หน่วยงานด้านอวกาศของจีน

องค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CNSA)
China National Space Administration (CNSA)
中国国家航天局
http://www.cnsa.gov.cn/
CNSA เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการกิจการอวกาศภาคพลเรือน และความร่วมมือกับต่างประเทศทางด้านอวกาศ ภารกิจหลักของ CNSA ได้แก่ ศึกษาและร่างนโยบายและกฏระเบียบสำหรับอุตสาหกรรมอวกาศ, ศึกษาและร่างแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศ, จัดการและดำเนินการโครงการอวกาศ, อมุมัติและดำเนินการโครงการอวกาศเพื่อการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ภาคพลเรือน, จัดการด้านความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทางอวกาศกับต่างประเทศ รวมถึงเข้าร่วมในองค์กรระหว่างทางด้านอวกาศในฐานะตัวแทนของประเทศ หน่วยงานสำคัญที่อยู่ภายใต้ CNSA เช่น China Earth Observation System and Data Center, China Space Debris Observation and Data Application Center และ Lunar Exploration and Space Program Center เป็นต้น

สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS)
Chinese Academy of Sciences (CAS)
中国科学院
https://www.cas.cn
สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences, CAS) เป็นสถาบันค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ (Natural Sciences) ที่เปรียบเสมือนคลังสมอง (Think Tank) ของประเทศ และถือได้ว่าเป็นองค์กรวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีนักวิจัยรวมกว่า 60,000 คน มีสถาบันวิจัยกระจายอยู่ทั่วประเทศมากกว่า 100 แห่ง มีหลายสถาบันของ CAS ที่มีบทบาทไม่น้อยต่อการดำเนินงานทางกิจการอวกาศของจีน เช่น National Astronomical Observatory of China (NAOC), National Space Science Center (NSSC) และ Institute of Remote Sensing and Digital Earth (RADI) เป็นต้น

บริษัทวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินอวกาศแห่งประเทศจีน (CASC)
บริษัทวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินอวกาศแห่งประเทศจีนChina Aerospace Science and Technology Cooperation (CASC)
中国航天科技集团公司
http://www.spacechina.com/

CASC เป็นหนึ่งในบรรษัทขนาดใหญ่ที่รัฐเป็นเจ้าของ (State-Owned Enterprise, SOE) ที่ดำเนินงานทางด้านกิจการอวกาศ บริษัทมีพนักงาน วิศวกร และช่างเทคนิครวมกว่าแสนชีวิต มีบริษัทลูกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในงานที่เกี่ยวกับองค์ประกอบและระบบย่อยต่าง ๆ ของเทคโนโลยีอวกาศจำนวนมากที่เรียกว่า Academy หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญและเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี ได้แก่ 

R&D and production complexes

  • China Academy of Launch Vehicle Technology (CALT)
  • Academy of Aerospace Solid Propulsion Technology (AASPT)
  • China Academy of Space Technology (CAST)
  • Academy of Aerospace Liquid Propulsion Technology (AALPT)
  • Sichuan Academy of Aerospace Technology (SAAT)
  • Shanghai Academy of Spaceflight Technology (SAST)
  • China Academy of Aerospace Electronics Technology (CAAET)
  • China Academy of Aerospace Aerodynamics (CAAA)

Specialized companies

  • China Satellite Communications
  • China Great Wall Industry Corporation Limited (CGWIC)
  • China Aerospace International Holdings
  • Beijing Shenzhou Aerospace Software Technology Co, Ltd.
  • China Spacesat Co. Ltd.
  • China Siwei Surveying and Mapping Technology Co, Ltd
  • China Aerospace Investment Holdings

บริษัทในสังกัดของ CASC
สถาบันเทคโนโลยีจรวดขนส่งแห่งชาติจีน
China Academy of Launch Vehicle Technology (CALT)
http://calt.spacechina.com/
หน่วยงานใหญ่ที่สุดที่ดำเนินการด้านการพัฒนาและจัดสร้างจรวดส่งดาวเทียม โดยเฉพาะจรวดในตระกูล Long Mach ของจีน นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบเรื่องการจัดส่งนักบินอวกาศอีกด้วย

สถาบันเทคโนโลยีอวกาศแห่งประเทศจีน
China Academy of Space Technology (CAST)
https://www.cast.cn
หน่วยงานหลักของจีนที่ทำหน้าที่ออกแบบ พัฒนา และจัดสร้างตัวดาวเทียม ซึ่งมีบริษัทและสถาบันปลีกย่อยลงไปอีกมากมายที่เชี่ยวชาญในแต่ละระบบของดาวเทียม เช่น Beijing Institute of Control Engineering มีหน้าวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัด, ระบบนำร่องและระบบควบคุมการวางตัวและตำแหน่ง (Attitude and Orbit Control) ในวงโคจรของดาวเทียม เป็นต้น CAST มีได้มีความร่วมในการจัดสร้างดาวเทียมสื่อสารให้กับหลายประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ เยอรมันนี และ ปากีสถาน เป็นต้น

