ความร่วมมือไทย-จีนที่ผ่านมา

การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจบีซีจีไทย-จีน
Thailand-China BCG Economic Cooperation

2 กันยายน 2565 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง หอการค้าจีน-ไทย และสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศขจีน ได้จัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจบีซีจีไทย-จีน (Thailand-China BCG Economic Cooperation) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างจีนและไทยในด้านพลังงานใหม่ การปกป้องสิ่งแวดล้อมสีเขียว การลดการปล่อยคาร์บอนคู่ การเงินสีเขียว การแลกเปลี่ยนสีเขียว และความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจของทั้งสองประเทศในด้านอาหาร เกษตรสีเขียว และห่วงโซ่อุปทานสีเขียว และอื่น ๆ

การประชุมสัมมนา RCEP ส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสีเขียวไทย-จีน
2 กันยายน 2565 สมาคมนักธุรกิจปักกิ่ง ประเทศไทย ร่วมกับ สภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศจีน ประจำประเทศไทย สภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศจีน ประจำกรุงปักกิ่ง และ สภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศจีน ประจำมณฑลเหอหนาน จัดการประชุมสัมมนาภายใต้หัวข้อ RCEP ส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสีเขียวไทย-จีน บนแพลตฟอร์มการประชุมคลาวด์ของมหกรรมการค้าภาคบริการนานาชาติแห่งประเทศจีน (CIFTIS) การประชุมสัมมนาครั้งนี้จะมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมสีเขียว รัฐบาล สมาคมอุตสาหกรรม และองค์กรต่างๆ ได้วิเคราะห์ศักยภาพและโอกาสของความร่วมมือระหว่างสมาคมธุรกิจและผู้ประกอบการไทยและจีนในด้านการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมสีเขียว และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีภายใต้กรอบ RCEP จากมุมมองของตน เพื่อวางรากฐานหลายมุมสำหรับความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างองค์กรของทั้งสองประเทศ

สมาคมนักธุรกิจปักกิ่ง ประเทศไทย หอการค้าระหว่างประเทศแห่งชาติจีน เหอหนาน นิคมอุตสาหกรรมบ่อทองร่วมกันเปิดตัวโครงการและลงนามโครงการ “นวัตกรรมเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ และสนับสนุนการพัฒนาสีเขียว”  ทั้ง 3 ฝ่ายได้แสดงความสามารถและบทบาทของตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ และมุ่งมั่นที่จะส่งเสริม 3 ด้าน ดังต่อไปนี้

1. ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่ล้ำสมัยจีนและไทย : พลังงานความร้อนใต้ดิน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม การจัดเก็บพลังงาน การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี CCUS และการบำบัดน้ำเสียที่ล้ำสมัย การลงทุนและการดำเนินงาน

2. สร้างนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว ลดคาร์บอน แห่งแรกของประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมลดภาษีคาร์บอนของสหภาพ ยุโรป และปฏิบัติตามข้อกำหนดห่วงโซ่อุปทานสีเขียว ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการระหว่างประเทศ

3. มุ่งสร้างความร่วมมือ : คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจีน-ไทย โดยเรียนรู้จากจากประสบการณ์ของจีนในกระบวนการสร้างตลาดคาร์บอน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการจีนและไทยในการออกแบบและพัฒนาแหล่งกักเก็บคาร์บอนและอ่างคาร์บอนระดับสากล และการซื้อขายอ่างเก็บคาร์บอนและการควบคุมสินทรัพย์คาร์บอน

การประชุมเกี่ยวกับการดำเนินการความร่วมมือด้านเทคโนโลยีชีวภาพสีเขียวจีน-ไทย
17 มีนาคม 2565 องค์การวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (Alliance of International Science Organizations. ANSO) สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมเทียนจินแห่งสถาบันวิทยาศาสตร์จีน ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพ CAS-TWAS และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดการประชุมแลกเปลี่ยนพิเศษเพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินการความร่วมมือด้านเทคโนโลยีชีวภาพสีเขียวจีน-ไทย

โมเดลเศรษฐกิจ BCG ของไทย

โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Economy Model) เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่มุ่งเน้นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าหรือยาวนานที่สุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) การพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี เป็นแนวทางการพัฒนาที่สอดรับกับ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDGs) ของสหประชาชาติอย่างน้อย 5 เป้าหมาย ได้แก่ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งยังสอดรับกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

เป้าหมายและตัวชี้วัดปี 2570

เพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ

  • มูลค่า GDP ของเศรษฐกิจ BCG เพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านบาท
  • สัดส่วนผลิตภัณฑ์และบริการมูลค่าสูงเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  • การเพิ่มขึ้นของรายได้ของเศรษฐกิจฐานรากไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50

ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

  • ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ 10 ล้านคน
  • จำนวนผู้ประสบปัญหาขาดแคลนอาหารและทุพโภชนาการต่ำกว่าร้อยละ 5
  • จำนวนผู้เข้าถึงยา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ราคาแพงแม้ในภาวะวิกฤตได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3 แสนค
  • จำนวนชุมชนมีความสามารถใน การพึ่งพาตนเองด้านพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20

สร้างความยั่งยืนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลง 1 ใน 4 จากปัจจุบัน
  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 – 25 เมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2548
  • ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการฟื้นฟู เช่น เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ 32 ล้านไร่

การพึ่งพาตนเอง

  • จำนวนผู้ที่ได้รับการพัฒนาให้มีทักษะที่สูงขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน
  • จำนวนสตาร์ทอัปและ IDEs (Innovative Driven Enterprises) ที่เกี่ยวข้องกับ BCG 1,000 ราย
  • ดุลการชำระเงินทางเทคโนโลยีขาดดุลลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  • การนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางการ แพทย์และสุขภาพลดลงไม่น้อย กว่าร้อยละ 20



อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]