ข้อมูลหน่วยงานในกรุงปักกิ่ง

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

Ministry of Science and Technology 

of the People’s Republic of China (MOST)

中华人民共和国科学技术部

1. โครงสร้างผู้บริหาร

หวัง จี้อกัง (王志刚)
– รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จาง หยวี่ตง (张雨东)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หลี่ เหมิง (李萌)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– ผู้อำนวยการสำนักการบริหารงานผู้เชี่ยวชาญการต่างประเทศแห่งรัฐ
อู๋ จาวฮุย (吴朝晖)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จาง กว่างจวิน (张广军)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เซียง ลี่บิ่น (相里斌)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เกา ปัว (高波)- หัวหน้าคณะกรรมการกลางการตรวจสอบและกำกับดูแลวินัยแห่งชาติประจำกระทรวงฯ
โต่ว เซียนคัง (窦贤康)
– เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมูลนิธิวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ
จาง ปี้หย่ง (张碧涌)
– หัวหน้าสำนักข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หลิน ซิน (林新)
– หัวหน้าเลขาธิการ
เฮ่อ เต๋อฟาง (贺德方)
– รองหัวหน้าเลขานุการ

2. โครงสร้างองค์กร

หน่วยงานภายใน

  1. สำนักงานกลาง (General Office)
  2. กรมการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Department of Strategic Planning)
  3. กรมนโยบาย ระบบระเบียบ และนวัตกรรม (Department of Policy, Regulation and Innovation System)
  4. กรมการจัดสรรและจัดการทรัพยากร (Department of Resource Allocation and Management)
  5. กรมการกำกับดูแลและจริยธรรมทางวิทยาศาสตร์ (Department of Supervision and Scientific Integrity)
  6. กรมการดูแลโครงการสำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Department of Major Science and Technology Project)
  7. กรมการวิจัยพื้นฐาน (Department of Basic Research)
  8. กรมการเทคโนโลยีใหม่ระดับสูง (Department of High and New Technology )
  9. กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชนบท (Department of Science and Technology for Rural Development )
  10. กรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสังคม (Department of Science and Technology for Social Development)
  11. กรมการใช้ผลงานวิจัยเชิงพาณิชย์และนวัตกรรมภูมิภาค (Department of Research Commercialization and Regional Innovation)
  12. กรมบริการผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ (Department of Foreign Expert Services)
  13. กรมการจัดการทรัพยากรอัจฉริยะจากต่างประเทศ (Department of Overseas Intellectual Resources Cooperation)
  14. กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ( สำนักงานฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน) (Department of International Cooperation (Office of Hong Kong, Macao and Taiwan Affairs)
  15. กรมการบุคลากร (Department of Personnel)
  16. คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำกระทรวงฯ (CPC Committee of MOST)
  17. สำนักงานบุคลากรผู้เกษียณอายุ (Bureau of Retired Staff)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Affiliated Agencies)

