660215general.html

      สำนักข่าวต่าง ๆ

      • สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน (CMG)

      รัฐมนตรี อว. นำคณะเยือนจีน เปิดมิติใหม่ความร่วมมือ วทน. ไทย-จีน

      https://thai.cri.cn/2023/02/17/ARTIzO4z6wZ0lRQhaJ4fcbuU230217.shtml

      • จีนไทยนิวส์ (Jeen-Thai News)

      รัฐมนตรี อว. นำคณะเยือนจีน เปิดมิติใหม่ความร่วมมือ วทน. ไทย-จีน

      อัพเดทล่าสุด

      Facebook

      ติดตามเราบน Facebook

      Youtube

      ติดตามเราบน Youtube

      ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
      เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

      © 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]