APEC 2022 THAILAND

การเยือนประเทศไทยของนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความร่วมมือและความตกลงที่มีการลงนามในช่วงการเยือน

หลังจากการหารือเต็มคณะ ทั้งสองฝ่ายได้ประกาศเอกสารความร่วมมือและความตกลงที่มีการลงนามในช่วงการเยือน จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่

(1) แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย – จีน ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ฉบับที่4 (พ.ศ. 2565-2569) 

(2) แผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21

(3) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน 

(4) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

(5) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการก่อตั้งคณะทำงานความร่วมมือด้านการลงทุนและเศรษฐกิจระหว่างกระทรวอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

บันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีเนื้อหาความร่วมมือในสาขา

  • การเกษตรและอาหาร
  • เทคโนโลยีการเกษตร
  • วิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์
  • ดิจิตอลและอิเล็กทรอนิกส์
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • วิทยาการหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
  • ชีวเคมี
  • ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • เทคโนโลยีชีวภาพ
  • เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์
  • สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
  • วัสดุศาสตร์
  • นาโนเทคโนโลยี
  • พลังงาน
  • เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม
  • นิวเคลียร์และรังสี
  • เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน
  • เทคโนโลยีเซนเซอร์
  • เทคโนโลยีอวกาศ
  • การบริหารจัดการลุ่มน้ำและทรัพยากรน้ำ
  • การประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่จากการสำรวจด้วยดาวเทียมและข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจโลก เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 
  • เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเกษตรยั่งยืนที่ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 
  • การสื่อสารและการเผยแพร่ทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์  การตระหนักรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์         
  • ในรูปแบบของ
  • การส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัย ภาคเอกชน องค์กรภาครัฐ และสถาบันอุดมศึกษา
  • การแลกเปลี่ยนทุนการศึกษาสำหรับผู้เชี่ยวชาญอาวุโส นักวิจัยและนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ตลอดจนทุนวิจัยหลังปริญญาเอกในสาขาความร่วมมือที่เห็นชอบร่วมกัน
  • การแลกเปลี่ยนทุนการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านเทคนิคและนักศึกษาเพื่อเข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมทั้งในไทยและจีนในสาขาที่เห็นชอบร่วมกัน โดยเฉพาะในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่จากการสำรวจด้วยดาวเทียม และข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจโลก เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูงในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
  • การแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสารสนเทศ
  • การแลกเปลี่ยนการเยือนของนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และกลุ่มนักศึกษา
  • การแลกเปลี่ยนการจัดนิทรรศการเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
  • ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนตัวอย่างและการชิ้นงานในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
  • ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนมาตรฐานโรงงานนิวเคลียร์และรังสี
  • การพัฒนาวิชาชีพสำหรับบุคลากรของศูนย์/พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
  • การร่วมส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในไทยและจีน 
  • การดำเนินโครงการวิจัยร่วม 
  • รูปแบบความร่วมมืออื่นๆ ที่เห็นชอบร่วมกัน

คำปราศรัยโดย ฯพณฯ สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน                                              

ในการประชุมสุดยอดผู้นำภาคธุรกิจของเอเปค (APEC CEO Summit)                                                              ในหัวข้อ “ยึดมั่นในความตั้งใจเดิม ร่วมกันส่งเสริมการพัฒนา เปิดหน้าใหม่แห่งความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก”วันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ที่มา : สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย

ผู้แทนทางธุรกิจ 

สุภาพสตรี สภาพบุรุต และเพื่อนมิตรทั้งหลาย
ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสมาถึงกรุงเทพฯที่สวยงาม เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำภาคธุรกิจของเอเปค

โลกมาอยู่ที่ทางแยกอีกครั้ง โลกจะไปทางไหน เอเชียแปซิฟิกจะทำอย่างไร พวกเราจำเป็นต้องให้คำตอบ