  1. ศูนย์บริการของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Center of Logistics, MOST)
  2. สำนักงานรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Office for National Science and Technology Awards)
  3. สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (Institute of Scientific and Technical Information of China)
  4. สถาบันยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Science and Technology for Development)
  5. ศูนย์การแลกเปลี่ยนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน – ศูนย์แลกเปลี่ยนข้ามช่องแคบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / ศูนย์ความร่วมมือทางเทคนิคระหว่างจีนและญี่ปุ่น (China Science and Technology Exchange Center – Cross-Straits Science and Technology Exchange Center Sino-Japanese Technology Cooperation Center)
  6. ศูนย์การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชนบท (China Rural Technology Development Center)
  7. ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมทอร์ชไฮเทค – ศูนย์ส่งเสริมการจัดการตลาดเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน/ศูนย์บริหารจัดการกองทุนนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Torch High Technology Industry Development Center, MOST – China Technology Market Management and Promotion Center, Management Center for Innofund, MOST)
  8. ศูนย์การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศจีน (China National Center for Biotechnology Development)
  9. ศูนย์บริหารการจัดการวาระการประชุมแห่งศตวรรษ 21 (Administrative Center for China’s Agenda 21)
  10. ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงกระทรวงวิทยาศาสตร์ – ศูนย์บริหารงานวิจัยพื้นฐาน (High Tech Research and Development Center, MOST – Administrative Center for Basic Research, MOST)
  11. ศูนย์สารสนเทศ (Information Center, MOST)
  12. ศูนย์การใช้ข้อมูลดาวเทียม (National Center for Remote Sensing)
  13. ศูนย์ประเมินเทคโนโลยีกระทรวงวิทยาศาสตร์ (National Center for Science and Technology Evaluation, MOST)
  14. ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านโครงสร้างพื้นฐานแห่งชาติ (National Science and Technology Infrastructure Center)
  15. ศูนย์บริการดูแลค่าใช้จ่ายของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Supervision Service Center for Science and Technology Funds, MOST)
  16. ศูนย์ปฏิบัติการพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชั่นระหว่างประเทศแห่งชาติ (China International Nuclear Fusion Energy Program Execution Center – ITER China)
  17. ศูนย์พัฒนากองทุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Venture Capital Development Center)
  18. ศูนย์บริการการแลกเปลี่ยนและพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Center for Science and Technology Personnel Exchange and Development Service, MOST)
  19. ศูนย์ฝึกอบรมเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Training Center, MOST)
  20. สมาคมแลกเปลี่ยนบุคลากรนานาชาติแห่งชาติ (China Association for International Exchange of Personnel)
  21. มูลินิธิแลกเปลี่ยนบุคลากรผู้มีความสามารถแห่งชาติ (China International Talent Exchange Foundation)
  22. ศูนย์การวิจัยทางผู้มีความสามารถนานาชาติ (Foreign Talent Research Center, MOST)

หน่วยงานตัวแทนด้านการจัดการ

  1. มูลนิธิวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ (National Natural Science Foundation of China)
  2. สำนักข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Daily)

สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
Chinese Academy of Sciences (CAS)
中国科学院

1. โครงสร้างผู้บริหาร

โหว เจี้ยนกั๋ว (侯建国)
– ประธานสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
หยิน เหอจุน (阴和俊)
– รองประธานสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
จาง ย่าผิง (张亚平)
– รองประธานสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
จาง เทา (张涛)
– รองประธานสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
ซุน เหย่กัง (孙也刚)
– หัวหน้าคณะกรรมการกลางการตรวจสอบและกำกับดูแลวินัยแห่งชาติประจำสถาบันฯ
หลี่ ซู่เซิน (李树深)
– รองประธานสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
เกา หงจวิน (高鸿钧)
– รองประธานสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
โจว ฉี (周琪)
– รองประธานสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
วั่ง เค่อเฉียง (汪克强)
– หัวหน้าเลขานุการ
หลี่ เหอเฟิง (李和风)
– รองหัวหน้าเลขานุการ
เหยียน ฉิ่ง (严庆)
– รองหัวหน้าเลขานุการ

