ตอนนี้กระแส GPT, ChatGPT และ Generative AI (AI มี่ใช้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ จากชุดข้อมูลที่มี ที่ผ่านการเรียนรู้มาแล้ว) ยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องทั่วโลก รวมถึงที่ไทย และในจีนเอง ฌดยตอนนี้มหาวิทยาลัยที่จีน ก็มีการพูดถึง Generative AI ตัวอย่างเช่น GPT อย่างแพร่หลาย และในจีนก็มีการวิจันและพัฒนาของตนเองในลักษณะเดียวกับ GPT และแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วย GPT ยอดฮิตอย่าง ChatGPT
.
กระแสดังกล่าวนี้ ทำให้ทุกวงการหันมาตระหนักถึง AI ไม่ใช่แค่ในวงการเทคโนโลยีอีกต่อไป โดยเฉพาะทางสายธุรกิจ เป็นหนึ่งในวงการที่ AI เข้ามามีบทบาทมาก ก็ตื่นตัวมากตามไปด้วย ในมหาวิทยาลัยที่จีน ตอนนี้สายบริหารธุรกิจและสายอื่นๆที่ไม่ได้เป็นสายเทคโนโลยีโดยตรง ได้เริ่มสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ AI โดยสอนให้เข้าใจแนวคิดด้วย
.
ตัวอ้ายจงเอง ที่มาทั้งจากสายเทคโนโลยี (ปตรีและปโท จบทางด้าน Computer science and engineering) และตอนนี้เป็นอาจารย์การตลาด คณะบริหารธุรกิจ ม.เชียงใหม่ จึงสนใจทางสายนี้เป็นพิเศษเช่นกัน
.
และผมก็ได้รับโอกาสจากสถาบันการศึกษาหลายแห่งให้บรรยายประเด็น MarTech (Marketing Technology) และ การประยุกต์ใช้ AI มาหลายปีแล้ว
.
ล่าสุดก็บรรยายประเด็น GPT ครับ
.
ผมได้เล่าเรื่องพื้นฐานของ AI , Machine Learning (ML) ,Deep learning ,Large Language Model (LLM) Pre-trained model, การ Fine-tuning model เพื่อให้เข้าใจถึงว่า อะไรคือ GPT และมาเป็น ChatGPT ยังไง หลักการทำงานคืออะไร จากนั้นถึงคุยเรื่องการประยุกต์ใช้ในสายธุรกิจและการตลาด เฉพาะเจาะจงลงไป
.
เพราะส่วนใหญ่ เราจะจะเน้นการใช้งานเลย แต่อาจจะไม่รู้ที่มาที่ไป ในการเล่าของผม ไม่ได้ลงลึก technical เพราะบรรยายในสายธุรกิจมากกว่าเทคโนโลยีจ๋าๆ เอาให้พอเข้าใจที่มาที่ไป ผ่านตัวอย่างจริง
.
Prompt engineering ที่ตอนนี้ได้รับความสนใจมาก เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ผมเล่าเช่นกัน
.
นับตั้งแต่มีการนำ AI มาประยุกต์ใช้แพร่หลาย ไม่ใช่จำกัดแค่ในแวดวงเทคโนโลยี โดยกล่าวโดยคร่าวๆ ผู้ที่ทำงานในสาย Prompt engineering จะทำหน้าที่สื่อสารกับ AI ให้ทำงานตามเป้าที่เราต้องการให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
.
ดังนั้นตัว prompt หรือคำสั่งที่เราใช้ในการสื่อสาร จะต้องสามารถทำให้ AI เข้าใจเป้าหมายและบริบทสิ่งที่ต้องทำงานได้ ผู้ที่ป้อน prompt จึงต้องเข้าใจหลักการทำงานของ AI และเข้าใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ เช่น ถ้าเอามาใช้ในสายงาน Supply chain ก็ต้องมีความรู้ทางสายนั้น เพื่อสามารถตรวจสอบได้ด้วยว่า สิ่งที่ AI ประมวลผลให้เรา ถูกหรือไม่?
.
อย่างไรก็ตาม ขอฝากประเด็นถึงการใช้ Generative AI อย่างเช่น ChatGPT ควรคำนึงถึงประเด็น Ethics และ Plagiarism การคัดลอกทำซ้ำข้อมูลด้วย โดยเฉพาะทางวิชาการ
.
เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมได้ตรวจเปเปอร์งานวิจัย งานหนึ่ง พบว่า มีแนวโน้มใช้ ChatGPT ช่วยเขียนเนื้อหาหลายส่วน แม้แต่ Abstract และ Discussion (Conclusion) (โดยผมตรวจทั้งจาก zerogpt.com และถาม ChatGPTเอง ตัวระบบตอบว่า generated โดยเก๊าเอง ? )
.
ผมมองในแง่ดีว่า คงไม่ได้ตัังใจจะใช้ความคิด AI generateให้มาใส่ในงานของตน แต่คงจะใช้เพื่อแก้ไขไวยากรณ์การเขียนภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามในมุมผม ผมก็มองว่า มันก็คือการคัดลอกจาก AI นะ เพราะตามหลักของ ChatGPT มันไม่ได้แค่แก้ในสิ่งที่เราคิดเราเขียน แต่สร้างใหม่ในแบบที่ระบบต้องการและแสดงออกมา โดยเอาจากที่มีใน datasetขนาดใหญ่มา generate
.
ดังนั้นควรใช้ ChatGPT ใช้ AI อย่างระวัง รวมทั้งในงานวิชาการ สำหรับเปเปอร์วิจัยชิ้นนั้นที่ผมตรวจ ผมคิดว่าสิ่งนี้เข้าข่าย Plagiarism จึงให้กลับไปแก้ไขตามระเบียบ
.
หากใครสนใจด้านนี้ ราวมพูดคุยกันได้นะครับ
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง