เศรษฐกิจมณฑลซานตง ปี 2563 ขยายตัว 3.6% GDP สูงเป็นอันดับ 3 ของจีน

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2563
    ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของมณฑลซานตงในปี 2563 มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากมณฑลกวางตุ้ง และมณฑลเจียงซู โดยมีมูลค่า 7,312,900 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา แบ่งเป็น
    – อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิมีมูลค่าเพิ่ม 536,376 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7
    – อุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิมีมูลค่าเพิ่ม 2,861,219 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3
    – อุตสาหกรรมขั้นตติยะภูมิมีมูลค่าเพิ่ม 3,915,305 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9
    โดยสัดส่วนของมูลค่าผลผลิตที่เกิดจากอุตสาหกรรมทั้ง 3 ประเภทต่อ GDP แบ่งเป็น 7.3 : 39.1 : 53.6
  2. ภาคอุตสาหกรรม
    2.1 ภาคการผลิต มูลค่าอุตสาหกรรมการผลิตรวม 2,311,100 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 5 โดยอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 และอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8
    2.2 ภาคการเกษตร
    มูลค่าผลผลิตภาคการเกษตรรวม 1,019,060 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เป็นมณฑลแรกที่มีมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรทะลุล้านล้านหยวน ผลผลิตข้าวและธัญพืช 54,470,000 ตัน เพิ่มขึ้น 900,000 ตัน มีผลผลิตเกิน 50 ล้านตัน ติดต่อกันมาเป็นเวลา 7 ปี
    – ผลผลิตเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะและเนื้อสัตว์ปีก มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ไข่จากสัตว์ปีก เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ผลผลิตนมวัว 24,140,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ผลผลิตผลิตภัณฑ์ทางทะเล 79,020,000 ตัน
    2.3 ภาคการบริการ มีมูลค่าเพิ่ม 3,915,310 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 53.6 ของ GDP มณฑลซานตง
    รายได้จากการท่องเที่ยว 601,970 ล้านหยวน ลดลงจากปีก่อนหน้าเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
    – บริการไปรษณีย์และโทรคมนาคมมีมูลค่ารวม 819,380 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
    บริการส่งพัสดุแบบด่วน (Express Delivery) มีมูลค่า 4,150 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 43.7
    – บริการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟ ทางถนนและทางน้ำมีปริมาณรวม 3,090 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1
    – บริการขนส่งสินค้าผ่านทางท่าเรือชายฝั่งทะเลมีปริมาณรวม 1,690 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9
  3. ภาคการลงทุน
    – การลงทุนในทรัพย์สินถาวร เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
    – การลงทุนภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 คิดเป็นร้อยละ 63.9 ของการลงทุนทั้งหมด
    – การลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6
    – การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 945,050 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7
    มูลค่าการใช้เงินทุนจากต่างประเทศ 17,650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นอันดับ 4 ในประเทศ เติบโตร้อยละ 20.1
  4. การค้าต่างประเทศ
    มูลค่าการนำเข้าและส่งออก 2,200,940 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 แบ่งเป็น มูลค่าการส่งออก 1,305,480 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 และมูลค่าการนำเข้า 895,460 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 4.1
    – มูลค่าการนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศตามแถบนโยบาย BRI 660,820 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 แบ่งเป็น มูลค่าการส่งออก 388350 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 มูลค่าการนำเข้า 242470 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 1.6
    มูลค่าการค้าระหว่างมณฑลซานตงกับประเทศไทย 50,280 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา แบ่งเป็น มูลค่าการส่งออก 25,960 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 มูลค่าการนำเข้า 24,330 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 13.6
  5. การเงินและการธนาคาร
    รายได้ของรัฐบาล (General budget revenue) 655,990 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน
    ของปีที่ผ่านมา โดยรายได้จากภาษีลดลงร้อยละ 1.9
    – การระดมทุนทางสังคม (Social financing) 2,010,800 ล้านหยวน คิดเป็น 1.5 เท่าของปีที่ผ่านมา
    – ยอดเงินกู้สกุลเงินหยวนและเงินต่างประเทศของสถาบันการเงิน 9,788,060 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4
  6. การบริโภค
    ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เนื่องจากผลกระทบจากราคาเนื้อสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด
    – มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค 2,924,800 ล้านหยวน ยอดขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะและอุปกรณ์บันทึกเสียงและวิดีโอ เพิ่มขึ้น 1.6 เท่า รถยนต์พลังงานใหม่ เพิ่มขึ้น 49.1 เท่า เครื่องใช้ในครัวเรือนที่มีดัชนีวัดประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency Indicator: EEI) ระดับ 1 และระดับ 2 (ระดับ 1 ประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากล ถึงระดับ 5 ประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสินค้าที่เข้าสู่ตลาด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.8
    – รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยต่อคนของประชากร 20,940 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.53
  7. การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชากร
    รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร 32,886 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในเขตเมือง 43726 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในเขตชนบท 18,753 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5
    – อัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นใหม่ในเขตเมือง 1,227,000 คน มีอัตราการขึ้นทะเบียนคนว่างงานในเขตเมืองร้อยละ 3.1 ลดลงร้อยละ 0.19 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
    – ผู้ที่อยู่อาศัยในมณฑลซานตงเข้าร่วมโครงการประกันชราภาพ 45,904,000 คน และเข้าร่วมโครงการประกันสุขภาพ 73,745,000 คน

แหล่งที่มา
http://tjj.shandong.gov.cn/art/2021/2/28/art_6196_10285382.html

webmaster

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]