2. โครงสร้างองค์กรของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์

หน่วยงานภายใน

  1. สำนักงานกลาง (General Office)
  2. สำนักงานบริหารสถาบันวิจัย (Bureau of Academic Divisions)
  3. สำนักงานวิทยาศาสตร์แนวหน้าและการศึกษา (Bureau of Frontier Sciences and Education)
  4. สำนักงานโครงการวิจัยและพัฒนาสำคัญ (Bureau of Major R&D Programs)
  5. สำนักงานการส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Bureau of S&T for Development)
  6. สำนักงานการพัฒนาการวางแผน (Bureau of Development and Planning)
  7. สำนักงานประกันและการคลัง (Bureau of Facility Support and Budget)
  8. สำนักงานบุคลากร (Bureau of Personnel)
  9. สำนักงานกิจการคณะกรรมการพรรคฯ (Department for Party-related Affairs)
  10. สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ (Bureau of International Cooperation)
  11. สำนักงานการประชาสัมพันธ์วิทยาศาสตร์ (Bureau of Science Communication)
  12. สำนักงานกำกับดูแลและตรวจสอบบัญชี (Bureau of Supervision and Auditing)
  13. สำนักงานบุคลากรผู้เกษียณอายุ (Bureau of Veteran Cadres)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1. สถาบันวิจัยคณิตศาสตร์และระบบวิทยาศาสตร์ (Academy of Mathematics and Systems Science)
  2. สถาบันวิจัยฟิสิกส์ (Institute of Physics) 
  3. สถาบันวิจัยฟิสิกส์เชิงทฤษฎี (Institute of Theoretical Physics)
  4. สถาบันวิจัยฟิสิกส์พลังงานสูง (Institute of High Energy Physics)
  5. สถาบันวิจัยกลศาสตร์ (Institute of Mechanics)
  6. สถาบันวิจัยเสียง (Institute of Acoustics)
  7. สถาบันวิจัยเทคโนโลยีฟิสิกส์และเคมี (Technical Institute of Physical and Chemical)
  8. สถาบันวิจัยสารเคมี (Institute of Chemistry)
  9. ศูนย์วิทยาศาสตร์นาโนแห่งชาติ (National Center for Nanoscience and Technology)
  10. ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม (Research Center for Eco-environmental Sciences)
  11. สถาบันวิจัยกระบวนการวิศวกรรม (Institute of Process Engineering)
  12. สถาบันวิจัยภูมิศาสตร์และทรัพยากร (Institute of Geographic Sciences and Natural Resources Research)
  13. หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติ (National Astronomical Observatories)
  14. หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ยูนนาน (Yunnan Observatories)
  15. หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ซินเจียง (Xinjiang Astronomical Observatory)
  16. ศูนย์สังเกตการณ์ดาราศาสตร์มฉางชุน (Changchun Observatory, National Astronomical Observatory) 
  17. สถาบันวิจัยเทคโนโลยีทางดาราและทัศนศาสตร์นานกิง (Nanjing Institute of Astronomical Optics and Technology)
  18. สถาบันวิจัยการรับรู้จากระยะไกลและดิจิตอลโลก (Institute of Remote Sensing and Digital Earth)
  19. สถาบันวิจัยธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ (Institute of Geology and Geophysics)
  20. ศูนย์วิจัยทรัพยากรน้ำมันและก๊าซหลานโจว (Lanzhou Center for Oil and Gas Resources, Institute of Geology and Geophysics)
  21. สถาบันวิจัยที่ราบสูงชิงไห่ทิเบต (Institute of Qinghai-Tibet Plateau Research)
  22. สถาบันวิจัยสัตว์มีกระดูกสันหลังโบราณและมนุษย์โบราณ (Institute of Vertebrate Paleontology and Paleoanthropology)
  23. สถาบันวิจัยฟิสิกส์บรรยากาศ (Institute of Atmospheric Physics)
  24. สถาบันวิจัยพืช (Institute of Botany)
  25. สถาบันวิจัยสัตว์ (Institute of Zoology)
  26. สถาบันวิจัยจิตวิทยา (Institute of Psychology)
  27. สถาบันวิจัยจุลชีววิทยา (Institute of Microbiology)
  28. สถาบันวิจัยฟิสิกส์ชีวภาพ (Institute of Biophysics)
  29. สถาบันวิจัยพันธุศาสตร์และชีววิทยาพัฒนาการ (Institute of Genetics and Developmental Biology)
  30. ศูนย์วิจัยทรัพยากรการเกษตร (Center for Agricultural Resources Research)
  31. สถาบันวิจัยจีโนมปักกิ่ง (Beijing Institute of Genomics)
  32. สถาบันวิจัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Institute of Computing Technology)
  33. สถาบันวิจัยซอฟต์แวร์ (Institute of Software)
  34. สถาบันวิจัยสารกึ่งตัวนำ (Institute of Semiconductor)
  35. สถาบันวิจัยไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Microelectronics)  
  36. สถาบันวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electronics)
  37. สถาบันวิจัยระบบอัตโนมัติ (Institute of Automation)
  38. สถาบันวิจัยไฟฟ้า (Institute of Electrical Engineering)
  39. สถาบันวิจัยวิศวกรรมฟิสิกส์ความร้อน (Institute of Engineering Thermophysics)
  40. ศูนย์วิทยาศาสตร์อวกาศแห่งชาติ (National Space Science Center)
  41. สถาบันวิจัยกระแสไฟฟ้า (Academy of Photo-electricities)
  42. สถาบันวิจัยประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Institute of the History of Natural Sciences)
  43. สถาบันวิจัยที่ปรึกษายุทธศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Institute of Science and Development)
  44. สถาบันวิจัยวิศวกรรมสารสนเทศ (Institute of Information Engineering)
  45. ศูนย์การความปลอดภัยข้อมูลและการสื่อสาร (Data Assurance and Communications Security)
  46. ศูนย์วิศวกรรมและเทคโนโลยีอวกาศ (Technology and Engineering Center for Space Utilization)
  47. ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมที่ทันสมัยปักกิ่ง (Beijing Advanced Sciences and Innovation Center)
  48. สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมเทียนจิน (Tianjin Institute of Industrial Biotechnology)
  49. สถาบันวิจัยเคมีถ่านหินซานซี (Shanxi Institute of Coal Chemistry)

