โครงการนักเรียนอาเซียนพูดคุยกับนักบินอวกาศจีน

โครงการ “นักเรียนอาเซียนพูดคุยกับนักบินอวกาศจีน” (ASEAN Students Talk with Taikonauts) เปิดโอกาสให้นักเรียนหลายร้อยคนจากจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น บรูไน มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ได้ถามคำถามที่พวกเขาสนใจใคร่รู้อย่างนักบินอวกาศสามารถท่องอินเทอร์เน็ตบนอวกาศได้หรือไม่  หากนักบินอวกาศป่วยต้องทำอย่างไร หากอยากเป็นนักบินอวกาศต้องทำอย่างไร และสิ่งที่น่าประทับใจที่สุดบนอวกาศคืออะไร

ศิวัชติณณ์ ศิวเวทกุล นักเรียนไทยวัย 13 ปี เป็นหนึ่งในนักเรียนจากกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้รับโอกาสร่วมสนทนาผ่านระบบวิดีโอกับเฉินตง หลิวหยาง และไช่ซวี่เจ๋อ ทีมนักบินอวกาศจีนที่อยู่บนสถานีอวกาศเทียนกงของจีนเพื่อปฏิบัติภารกิจในวงโคจร ระยะ 6 เดือน โดยศิวัชติณณ์ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นอยู่และวิธีการดื่ม กิน และนอนบนอวกาศ เมื่อถูกถามว่านักบินอวกาศหญิงต้องใช้เวลาฝึกฝนกี่ชั่วโมงจึงจะมีโอกาสได้ทำงานบนอวกาศ หลิวหยาง นักบินอวกาศหญิงหนึ่งเดียว ตอบว่ามาตรฐานการฝึกของนักบินอวกาศชายและหญิงนั้นเหมือนกัน แต่ผู้หญิงต้องฝึกฝนหนักกว่าและต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้ไปปฏิบัติภารกิจบนอวกาศ

รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวขอบคุณจีนที่แบ่งปันโอกาส “พูดคุยกับทีมนักบินอวกาศ” อันหายากและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกับไทย ซึ่งช่วยจุดประกายความฝันด้านอวกาศให้นักเรียนไทยจำนวนมาก

รศ.ดร.พาสิทธิ์ เผยว่า สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติและอุทยานดาราศาสตร์สิรินธรถือเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาดาราศาสตร์ของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านอวกาศในจีนอย่างใกล้ชิด ซึ่งสร้างโอกาสมหาศาลให้กับเยาวชนไทย

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]