ศตวรรษที่ 21 เป็นศตวรรษของเอเชียแปซิฟิก ประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีหนึ่งในสามของทั่วโลก เศรษฐกิจคิดเป็น 60% และยอดมูลค่าการค้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจโลก เป็นเขตพื้นที่การเติบโตที่มีพลวัตที่สุดของเศรษฐกิจโลก การพัฒนาเศรษฐกิจของสมาชิกเอเชียแปซิฟิกได้ประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในอดีต จำเป็นต้องเปิดหน้าใหม่อันสดใสยิ่งใหญ่มากยิ่งขึ้นในอนาคต

ปัจจุบัน สถานการณ์เอเชียแปซิฟิกมีความมั่นคงโดยภาพรวม ความร่วมมือภูมิภาคมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาอย่างสันติ ความร่วมแบบวิน-วินเป็นกระแสหลัก ในขณะเดียวกัน โลกกำลังเข้าสู่ระยะการแปรปรวนและเปลี่ยนแปลง ความตึงเครียดของภูมิรัฐศาสตร์และการแปรผันของโครงสร้างเศรษฐกิจได้ซ้อนซับกัน ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมการพัฒนาและโครงสร้างความร่วมมือของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โรค COVID-19 ยังแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจโลกมีความกดกันในการชะลอตัวและมีความเสี่ยงเพิ่มมากยิ่งขึ้นในการถดถอย วิกฤติทางข้าวและธัญญาหาร พลังงานและหนี้สิน ได้ปรากฏตัวพร้อมเพรียงกัน มีประเทศจำนวนไม่น้อยกำลังเผชิญหน้ากับอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยความไม่มั่นคงและไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น แนวคิดสงครามเย็น ลัทธิครองความเป็นใหญ่ ลัทธิเอกภาคีนิยม ลัทธิอนุรักนิยมได้กลับมาฟื้นตัวอีก พฤติกรรมที่บ่อนทำลายกฎระเบียบสากลและความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ หนุนหลังการปะทะกันในภูมิภาค ขัดขวางความร่วมมือในการพัฒนาได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งไม่หยุด เป็นความท้าทายต่อสันติภาพและการพัฒนาของเอเชียแปซิฟิก

เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ ย่อมจะได้รับบทเรียนให้กับอนาคต ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิกได้ฉีดพลังอันใหญ่หลวงให้กับการพัฒนาของภูมิภาค ได้ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ประสบการณ์นี้ล้ำค่ามาก ความตั้งใจเดิมต้องยึดมั่นและทะนุถนอมไว้

พวกเราต้องเดินอยู่บนเส้นทางแห่งการพัฒนาที่สันติ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเคยผ่านความยากลำบากของสงครามและความผันผวนแปรปรวน จนตกเป็นพื้นที่ถ่วงดุลอำนาจของประเทศมหาอำนาจ และเด็มไปด้วยปัญหาความขัดแย้งของโลกสากล ประวัติศาสตร์ได้บ่งบอกพวกเราว่า การเผชิญหน้าของเครือข่ายและกลุ่มประเทศ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ อคติและการดูถูกแบ่งแยกจะนำมาแค่ภัยพิบัติ เป็นเพราะด้วยเหตุว่าได้หลุดพ้นจากสงครามเย็นภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจขนาดปานกลางและย่อมจึงสามารถพัฒนาก้าวหน้าอย่างทันสมัย “ปาฏิหาริย์แห่งเอเชียแปซิฟิก” จึงเกิดขึ้นได้

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่ใช่สวนดอกไม้ของใครสักคน ไม่ควรกลายเป็นพื้นที่ถ่วงดุลอำนาจของประเทศใหญ่ ความมุ่งหวังที่สร้าง “สงครามเย็นใหม่” ประชาชนจะไม่ยอมรับแน่นอน ยุคสมัยก็ไม่อนุญาตแน่นอนเหมือนกัน

พวกเราต้องเดินอยู่บนเส้นทางแห่งการเปิดกว้างและครอบคลุม การเปิดกว้างและครอบคลุมเป็นเงื่อนไขขั้นพื้นฐานแห่งความเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติ ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา เขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิก ได้ร่วมกันสร้างตลาดที่มีความบูรณภาพกัน ส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจเหนียวแน่นมากขึ้น อ้าแขนกอดโลกไว้อย่างแข็งขัน เปิดที่ว่างอันกว้างใหญ่ไพศาลให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจ องค์การเอเปคยืนหยัดลัทธิภูมิภาคที่เปิดกว้าง หลักการที่หลากหลาย และไม่แบ่งแยก ได้สร้างโครงสร้างความร่วมมือของภูมิภาคที่เปิดกว้างและเอื้อประโยชน์ต่อทุกฝ่าย เป็นเพราะเหตุที่ว่ามีวิสัยทัศน์แบบนี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจึงสามารถจับโอกาสโลกาภิวัตน์ไว้ได้อย่างดี  ผลักดันการสร้างประชาคมเศรษฐกิจของภูมิภาคเดินอยู่ในแถวหน้าของยุคสมัย