มหาวิทยาลัยและหน่วยงานการศึกาษาที่เกี่ยวข้อง

  1. มหาวิทยาลัยสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ (University of Chinese Academy of Sciences)
  2. มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (University of Science and Technology of China)
  3. ศูนย์เครือข่ายคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (Computer Network Information Center)
  4. ห้องสมุดวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Library)
  5. ศูนย์สารสนเทศหลานโจว (Lanzhou Information Center)
  6. ห้องสมุดสารสนเทศเฉิงตู (Chengdu Library and Information Center)
  7. ห้องสมุดวิทยาศาสตร์หวู่ฮั่น (Wuhan Science Library)

3. ภารกิจของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์

สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์เป็นหน่วยงานหลักของจีนที่ดำเนินการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูง มีบทบาทสำคัญในการให้การปรึกษาทางนโยบาย (Think Tank)     ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่สภาประชาชนจีน เพื่อใช้ใน    การกำหนดนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ส่งต่อไปยังสภา แห่งรัฐ (State Council) เพื่อสั่งการไปยังกระทรวงต่าง ๆ

สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์แห่งชาติ   2 ก้าวของการครบรอบ 100 ปี โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
ก้าวแรก (ระยะที่ 1) คือ ปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จะต้องทำภารกิจให้สำเร็จอย่างสมบูรณ์ที่มีคุณภาพดีเยี่ยมหลากหลายตามแผนงาน “Innovation 2020” โดยจะต้องบรรลุเป้าหมายเบื้องต้นของการเป็นผู้ริเริ่มปฏิบัติใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ผู้นำด้านวิธีการเปลี่ยนแปลงแนวทางพัฒนา 2) ผู้นำด้านการยกระดับขีดความสามารถนวัตกรรมใหม่ด้วยตนเอง 3) ผู้นำที่เปิดกว้างเพื่อการปฏิรูปที่ก้าวหน้าและล้ำหน้า 4) ผู้นำการสร้างสังคมสันติสุขตามแนวทางสังคมนิยม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ผลักดันนวัตกรรมใหม่ และการสร้างประเทศนวัตกรรมใหม่ (Innovation-driven Nation) โดยอาศัยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ก้าวที่สอง (ระยะที่ 2) คือ ปี 2573 เมื่อครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และการก่อตั้งสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน 100 ปี ต้องบรรลุเป้าหมาย“ผู้ริเริ่มปฏิบัติ” ทั้ง 4 ด้านอย่างครบถ้วน เป็นการวางรากฐานที่มั่นคงในการสร้างชาติจีนให้เป็นมหาอำนาจทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก ซึ่งพื้นฐานที่ดีดังกล่าวจะทำให้ความฝันชาติจีนของชนชาติจีนฟื้นฟูสู่ความยิ่งใหญ่เกิดเป็นเรื่องจริง

สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์
Chinese Academy of Social Sciences (CASS)
中国社会科学院

1. โครงสร้างผู้บริหาร

เกา เสียง (高翔)
– ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์
เจิน จ้านหมิน (甄占民)
– รองผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์
หาง หยวนเซียง (杭元祥)
– หัวหน้าคณะกรรมการกลางการตรวจสอบและกำกับดูแลวินัยแห่งชาติประจำสถาบันฯ
เกา เผยหย่ง (高培勇)
– รองผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์
จ้าว ฉี (赵奇)
– หัวหน้าเลขานุการ

