ความร่วมมือด้านอวกาศไทย-จีน

  1. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสถาบันทัศนศาสตร์ กลศาสตร์ขั้นสูงและฟิสิกส์แห่งฉางชุน สาธารณรัฐประชาชนจีน 
    (Changchun Institute of Optics, Fine Mechanics and Physics, CAS)

    เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) และสถาบัน         ทัศนศาสตร์ กลศาสตร์ขั้นสูงและฟิสิกส์แห่งฉางชุน สาธารณรัฐประชาชนจีน ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีสำหรับสร้างดาวเทียม พร้อมหารือการพัฒนาอุปกรณ์วิทยาศาสตร์สำหรับดาวเทียม และสร้างดาวเทียมวิจัยขนาดเล็กน้ำหนักประมาณ 20-30 กิโลกรัม รวมถึงแผนขยายความร่วมมือในด้านอื่นที่เกี่ยวข้องในอนาคต อาทิ การพัฒนาอุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์ ระบบปรับสภาพตามแสง สำหรับกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวแห่งชาติของไทย

    การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศแก่นักวิจัย วิศวกร บุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ และนักศึกษาระหว่างสองหน่่วยงาน เพื่อร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์วิทยาศาสตร์สำหรับดาวเทียมและสร้างดาวเทียมวิจัย การฝึกอบรมด้านเทคนิค การประชุมทางวิชาการ ตลอดจนร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ขั้นสูงที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผลิตอุปกรณ์สำหรับงานวิจัยของกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศร่วมกัน เป็นต้น องค์ความรู้ที่ได้จะนำไปต่อยอดสู่การพัฒนาดาวเทียมไทยในโครงการภาคีความร่วมมือพัฒนาความสามารถเทคโนโลยีอวกาศไทยในอนาคต

  2. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ 
    China-ASEAN BEIDOU/GNSS (Nanning) Center

    เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 China-ASEAN BEIDOU/GNSS (Nanning) Center มอบเครื่องอุปกรณ์ติดตาม กำหนดพิกัด และรับส่งข้อความสั้นผ่านสัญญาณดาวเทียม Beidou No.3 ให้กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

  3. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) 
    มหาวิทยาลัยอู่ฮั่น และมหาวิทยาลัยบูรพา

    เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยอู่ฮั่น และมหาวิทยาลัยบูรพา ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันขึ้นใน Memorandum of Understanding among Wuhan University, P.R.China, Burapha University และ​Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (Public Organization), Thailand on SCGI Master Program และมีพิธีเปิดหลักสูตรอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2560

    หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาโท “SCGI Master’s Program in Geo-Informatics and Space Technology (under the Supervision of the Sirindhorn Center for Geo-informatics (SCGI)”  มีวัตถุประสงค์ในการสร้างบุคลากรด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยนำความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศและภูมิภาค สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลและงานวิจัย อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับภูมิภาคอย่างยั่งยืน รวมถึงพัฒนาและต่อยอดงานวิจัยให้เข้มแข็ง โดยเน้นด้าน Geo-Informatics เพื่อทำให้เกิดนวัตกรรมระดับสากล และสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้จริง (รายละเอียดหลักสูตร ▶ http://scgi.gistda.or.th/)

  4. ความร่วมมือด้านอวกาศภายใต้องค์การความร่วมมือทางด้านอวกาศระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิค 
    (Asia Pacific Space Cooperation Organization : APSCO)

    ความร่วมมือด้านอวกาศจีน – ไทย
    โดย ดร.มานพ อ้อพิมาย ผู้อำนวยการฝ่ายการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการจัดการโครงการ (APSCO)
    ▶   HYPERLINK “https://www.stsbeijing.org/contents/16597
    ” https://www.stsbeijing.org/contents/16597

    จีนและไทย มีความร่วมมือด้านอวกาศภายใต้องค์การความร่วมมือทางด้านอวกาศระหว่างประเทศในเอเชีย  แปซิฟิค เพื่อสร้างความร่วมมือในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ และการนำไปใช้ประโยชน์   เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ความร่วมมือด้านอวกาศภายใต้ APSCO ยังเป็นการใช้ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศร่วมกัน แลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากรทางปัญญา รวมถึงโอกาสในการเข้าร่วมโครงการด้านอวกาศที่สำคัญของจีน กิจกรรมของ APSCO ที่ประเทศไทยเข้าร่วม ประกอบด้วยการพัฒนาบุคลากรทางด้านอวกาศของประเทศสมาชิก และการเข้าร่วมและเป็นผู้นำโครงการที่ได้รับทุนสนันสนุนจาก APSCO

    ประเทศไทยส่งบุคลากรมาศึกษาด้านอวกาศ ณ ประเทศจีน ปัจจุบันสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท 26 คน ปริญญาเอก 14 คน การบ่มเพาะบุคลากรด้านอวกาศรุ่นใหม่ เช่น โครงการพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กโดยนักศึกษา (Student Small Satellite (SSS)) ร่วมกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัย ประเทศไทยโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เข้าร่วมในโครงการนี้ในส่วนของการพัฒนาดาวเทียม SSS-2B
อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]