การเปิดกว้างจะนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า การปิดกั้นจะทำให้ล้าหลัง ขัดขวางจนทำลายห่วงโซ่อุตสาหกรรมและอุปทานที่มีมาตั้งนานแล้วของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้ล่มสลาย ย่อมจะส่งผลให้ความร่วมมือเศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิกเข้าสู่ “ทางตัน”

พวกเราต้องเดินอยู่บนเส้นทางแห่งสมัครสมานสามัคคี “ปาฏิหาริย์แห่งเอเชียแปซิฟิก” สร้างสรรค์ขึ้นมาได้เพราะทุกประเทศจับมือฟันฝ่าอุปสรรค์ต่าง ๆ และร่วมแรงร่วมใจทำงานด้วยกัน ตลอดกาลที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยืนหยัดเจตจำนงที่เป็นครอบครัวใหญ่ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ฟันฝ่าความเสี่ยงและอันตรายนานัปการ เดินไปสู่ข้างหน้าท่ามกลางมหาสมุทรแห่งเศรษฐกิจโลก และได้กำเนิดมาซึ่งเจตนารมณ์แห่งประชาคม และเป็นรากฐานที่หนาแน่นแห่งการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันนี้ เศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกกำลังเข้าสู่ระยะเวลาสำคัญในการฟื้นฟูหลังเกิดโรค COVID-19 เขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ล้วนเผชิญหน้ากับอุปสรรค์นานัปการ เช่นห่วงโซ่อุปทานไม่เป็นระเบียบและสับสน ข้าว ธัญญาหาร และพลังงานขาดแคลน มีแรงกดดันในด้านเงินเฟ้อ เป็นต้น พวกเราต้องกระชับความร่วมมือ สนับสนุนซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผลักดันให้เศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกเดินอยู่ในแถวหน้าแห่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก

สุภาพสตรี สุภาพบุรุษ และเพื่อนมิตรทั้งหลาย
ภายในสถานการณ์ใหม่ พวกเราต้องเรียนรู้บทเรียนและประสบการณ์จากประวัติศาสตร์ เพื่อรับมือกับความท้าทายของยุคสมัย ยืนหยัดในการสร้างประชาคมเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ร่วมแรงร่วมใจกันเปิดหน้าใหม่แห่งการพัฒนา ร่วมกันสร้างประชาคมเอเชียแปซิฟิกที่มีอนาคตร่วมกัน

ประการแรก ส่งเสริมรากฐานการพัฒนาที่สันติอย่างหนาแน่น พวกเราต้องยึดมั่นในวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ สร้างวิสัยทัศน์แห่งความมั่นคงปลอดภัยที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีบูรณาภาพ มีความร่วมมือและยั่งยืน ร่วมกันคัดค้านแนวคิดสงครามเย็นและการปฏิปักษ์ระหว่างเครือข่ายและกลุ่มประเทศต่าง ๆ สร้างโครงสร้างความมั่นคงปลอดภัยของเอเชียแปซิฟิก และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงปลอดภัยที่ยั่งยืนของเอเชียแปซิฟิก

ประการที่สอง ยึดมั่นในแนวคิดการพัฒนาที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง พวกเราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องส่งเสริมชีวิตความป็นอยู่ของประชาชนในระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ คำนึงถึงความต้องการของผู้ด้อยโอกาส แก้ไขปัญหาความห่างทางรายได้ สร้างสภาพแวดล้อมแห่งการพัฒนาที่ครอบคลุมและเปิดกว้าง เขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ของเอเชียแปซิฟิกที่พัฒนาแล้วต้องแสดงบทบาทในเชิงบวก สนับสนุนเขตเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาอย่างแข็งขัน สร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนอันใหม่ที่สมัครสมานสามัคคี เสมอภาค สมดุล และเอื้อประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