2. โครงสร้างองค์กรของสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์

หน่วยงานภายใน

  1. สำนักงานกลาง (General Office)
  2. สำนักงานบริหารการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (Bureau of Scientific Research Management)
  3. สำนักงานบุคลากรและการศึกษา (Bureau of Personnel and Education)
  4. สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ (Bureau of International Cooperation)
  5. สำนักงานการคลังการก่อสร้างและการวางแผน (Bureau of Finance, Capital Construction and Planning)
  6. สำนักงานบุคลากรผู้เกษียณอายุ (Bureau of Work for Veteran Cadres)
  7. สำนักงานตรวจสอบและกำกับดูแล (Supervisory Bureau)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1. มหาวิทยาลัยบัณฑิตสังคมศาสตร์ (University of China Academy of Social Science)
  2. ห้องสมุดทางสังคมศาสตร์ (Chinese Academy of Social Science library)
  3. สำนักพิมพ์เอกสารทางสังคมศาสตร์ (Social Sciences Academic Press)
  4. ศูนย์บริการ (Center for Services)
  5. ศูนย์วิจัยนโยบายด้านวัฒนธรรม (Research Center for Cultural Policy)

วิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง

  1. สำนักพิมพ์สังคมศาสตร์ในจีน (Social Science in China Press)
  2. สำนักพิมพ์สังคมศาสตร์จีน (Chinese Social Sciences Press)
  3. บริษัทพัฒนามนุษยศาสตร์จีน (Chinese Corporation for Promotion of Humanities)

หน่วยงานตัวแทน

  1. สำนักงานตำนาน – พงศาวดารท้องถิ่นจีน (Office of Guiding Group for China’s Local Chronicles Compilation (State Local Chronicles Museum, Local Chronicles Publishing House)

คณะปรัชญาและวรรณกรรม

  1. สถาบันวิจัยวรรณกรรม (Institute of Literature)
  2. สถาบันวิจัยวรรณกรรมชาติพันธุ์ (Institute of Ethnic Literature)
  3. สถาบันวิจัยวรรณกรรมต่างประเทศ (Institute of Foreign Literature)
  4. สถาบันวิจัยภาษาศาสตร์ (Institute of Linguistics)
  5. สถาบันวิจัยปรัชญา (Institute of Philosophy)
  6. สถาบันวิจัยศาสนาโลก (Institute of World Religions)

คณะประวัติศาสตร์

  1. สถาบันวิจัยประวัติศาสตร์ (Institute of History)
  2. สถาบันวิจัยโบราณคดี (Institute of Archaeology CASS)
  3. สถาบันวิจัยประวัติศาสตร์โบราณ (Institute of Ancient History)
  4. สถาบันวิจัยประวัติศาสตร์ยุคสงครามฝิ่น (Institute of Modern History)
  5. สถาบันวิจัยประวัติศาสตร์โลก (World history Research)
  6. ศูนย์วิจัยประวัติศาสตร์ชายแดนจีนและภูมิศาสตร์ (Research Center for Chinese Borderland History and Geography)
  7. สถาบันวิจัยทฤษฎีประวัติศาสตร์ (Institute of History Theory)
  8. สถาบันไต้หวันศึกษา (Institute of Taiwan Studies)

คณะเศรษฐศาสตร์

  1. สถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์ (Institute of Economics)
  2. สถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม (Institute of Industrial Economics)
  3. สถาบันวิจัยการพัฒนาชนบท (Rural Development Institute)
  4. สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์เศรษฐศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Economic Strategy)
  5. สถาบันวิจัยการเงินและการธนาคาร (Institute of Finance and Banking)
  6. สถาบันเศรษฐศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงปริมาณ (Institute of Quantitative & Technical Economics)
  7. สถาบันวิจัยประชากรและเศรษฐกิจแรงงาน (Institute of Population and Labor Economics)
  8. สถาบันวิจัยอารยธรรมนิเวศวิทยา (Research Institute for Eco-civilization)

คณะสังคม รัฐศาสตร์และกฎหมาย

  1. สถาบันวิจัยนิติศาสตร์ (Institute of Law)
  2. สถาบันวิจัยกฎหมายระหว่างประเทศ (Institute of International Law)
  3. สถาบันวิจัยรัฐศาสตร์ (Institute of Political Science)
  4. สถาบันวิจัยชาติพันธุ์วิทยาและมานุษยวิทยา (Institute of Ethnology and Anthropology)
  5. สถาบันวิจัยสังคมวิทยา (Institute of Sociology)
  6. สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมแห่งชาติ (National Academy of Social Development Strategy)
  7. สถาบันวิจัยวารสารศาสตร์และการสื่อสาร (Institute of Journalism and Communication Studies)