สถาบันเทคโนโลยีอวกาศแห่งเซี่ยงไฮ้
Shanghai Academy of Space Technology (SAST)
http://www.sast.cn/
บริษัทลูกขนาดใหญ่ของ CASC ที่มีพนักงานกว่า 16,800 คน มีภารกิจหลากหลายครอบคลุมทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ ทั้งการวิจัยออกแบบและจัดสร้างดาวเทียมโดยเฉพาะดาวเทียมสำรวจโลก (EO) ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ดาวเทียมที่ใช้เทคโนโลยี SAR รวมถึงระบบย่อยและองค์ประกอบต่าง ๆ ของดาวเทียม ระบบจอดเทียบของยานและสถานีอวกาศ นอกจากนี้แล้ว SAST ยังประสบความสำเร็จในการพัฒนาจรวดบางรุ่นด้วย เช่น จรวดชนิดเชื้อเพลิงเหลว Long March 4

บริษัท ไชน่า เกรท วอลล์ อินดัสทรี คอร์ปอเรชั่น
China Great Wall Industry Cooperation (CGWIC)
บริษัทลูกของ CASC ที่ทำหน้าที่ในการทำธุระกรรมเกี่ยวการขายและการทำสัญญากับต่างประเทศ

ศูนย์ทรัพยากรข้อมูลดาวเทียมและการประยุกต์ใช้
Center for Resources Satellite Data and Applications (CRESDA)
https://www.cresda.com
หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการนำภาพถ่ายดาวเทียมสำรวจมาประยุกต์ใช้งาน ครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนงาน การนำเสนอโครงการ การจัดเก็บ ประมวลผล วิเคราะห์ และส่งข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพให้กับรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

บริษัทวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมด้านการบินและอวกาศของจีน (CASIC)
China Aerospace Science and Industry Corporation (CASIC) 
中国航天科工集团有限公司
http://www.casic.cn/
บรรษัทขนาดใหญ่ที่รัฐเป็นเจ้าของ (SOE) ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของจีน CASIC มีพนักงานหลักแสนคนและมีบริษัทลูก, หน่วยงานวิจัยออกแบบ โรงงานผลิต และสำนักงานดำเนินธุรกิจที่อยู่ภายใต้มากมายเช่นเดียวกับ CASC บริษัทหลักที่ทำหน้าที่ในการจัดจำหน่ายและทำสัญญากับต่างประเทศของ CASIC คือ China Precision Machinery Import-Export Company ภารกิจส่วนใหญ่ของ CASIC จะเกี่ยวของกับเทคโนโลยีป้องกันประเทศ แต่บริษัทก็ดำเนินงานทางด้านเทคโนโลยีดาวเทียมด้วย หนึ่งในหน่วยงานลูกของ CASIC คือ Academy of Information Technology จะเชี่ยวชาญในเรื่องการพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็ก เช่นดาวเทียม Hangtian-Tsinghua-1 ที่มีน้ำหนักเพียง 50 กิโลกรัมที่ปฏิบัติภารกิจในวงโคจร SSO นอกจากนี้ CASIC ยังพัฒนาจรวดปล่อยดาวเทียมโดยใช้เชื้อเพลิงชนิดแข็ง (Solid-Fueled Propulsion System) เช่น จรวด Kuaizhou ที่ออกแบบสำหรับบรรทุกดาวเทียมขนาดเล็กไปยังวงโคจร LEO และ GTO ด้วย

หน่วยงานเอกชนที่โดดเด่น

  1. One Space Technology Company ก่อตั้งในปี พ.ศ.2558 ดำเนินธุรกิจมุ่งเน้นไปที่ 3 แขนงหลัก ได้แก่ การให้บริการส่งดาวเทียม (โดยจรวดตระกูล M-Series) ในเชิงพานิชย์, การให้บริการแพลทฟอร์มทดสอบระบบดาวเทียมก่อนใช้งานจริงในอวกาศ (Flight Test Platform), และจำหน่ายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าและระบบขับเคลื่อน (Propulsion System) ของดาวเทียม นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนงานที่จะดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับดาวเทียมขนาดเล็กด้วย
  2. LandSpace Technology Cooperation 
    ก่อตั้งในปี พ.ศ.2558 ดำเนินธุรกิจทางด้านการวิจัยพัฒนาจรวดส่งดาวเทียมโดยมุ่งเน้นจรวดชนิดเชื้อเพลิงเหลวขนาดเล็ก และให้บริการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรแบบประหยัด (Low-Cost Commercial Launch)
  3. Chang Guang Satellite Technology Company 
    ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2557 เป็นบริษัทเอกชนแห่งแรกของจีนที่ดำเนินการกิจการทางด้านดาวเทียมถ่ายภาพ (Remote Sensing Satellite) และจำหน่ายภาพถ่ายดาวเทียมในเชิงพานิชย์ บริษัทรับดำเนินการวิจัยพัฒนาและจำหน่ายระบบต่าง ๆ ของดาวเทียมสำรวจ และระบบ UAV (Unmanned Arial Vehicle) ด้วย ซึ่งรวมถึงระบบติดตามและควบคุมจากภาคพื้นดิน บริษัทมีดาวเทียมสำรวจตระกูล Jilin ที่สามารถภาพถ่ายความละเอียดสูง โดยดาวเทียมดวงแรกคือ Jilin-1A เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558
  4. Beijing PieSat Technology Company 
    ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2551 มีความเชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและการประยุกต์ใช้งาน บริษัทให้บริการเชิงพานิชย์เกี่ยวกับระบบแผนที่และข้อมูล GIS (Geographic Information System) มีผลิตภัณฑ์ เช่น โปรแกรม PIE (Pixel Information Expert) ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลภาพอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษย์ (Artificial Intelligence) และ โปรแกรม PIE-Map ที่มีความแม่นยำสูงและสามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลนำร่องของดาวเทียม Beidou ได้