ประการที่สาม สร้างโครงสร้างอันเปิดกว้างที่มีระดับสูงขึ้น พวกเราต้องส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบขององค์การเอเปค ผลักดันกระบวนการของเขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิก ปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ปุตราจายาของเอเปค ต้องเข้าร่วมการปฏิรูปขององค์การการค้าโลกอย่างรอบด้านและลึ้กซึ้ง ต้องผลักดันให้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(RCEP) ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) และข้อตกลงความสัมพันธ์หุ้นส่วนดิจิทัล(DEPA) เชื่อมต่อซึ่งกันและกัน  สร้างเขตเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกที่เปิดกว้าง

ประการที่สี่ ส่งเสริมให้มีความเชื่อมโยงที่มีระดับสูงขึ้น พวกเราต้องใช้แผนสีเขียวความเชื่อมโยงขององค์การเอเปคเป็นการชี้นำ ผลักดันให้มีการเชื่อมต่อทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ และการไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนอย่างมีระเบียบ ประเทศจีนจะผลักดันข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของทุกฝ่ายอย่างแข็งขัน ร่วมกันสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงของเอเชียแปซิฟิกที่มีคุณภาพสูง

ประการที่ห้า สร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมและอุปทานที่มั่นคงและราบรื่น พวกเราต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของเศรษฐกิจ ยืนหยัดหลักการตลาด ส่งเสริมให้ปัจจัยการผลิตเคลื่อนไหวอย่างอิสระเสรี พิทักษ์รักษาระบอบของการบริการการผลิตและอุปทานของสินค้าต่าง ๆ สร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมและอุปทานของเอเชียแปซิฟิกที่สะดวก มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ต้องร่วมกันคัดค้านลัทธิเอกภาคีนิยม ลัทธิอนุรักษ์นิยม คัดค้านการกระทำที่ทำให้ความสัมพันธ์เศรษฐกิจการค้ากลายเป็นประเด็นการเมืองและประเด็นที่เกี่ยวกับอาวุธ

ประการที่หก   ต้องผลักดันเศษรฐกิจให้อัพเกรดและยกระดับคุณภาพสูงขึ้น  พวกเราต้องคล้อยตามการปฏิวัติทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมรอบใหม่   เร่งดำเนินนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและกฏกติกา  บ่มเพาะเศรษกิจใหม่ ธุรกิจใหม่และโมเดลพาณิชย์ใหม่  เพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจพัฒนาแบบดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ต้องยืนหยัดการพัฒนาแบบสีเขียวและคาร์บอนต่ำ สร้างอุตสาหกรรมสีเขียวและการเงินสีเขียว  เร่งก่อสร้างโครงสร้างความร่วมมือแบบสีเขียวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  จนทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเดินอยู่ในแถวหน้าของโลก

สุภาพสตรี สุภาพบุรุษ และเพื่อนมิตรทั้งหลาย
การพัฒนาของประเทศจีนได้รับผลดีจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  ขณะเดียวกัน จีนก็ได้ใช้การพัฒนาของตนเองตอบรับและนำความผาสุกให้แก่ภูมิภาคนี้    เศรษฐกิจของจีนและของเอเชียแปซิฟิกได้พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และผสมผสานกันอย่างลึกซึ้ง  ประเทศจีนได้กลายเป็นคู่ค้าหลักของเขตเศรษฐกิจจำนวนมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นจุดสำคัญของห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคนี้  จีนจะยืนหยัดในการสร้างประชาคมเอเชียแปซิฟิกที่มีอนาคตร่วมกันอย่างแน่นอน  สร้างผลประโยชน์มากขึ้นให้กับความมั่นคงและความเจริญของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เมื่อไม่นานมานี้  การประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 ได้จัดขึ้นอย่างประสบความสำเร็จ ซึ่งได้จัดทำแผนการโดยภาพรวมสำหรับการพัฒนาของประเทศในปัจจุบันและช่วงระยะเวลาหนึ่งในอนาคต โดยเน้นย้ำการสร้างความทันสมัยแบบจีนอย่างรอบด้าน