คณะวิจัยนานาชาติ

  1. สถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์และการเมืองของโลก (Institute of World Economy and Politics)
  2. สถาบันวิจัยรัสเซีย ยุโรปตะวันออก และเอเชียกลางศึกษา (Institute of Russian, Eastern European & Central Asian Studies)
  3. สถาบันวิจัยยุโรปศึกษา (Institute of European Studies)
  4. สถาบันวิจัยตะวันตกเอเชียและแอฟริกาศึกษา (Institute of West-Asian and African Studies)
  5. สถาบันวิจัยละตินอเมริกาศึกษา Institute of Latin American Studies)
  6. สถาบันวิจัยกลยุทธ์ระหว่างประเทศแห่งชาติ (National Institute of International Strategy)
  7. สถาบันวิจัยอเมริกาศึกษา (Institute of American Studies)
  8. สถาบันวิจัยญี่ปุ่นศึกษา (Institute of Japanese Studies)
  9. สถาบันวิจัยการพัฒนาสันติภาพ (Institute of Peaceful Development Studies)

คณะวิจัยลัทธิมาร์กซ

  1. สถาบันวิจัยมาร์กซ (Academy of Marxism)
  2. สถาบันวิจัยจีนร่วมสมัย (Institute of Contemporary China Studies)
  3. สถาบันวิจัยสารสนเทศ (Institute of Information Studies
  4. สถาบันวิจัยการประเมินสังคมศาสตร์แห่งชาติ (National Institute of Assessment in Social Science)
  1. ภารกิจของสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์

แผนพัฒนาสังคมศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนดำเนินสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์นอกจากจะจัดตั้งกลุ่มดำเนินงานวิจัยสำคัญเกี่ยวกับปรัชญาและสังคมศาสตร์แห่งชาติ ยังกำหนดโครงการวิจัยของสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์และหน่วยงานวิจัยในสังกัด ตามความต้องการการสร้างความเจริญทางวัตถุแบบสังคมนิยม การเสริมสร้างจิตสำนึกของอารยชน การสร้างนิติบัญญัติแบบประชาธิปไตย รวมถึงโครงการวิจัยตามความต้องการและทิศทางการพัฒนาในแต่ละสาขา สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์ยังมีภารกิจในการสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ระดับชาติ ทำการวิจัยด้านทฤษฎีสำคัญหรือปัญหาที่เกิดขึ้นในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ การดำเนินโครงการวิจัยหลักทั่วไปจะดำเนินการเป็นทีมวิจัยตามหัวข้อปัญหา คณะทำงานวิจัยจะใช้ความรู้ความชำนาญที่ถนัดเลือกหัวข้อปัญหานั้นไปดำเนินการวิจัย หัวข้อวิจัยส่วนมากจะมีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาเข้าร่วมวิจัยในเชิงบูรณาการ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของการทำวิจัย หรือบางครั้งอาจมีนักวิจัยบางกลุ่มเลือกทำงานวิจัยเดี่ยวตามความสนใจและความเชี่ยวชาญ

องค์การอวกาศแห่งชาติจีน

China National Space Administration (CNSA)

国家航天局

  1. โครงสร้างผู้บริหาร
จาง เคอเจี้ยน (张克俭)
– ผู้อำนวยการองค์การอวกาศแห่งชาติจีน
อู๋ เยี่ยนหวา (吴艳华)
– รองผู้อำนวยการองค์การอวกาศแห่งชาติจีน
ฉวี หงเลี่ยง (许洪亮)
– หัวหน้าเลขานุการองค์การอวกาศแห่งชาติจีน
  1. โครงสร้างองค์กรขององค์การอวกาศแห่งชาติจีน