การกำกับดูแลกิจการอวกาศ
กิจการอวกาศเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งสำหรับภารกิจการป้องกันประเทศและการประยุกต์ใช้งานในภาคพลเรือน (Dual-Use System) เช่นเดียวกับกิจการอื่นๆ เช่น กิจการการบิน การต่อเรือ และการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลจีนมีหน่วยงาน คือ State Administration for Science, Technology and Industry for National Defense (SASTIND) ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวง Ministry of Industry and Information Technology (MIIT) ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการลักษณะดังกล่าว โดยมีหน้าที่ตั้งแต่การร่างแนวนโยบาย ออกกฏหมายและข้อบังคับ และติดตามการดำเนินงาน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการการวิจัยและพัฒนา การจัดการโครงการ การจัดจำหน่าย รวมไปถึงการนำไปใช้ประโยชน์ หน่วยงานที่สนับสนุนภารกิจของ SASTIND มีอยู่ด้วยกันหลายสาขา รวมถึง China National Space Administration และ China Atomic Energy Authority

ข้อมูลหน่วยงานด้านอวกาศของจีน โดย ดร.มานพ อ้อพิมาย 
ผู้อำนวยการ ฝ่ายการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการจัดการโครงการ
องค์การความร่วมมือทางด้านอวกาศระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิค (APSCO)

รายชื่อมหาวิทยาลัยด้านการบินและอวกาศ
การสัมมนา Way Forward “เรียนต่อจีนด้านอวกาศ”
พูดคุยแลกเปลี่ยนการเรียนด้านกฎหมายอวกาศ ด้านการสำรวจข้อมูลระยะไกล 
หลักสูตร SCGI Master Program เป้าหมายการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของจีน และเส้นทางและโอกาสการทำงานในด้านอวกาศ โดยนักศึกษาไทยในจีน

▶   HYPERLINK “https://www.stsbeijing.org/contents/15511″ https://www.stsbeijing.org/contents/15511▶  https://youtu.be/lAi1Ghxe928

ลำดับรายชื่อมหาวิทยาลัยเว็บไซต์ที่ตั้ง
1Chinese Academy of Scienceshttps://www.cas.cn/ปักกิ่ง
2University of Chinese Academy of Scienceshttps://www.ucas.ac.cn/ปักกิ่ง
3Beihang Universityhttps://www.buaa.edu.cn/ปักกิ่ง
4Northwestern Polytechnical Universityhttps://www.nwpu.edu.cn/ซีอาน
5Harbin Institute of Technologyhttp://www.hit.edu.cn/ฮาร์บิน
6Beijing Institute of Technologyhttps://www.bit.edu.cn/ ปักกิ่ง
7Nanjing University of Aeronautics and Astronauticshttps://www.nuaa.edu.cn/หนานจิง
8Tsinghua Universityhttps://www.tsinghua.edu.cn/ปักกิ่ง
9Shenyang Aerospace Universityhttps://www.sau.edu.cn/เสิ่นหยาง
10Shanghai Jiaotong Universityhttps://www.sjtu.edu.cn/เซี่ยงไฮ้
11Nanjing University of Science and Technologyhttps://www.njust.edu.cn/หนานจิง
12Xi’an Jiaotong Universityhttp://www.xjtu.edu.cn/ซีอาน
13Peking Universityhttps://www.pku.edu.cn/ปักกิ่ง
14Zhejiang Universityhttps://www.zju.edu.cn/เจ้อเจียง
15Wuhan Universityhttps://www.whu.edu.cn/อู่ฮั่น

หมายเหตุ : รายชื่อมหาวิทยาลัยดังกล่าว เป็นรายชือเพียงบางส่วน นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยด้านอวกาศอื่น ๆ อีกที่ไม่ได้กล่าวถึง




อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]