จนถึงปัจจุบันนี้   จำนวนของประเทศอุตสาหกรรมของโลกนี้มีไม่เกิน 30 ประเทศ โดยมีประชากรไม่เกินหนึ่งพันล้านคน  ประเทศจีนซึ่งมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันสี่ร้อยล้านคน บรรลุความทันสมัยนั้น จะเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การพัฒนาของมนุษยชาติ  การพัฒนาที่ดีของสังคมและเศรษฐกิจจีน ย่อมรณรงค์  รวมพลังของประชากรจำนวนมากก่วาหนึ่งพันสี่ร้อยล้านคน เราจะยึดหมั่นแนวคิดที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จนทำให้ผู้ที่มีรายได้ปานกลางมีจำนวนเกินแปดร้อยล้านคนใน 15 ปีข้างหน้า  ผลักดันให้ตลาดที่มีปริมาณอันยิ่งใหญ่ไพศาลสามารถพัฒนาเติบโตอย่างต่อเนื่อง

นักปราชญ์จีนโบราณเคยกล่าวว่า ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ เริ่มจากการทำให้ประชาชนมีชีวิตที่ร่ำรวย ประเทศจีนได้ประสบความสำเร็จในการขจัดความยากจนและสร้างสังคมกินดีอยู่ดีอย่างรอบด้าน  ตอนนี้ต้องผลักดันให้ประชาชนทั้งหมดมีชีวิตที่ร่ำรวยพร้อมเพรียงกัน  ความร่ำรวยร่วมกันของประเทศจีน คือการตอบสนองความต้องการของประชาชนที่มีความปรารถนาที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีงาม ทำให้เกิดความร่ำรวยโดยรวมอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเข้าถึงประชาชนทั่วไป  ยืนหยัดในการบูรณาการระหว่างตลาดและรัฐบาล  ระหว่างประสิทธิภาพและความยุติธรรม  แบ่งเค้กการพัฒนาอย่างเหมาะสมสมดุล ขณะที่ทำเค็กให้ใหญ่ขึ้น  สร้างโครงสร้างแบ่งบันผลิตผลในรูปคล้ายมะกอก  ข้าพเจ้าได้เสนอข้อริเริ่มการพัฒนาโลก ก็เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการพัฒนาที่ไม่สมดุล ประเทศจีนกำลังปฏิบัติข้อริเริ่มดังกล่าวกับประเทศและองกรณ์ระหว่างประเทศจำนวนมากกว่า 100 แห่งอย่างเป็นรูปธรรม  ผลักดันให้การประชุมระดับสูงในการพัฒนาของโลกที่จัดขึ้นในปีนี้เกิดผลที่เป็นจริง  ประเทศจีนพร้อมที่จะเพิ่มการลงทุนด้านทรัพยกรณ์ให้กับความร่วมมือการพัฒนาของทั่วโลก และจะจับมือกับฝ่ายต่าง ๆ ในการสร้างประชาคมการพัฒนาของโลก

ข้าพเจ้าเคยกล่าวไว้ว่า  เมื่อตึกอาคารสูงได้ยืนผงาดขึ้นบนแผ่นดินของจีน  จิตวิญญาณของประชาชาติจีน  ก็ต้องยืนผงาดขึ้นเหมือนกัน  พวกเราจะยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งทรัพย์สินและจิตวิญญาณให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จนทำให้ทุกบ้านทุกครัวเรือนมีของกินของใช้ที่อุดมสมบูรณ์ ประชาชนทุกคนมีความรู้ มารยาทและอารยธรรม  พวกเรายินดีส่งเสริมวิสัยทัศน์อารยธรรมที่เสมอภาค เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เจรจาและพูดคุยกันและปรองดอง ขณะที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกส่งเสริมค่านิยมของมวลมนุษย์ที่สันติภาพ การพัฒนา เที่ยงธรรม ยุติธรรม ประชาธิปไตยและอิสระเสรี โดยใช้การแลกเปลี่ยนทางอารยธรรมข้ามผ่านความปิดกั้นทางอารยธรรม ใช้การเรียนรู้ซึ่งกันและกันทางอารยธรรมข้ามผ่านการขัดกันทางอารยธรรม ใช้การอยู่ร่วมกันทางอารยธรรมข้ามผ่านการเอาเปรียบทางอารยธรรม เพื่อสร้างพลังให้อารยธรรมโลกพัฒนาอย่างสมดุล แข็งขัน และเป็นมิตรกับทุกฝ่าย

