เมื่อเดือนเมษายน 2565 องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน เปิดเผยว่า จีนจะเริ่มวางแผนพัฒนาโครงการสำรวจดวงจันทร์ ระยะที่ 4 ในปีนี้ โครงการสำรวจดวงจันทร์ ระยะที่ 4 แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ด้วยการส่งยานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ-6 ฉางเอ๋อ-7 และฉางเอ๋อ-8 ก่อนปี ค.ศ. 2030
ฉางเอ๋อ-6 จะเก็บตัวอย่างบริเวณแอ่งขั้วใต้-เอตเคน (South Pole-Aitken Basin) บนพื้นผิวด้านไกลของ ดวงจันทร์ที่มีมวลประมาณ 2 กิโลกรัมกลับมายังโลก
ฉางเอ๋อ-7 จะลงจอดบนขั้วใต้ของดวงจันทร์และตรวจจับทรัพยากรธรรมชาติพื้นถิ่น
ฉางเอ๋อ-8 ซึ่งทำงานร่วมกันกับฉางเอ๋อ-7 นั้น จะรับหน้าที่สำรวจวิธีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรบนดวงจันทร์
โดยองค์การฯ กำลังวางแผนตั้งกลุ่มดาวเทียมรอบดวงจันทร์ เพื่อให้บริการด้านการติดต่อสื่อสารและการนำทางด้วย โดยเป้าหมายหลักคือการสำรวจทางวิทยาศาสตร์บนขั้วใต้ของดวงจันทร์ และตั้งสถานีวิจัยดวงจันทร์ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
แผนที่ทางธรณีวิทยาของดวงจันทร์ในระดับ 1 : 2,500,000
รายงานวิจัยฉบับเต็ม
The 1:2,500,000-scale geologic map of the global Moon▶ https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2095927322002316?via%3Dihub#f0010
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 สถาบันธรณีเคมีแห่งสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนและมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เผยแพร่แผนที่ดวงจันทร์ในวารสารจดหมายข่าว Science Bulletin ซึ่งเป็นแผนที่ทางธรณีวิทยาที่ครอบคลุมใหม่ของดวงจันทร์ในระดับ 1:2,500,000 ที่มีรายละเอียดมากที่สุดจนถึงปัจจุบัน
แผนที่ประกอบด้วยหลุมอุกกาบาต 12,341 หลุม 81 แอ่งที่เกิดจากแรงกระแทกของอุกกาบาต 17 แห่ง และโครงสร้าง 14 ประเภท ให้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับธรณีวิทยาของดวงจันทร์และวิวัฒนาการของดวงจันทร์ คาดว่าจะมีส่วนสนับสนุนอย่างมากต่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจ และการเลือกพื้นที่ลงจอดบนดวงจันทร์
นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนจากสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้สร้างแผนที่ภูมิประเทศที่มีความละเอียดสูงชิ้นนี้โดยอิงจากข้อมูลจากโครงการสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ (Chang’e project) ของจีน และข้อมูลอื่น ๆ และผลการวิจัยจากองค์กรระหว่างประเทศ