• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • อุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ส่านซีล้ำ ส่วนสนับสนุนสำคัญของยานอวกาศบรรทุกสินค้าเทียนโจวหมายเลข 2 – thaibizchina

อุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ส่านซีล้ำ ส่วนสนับสนุนสำคัญของยานอวกาศบรรทุกสินค้าเทียนโจวหมายเลข 2 – thaibizchina

วันที่ 29 พฤษภาคม 2564 เวลา 20:55 น. ยานอวกาศขนส่งสินค้าเทียนโจวหมายเลข 2 (天舟二号) ประสบความสำเร็จในการปล่อยตัวจากสถานที่ปล่อยอวกาศเหวินชาง (文昌) ในมณฑลไห่หนาน (海南省) ต่อมาใน วันที่ 30 พฤษภาคม 2564 เวลา 05.21 น. ยานอวกาศขนส่งสินค้าเทียนโจวหมายเลข 2 ประสบความสำเร็จในการตั้งค่าวงโคจร โดยได้เชื่อมต่อกับพอร์ตด้านหลังของเทียนเหอ (天和)[1] ซึ่งเป็นสถานีย่อยหลักของสถานีอวกาศ “เทียนกง” ใช้เวลาทั้งสิ้น 8 ชั่วโมง โดยมีหน่วยงานหลายแห่งในมณฑลส่านซีให้การสนับสนุนความสำเร็จในครั้งนี้ อาทิ

  1. สถาบันวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบินและอวกาศแห่งชาติที่ 6 (The Sixth Research Institute of China Aerospace Science and Technology Corporation: 中国航天科技集团第六研究院) สนับสนุนเครื่องยนต์แรงขับขนาด 120 ตัน จำนวน 6 เครื่อง และเครื่องยนต์น้ำมันก๊าดออกซิเจนเหลว (Liquid oxygen kerosene engine) 4 เครื่อง สำหรับขับเคลื่อนจรวดฉางเจิงหมายเลข 7 (长征七号) เครื่องยนต์ทั้ง 10 เครื่องนี้ให้กำลังเพียงพอในการส่งยานฯ เทียนโจวหมายเลข 2 ขึ้นสู่วงโคจร ณ จุดนัดพบเพื่อเทียบท่ากับยานอวกาศหลักของสถานีอากาศเทียนเหอ
  2. สถาบันวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบินและอวกาศแห่งชาติที่ 5 (The Fifth Research Institute of China Aerospace Science and Technology Corporation: 中国航天科技集团第五研究院) นครซีอาน ได้พัฒนาสถานีต่อเนื่องกลางและเครือข่ายเสาอากาศ โดยเมื่อยานฯ เทียนโจวหมายเลข 2 เข้าสู่อวกาศแล้ว สถานีต่อเนื่องกลางจะต้องเปิดโดยเร็วที่สุด เพื่อตั้งค่าระบบการสื่อสาร การวัดและควบคุมระยะทางพื้นที่จากสถานีถ่ายทอดยานอวกาศขนส่งสินค้าไปยังดาวเทียมถ่ายทอดสู่พื้นดินผ่านระบบการสื่อสาร โดยมีเจ้าหน้าที่วัดและควบคุมภาคพื้นดินสามารถรับรู้ “การขับระยะไกล” ของยานอวกาศขนส่งสินค้าเทียนโจวหมายเลข 2
  3. สถาบันวิจัยการบินและอวกาศแห่งชาติแห่งที่ 9 (No. 771 Research Institute of the Ninth Research Institute of China Aerospace Science and Technology Corporation Limited: 中国航天科技集团第九研究院771所) ได้วิจัยและพัฒนาระบบควบคุมยานอวกาศ ซึ่งเสมือนศูนย์กลางเส้นประสาทของยานฯ เทียนโจวหมายเลข 2 โดยทำหน้าที่จัดเก็บ ควบคุม ประมวลผล และส่งต่อข้อมูลและคำแนะนำต่างๆ
  4. ศูนย์วัดและควบคุมดาวเทียมนครซีอาน (西安卫星测控中心) เป็นศูนย์สำรองข้อมูลการคำนวณวงโคจร ซึ่งประสบความสำเร็จในการกำหนดวงโคจรเป้าหมายคู่ของยานฯ เทียนโจวหมายเลข 2 และสถานีอวกาศ เทียนเหอ และการคำนวณเส้นทางบินแบบเรียลไทม์

ยานฯ เทียนโจวหมายเลข 2 ได้บรรทุกเสบียง อุปกรณ์การดำรงชีพของนักบินอวกาศ ชุดอวกาศนอกยานและชิ้นส่วนอุปกรณ์ของสถานีอวกาศ หลังจากเสร็จสิ้นการเทียบท่ากับสถานีอวกาศเทียนเหอแล้ว ยานฯ เทียนโจวหมายเลข 2 จะสิ้นสุดภารกิจและโคจรอยู่ในอวกาศต่อไป ซึ่งถือเป็นยานอวกาศบรรทุกสินค้าจากโลกลำแรกที่ขนส่งสินค้าให้แก่นักบินอวกาศนอกโลก ความสำเร็จของวงการยานอวกาศและการบินในคราวนี้ถือเป็นการยืนยันถึงศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของมณฑลส่านซีได้เป็นอย่างดี ปัจจุบัน มณฑลส่านซีเป็นแหล่งที่ตั้งของสถาบันการศึกษาชั้นนำกว่า 63 แห่ง และมีนักวิชาการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก 2 สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (Chinese Academy of Science) และสถาบันวิศวกรรมแห่งชาติ (Chinese Academy of Engineering) มากถึง 61 ราย

原文:https://esb.sxdaily.com.cn/pc/content/202105/31/content_757034.htmlhttps://esb.sxdaily.com.cn/pad/content/202105/31/content_757034.html43陕西科技助力天舟二号“太空快递”精准送达/enpproperty本文来源:陕西日报

https://mp.weixin.qq.com/s/8ZqK5WEH24zugIPQwuWVIg

[1] สถานีอวกาศเทียนเหอเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของสถานีอวกาศ “เทียนกง” ของจีน

webmaster

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]