ความทันสมัยแบบจีนจำเป็นต้องยึดมั่นเส้นทางที่มนุษย์กับธรรมชาติอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน ซึ่งทั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นความรับผิดชอบต่อพวกเราตนเอง ยังเป็นความรับผิดชอบต่อทั่วโลกอีกด้วย เมื่อหลายปีที่ผ่านมานี้พวกเรามุ่งมั่นปฏิบัติตามแนวคิดน้ำใสภูเขาเขียวก็คือภูเขาทองภูเขาเงิน ส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมพัฒนาแบบสีเขียว พยายามสร้างประเทศจีนอันสวยงามที่มีฟ้าใส ดินเขียว และน้ำสะอาด

ประเทศจีนได้ตั้งเป้าหมายที่ว่าจะพยายามปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ถึงระดับสูงสุดก่อนปี ค.ศ. 2030 และบรรลุความเป็นกลางของคาร์บอนก่อนปี ค.ศ. 2060 ซึ่งเป็นคำมั่นสัญญาที่รัฐบาลจีนให้ไว้กับประชาคมโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่ลดความเข้มข้นของพลังงานรวดเร็จที่สุดในโลก ได้บรรลุเป้าหมายที่ว่าลดความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซคาร์บอน 40% ถึง 45% ในปี ค.ศ. 2020 โดยเกินโควตา ได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสะสมไว้เป็นจำนวนห้าพันแปดร้อยล้านตัน ประเทศจีนได้สร้างเส็รจตลาดคาร์บอนและระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก หวังว่าทุกฝ่ายจะกระชับความร่วมมือ เดินบนเส้นทางพัฒนาแบบสีเขียวและคาร์บอนต่ำอย่างแน่วแน่ ร่วมกันสร้างประชาคมมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติที่มีอนาคตร่วมกัน

สิ่งที่ประชาชนชาวจีนปรารถนาที่จะเห็นที่สุดคือสันติภาพและเสถียรภาพ เดินอยู่บนเส้นทางการพัฒนาอย่างสันติเป็นการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวจีน พวกเรามุ่งมั่นยืนอยู่ข้างประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง เชิดชูธงแห่งสันติภาพ การพัฒนา ความร่วมมือ และอำนวยผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน แสวงหาการพัฒนาของตนเองในขณะที่พิทักษ์รักษาสันติภาพและการพัฒนาของโลก ในขณะเดียวกัน ใช้การพัฒนาของตนเองเพื่อพิทักษ์รักษาสันติภาพและการพัฒนาของโลกให้ดีขึ้นอีกด้วย

สุภาพสตรี สุภาพบุรุษ และเพื่อนมิตรทั้งหลาย
ตลอดกาลที่ผ่านมานี้ วงการธุรกิจเอเชียแปซิฟิกเป็นพลังสำคัญในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค มีคนกล่าวว่า นักธุรกิจเป็นผู้มองโลกในแง่ร้ายในระยะสั้น ก็เป็นผู้มองโลกในแง่ดีในระยะยาว หากชอบอยู่สบายโดยไม่ระมัดระวังภัยที่จะเกิดขึ้น ธุรกิจก็ไม่สามารถทำได้ดี หากไม่มีวิสัยทัศ์กว้างไกลและความคิดหลักแหลม ธุรกิจก็ไม่สามารถเจริญก้าวหน้าได้ด้วยเหมือนกัน หวังว่าเพื่อนมิตรต่าง ๆ ในวงการธุรกิจจะประยุกต์ใช้จิตวิญญาณของนักธุรกิจให้ดี ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างแข็งขัน มีส่วนร่วมอยู่ในการปฏิรูปเปิดประเทศของจีนและการสร้างความทันสมัยแบบจีนอย่างแข็งขัน สร้างคุณูปการสำคัญต่อการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก

ขอบคุณครับ


อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]