• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • นักข่าวสื่อหลักของจีนประจำประเทศไทย เผย ทุเรียนไทยยังครองสัดส่วนหลักส่งออกไปจีน …

นักข่าวสื่อหลักของจีนประจำประเทศไทย เผย ทุเรียนไทยยังครองสัดส่วนหลักส่งออกไปจีน …

นักข่าวสื่อหลักของจีนประจำประเทศไทย เผย ทุเรียนไทยยังครองสัดส่วนหลักส่งออกไปจีน และคนจีนมีความต้องการทุเรียนเพิ่มต่อเนื่อง
.

นักข่าวชาวจีนของ China Media Group (CMG) สื่อหลักของจีน ที่ประจำอยู่ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ได้เขียนเล่าเรื่องประสบการณ์ของตนเองต่อทุเรียนไทย ในฐานะของทั้งนักข่าวและชาวจีนที่อยู่ในไทย ได้สัมผัสกับทุเรียนในไทยด้วยตนเอง
.
โดยระบุว่า คนจีนรวมถึงตัวของนักข่าวท่านนี้เอง เมื่ออยู่ที่จีน ส่วนใหญ่ก็จะรู้จักและได้ลิ้มลองแต่ทุเรียนไทยพันธุ์หมอนทอง ซึ่งสาเหตุที่หมอนทองส่งไปขายในจีนจำนวนมาก สาเหตุหนึ่งมาจาก “มีอายุในการเก็บรักษาที่นาน”
.
แต่พอได้มาที่ไทย ถึงรู้ว่า ทุเรียนไทยมีหลากหลายพันธุ์และมีจุดเด่นมีรสชาติแตกต่างกันไป
.
ทางนักข่าวของ CMG สื่อหลักของจีนท่านนี้ ยืนยันด้วยว่า “ทุเรียนไทยยังคงส่งไปตลาดจีนจำนวนมาก” โดยหากดูข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์บ้านเรา พบว่า ปี 2565 ทุเรียนไทยไปจีนสูงถึงกว่า 96% ของการส่งออกทุเรียนไทยทั้งหมด
.
โดย ณ ขณะนี้ การส่งออกทุเรียนไทยไปจีน เริ่มลดระยะเวลาให้สัันลง จากเดิมขนส่งทางบกและทางเรือ ใช้เวลา 5-7 วัน เหลือราว 3 วัน ด้วยการขนส่งทางรถไฟลาวจีน จากภาคตะวันออกของไทย แหล่งปลูกทุเรียนที่สำคัญ ไปยังคุนหมิง ประเทศจีน อันนี้เป็นข้อมูลที่ทางนักข่าวได้ระบุไว้ครับ
.
ในโพสต์ของนักข่าว ที่ผมคิดว่าน่าสนใจมาก อีกประเด็นหนึ่ง ก็คือ ได้กล่าวถึง “ทุเรียนไทยปัจจุบัน แม้จะส่งออกมาก แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อปริมาณความต้องการของจีน ที่นับวันมีความต้องการในทุเรียนเพิ่มต่อเนื่อง” และคู่แข่งที่สำคัญของไทยคือประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน อย่าง เวียดนาม มาเลเซีย ดังนั้นไทยต้องให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพและความเป็นผู้นำในตลาดทุเรียนจีนต่อไป
.
อ้ายจงเล่าเรื่องจากโพสต์ของนักข่าวชาวจีน จาก https://content-static.cctvnews.cctv.com/snow-book/index.html?item_id=3862121964578358829

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #ทุเรียน #ไทย #จีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]