หน่วยงานภายใน

  1. สำนักงานกลาง (Department of General Administration)
  2. สำนักงานการพัฒนาและวางแผน (Department of Development and Planning)
  3. สำนักงานวิศวกรรมระบบ (Department of System Engineering)
  4. สำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการควบคุมคุณภาพ (Department of Science, Technology and Quality Control)
  5. สำนักงานกิจการต่างประเทศ (Department of Foreign Affairs)
  6. สำนักงานประสานงาน (Department of Coordination)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1. ศูนย์การสำรวจดวงจันทร์และวิศวกรรมอวกาศ (Lunar Exploration and Space Program Center)
  2. ศูนย์ข้อมูลและหอสังเกตการณ์โลก (Earth Observation System and Data Center)
  3. ศูนย์สาธิตการรับรู้ระยะไกลในอวกาศ (Space Remote Sensing Demonstration Center)
  4. ศูนย์ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร (News promotion center)
  5. ศูนย์ตรวจสอบและการประยุกต์ใช้เศษซากอวกาศ (Space Debris Monitoring and Application Center)
  6. ศูนย์ทดสอบการประกอบดาวเทียม (Satellite Assembly Integration Testing Center)
  7. ศูนย์กฎหมายอวกาศ (Space law center)
  8. สมาคมอวกาศจีน (Chinese Society of Astronautics)
  9. สมาคมการประยุกต์ใช้การรับรู้ระยะไกลจีน (China Association of Remote Sensing Application)
  10. สมาคมกฎหมายอวกาศจีน (China Institute of Space Law)
  11. มูลนิธิอวกาศจีน (China Space Foundation)

สถาบันวิทยาศาสตร์การรถไฟแห่งชาติจีน
China Academy of Railway Sciences Corporation Limited (CASR)
中国铁道科学研究院集团有限公司

Founded on March 1, 1950, CARS is the only comprehensive research institute with multi-disciplines and multi-specialties in China Railway industry. In 2002, it was transformed from a state-owned institute to an enterprise under the direct control of MOR. Grounded in the main field of railway modernization for the 60 years since its founding, it has tackled considerable important and critical technological problems and has made a great deal of experimental studies focusing on railway construction and transportation. Therefore, it has gained more than 2300 scientific research achievements and 825 prizes for significant fruits of scientific research. Among them, 176 prizes are of state level, and 649 of provincial and ministerial level. It thus has played an important role as the main force in railway sciences and made great contributions to the technological progress of China Railways.

With 60 years of hard work to start a new undertaking, and after 60 years of striving for success, CARS has, along the flourish of China Railways, possessed the technological innovative ability and core competitiveness in railway transportation, and developed into an industrial group engaging in high and new technologies of rail transport with integration of scientific research, development, production and consultation. It has 2468 staff and workers, among whom 606 are senior research fellows, and 701 intermediate researchers. For the past six decades, it has produced 5 academicians, 14 experts of state level, 42 experts of MOR level, 206 researchers enjoying the special allowance of state council, and 4 candidates of “Hundred, Thousand and Ten Thousand Talent Project for the New Century”. As one of the initially approved units granting master’s and doctor’s degree, it now has developed into a first-level discipline doctorate degree granting institution for Traffic Engineering and Geotechnical Engineering, 2 mobile postdoctoral centers, 6 doctoral degree programs, and 15 master’s degree programs. Meanwhile, it has built the national railway test center, and has been equipped with over 40 laboratories of all specialties, and 6991 test equipment. Furthermore, it has applied and established in recent years 6 state-level innovation platforms, including National Research Center of System Engineering of Railway Intelligent Transport, State Key Laboratory for Track Technology of High-Speed Railway, National Engineering Laboratories for System Test of High-Speed Railway, Equipment Testing Line of Urban Rail Transit, State Key Laboratory for Traction and Control System of Locomotive and EMU, Service Platform for Technological Innovation of High-Speed Train. High-tech Enterprise Certificate, ISO9001:2008 Quality Management System Certificate, OHSAS18001:2007 Occupational Health and Safety Management System Certificate, ISO14001:2004 Environment Standard Management System Certificate. In 2011, CARS became an official member of UIC.

Currently, by upholding the policy of “industrial service as the foundation for develop, and commercialization of research achievements as the strategy for Prosperity” in the new age, CARS is carrying forward “CARS working style” as “being innovative, hardworking, rigorous and harmonious”, and making every effort to build the academy into a first-class research institute and to contribute more to the modernization of China Railways by focusing on research and development, and motivating both experimental tests and commercialization with innovative and enterprising spirits.

ข่าวสารนิเทศ
ภาษาไทย
ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง

รัฐมนตรี อว. นำคณะเยือนจีน เปิดมิติใหม่ความร่วมมือ วทน. ไทย-จีน

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]