ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 (เดือน ม.ค. – มิ.ย. 2564) ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) มณฑลส่านซี มีมูลค่า 1.357 ล้านล้านหยวน อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 10.2 จำแนกเป็น
– อุตสาหกรรมปฐมภูมิ 66,882 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ 5.5
– อุตสาหกรรมทุติยภูมิ 636,267 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ 10.6
– อุตสาหกรรมตติยภูมิ 651,111 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ 10.3
ในส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของนครซีอานมีมูลค่า 509,962 ล้านหยวน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.19 ของ GDP มณฑลส่านซี) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 7.8
- ภาคการเกษตร
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 (เดือน ม.ค. – มิ.ย. 2564) ผลผลิตภาคการเกษตรโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 อาทิ (1) ข้าวและธัญพืชฤดูร้อน (Summer Grains) 4.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 171,100 ตันจากปี 2563 (2) ผลผลิตผักสดและพืชตระกูลเห็ด เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และ (3) ปริมาณสุกร 8.49 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 0.5
- อุตสาหกรรมการผลิต
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 (เดือน ม.ค. – มิ.ย. 2564) ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของมณฑลส่านซีปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.6 ในจำนวนนี้คือ (1) อุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 (2) อุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3
นอกจากนี้หากจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม พบอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวสูงสุด ได้แก่ (1) การผลิตเครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.7 (2) อุตสาหกรรมการผลิตพลังงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 (3) อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 (4) อุตสาหกรรมการขุดเจาะถ่านหิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 และ (5) อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์สื่อสาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 8
- การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและโครงการก่อสร้าง
การลงทุนในกิจการพัฒนาที่ดินเพื่อการอสังหามีมูลค่าร่วม 375,460 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 และมีมูลค่าการลงทุนตามสัญญาพัฒนาที่ดินเพื่อโครงการก่อสร้างสูงถึง 1.4 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5
- อุตสาหกรรมบริการ
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 (เดือน ม.ค. – มิ.ย. 2564) อุตสาหกรรมบริการในกลุ่มไปรษณีย์และการจัดการคลังสินค้า จัดเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการปรับตัวเพิ่มมากที่สุดร้อยละ 25.1 โดยมีกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งสินค้า กลุ่มธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร และกลุ่มธุรกิจการขนส่ง มีอัตราการเติบโตรองลงมาที่ร้อยละ 14.9, 12.6 และ 11.6 ตามลำดับ
- รายได้ประชากรต่อหัว
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 (เดือน ม.ค. – มิ.ย. 2564) รายได้ประชากรเขตเมือง (Disposable Income Per Capita of Urban Residents) เฉลี่ยต่อหัว 20,346 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 และรายได้ประชากรเขตชนบท (Disposable Income Per Capita of Rural Residents) เฉลี่ยต่อหัว 7,488 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 โดยอัตราการเติบโตของรายได้ประชากรของมณฑลส่านซี อยู่ในอันดับที่ 10 ของประเทศ อันดับที่ 3 ของภูมิภาคตะวันตกรองจากมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่ง
- ภาพรวมการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางขนส่งสินค้านานาชาติ “ฉางอันห้าว”
ข้อมูลเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2564 รายงานว่าสถิติตั้งแต่เดือน ม.ค. – 7 ก.ค. 2564 เส้นทางขนส่งสินค้านานาชาติ “ฉางอันห้าว”1 บรรทุกสินค้าไปแล้วกว่า 1.5 ล้านตัน รวม 82,134 ตู้ขนส่ง เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ 8.38 และ 13.12 ตามลำดับ โดยยังคงครองอันดับ 1 เส้นทางขนส่งสินค้านานาชาติสู่ทวีปยุโรปที่มีปริมาณการขนส่งและจำนวนเที่ยวการขนส่งสูงสุดของจีน
“ฉางอันห้าว” ได้เปิดรอบปฐมฤกษ์การขนส่งสินค้าไปยังกรุงปราก สาธารณเช็ก ขนส่งอุปกรณ์เครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กภายในบ้านรวม 50 ตู้บรรทุก ซึ่งถือเป็นรอบเฉลิมฉลองการขนส่งสินค้าไปยังยุโรปครบ 2,000 เที่ยวของ “ฉางอันห้าว” ประจำปี 2564 อีกด้วย
ปัจจุบัน “ฉางอันห้าว” เปิดให้บริการขนส่งสินค้าไปยังทวีปยุโรปอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยขบวนละ 41-50 ตู้บรรทุกข้อมูลเพิ่มเติมจาก สนง. การรถไฟนครซีอาน (西安局集团公司) ระบุว่า ในช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย. 2564 “ฉางอันห้าว” จะดำเนินการปรับรูปแบบการขนส่ง ตลอดจนความถี่ของเส้นทางการขนส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้มากขึ้น เบื้องต้น (1) จะเพิ่มจำนวนเส้นทางไป-กลับจากเดิมที่มี 7 เส้นทางให้เป็น 10 เส้นทาง (2) ยุบรวบเส้นทางที่มีความใกล้เคียงกันมากเกินไปหรือไม่ทำกำไรโดยอาจพิจารณาเป็นเที่ยวการขนส่งเฉพาะกิจแทน (3) เพิ่มความถี่ในการปล่อยรอบการขนส่งจากเดิมในปัจจุบันเฉลี่ย 9.7 ขบวน/วัน เป็น 10.2 ขบวน/วัน และ (4) ส่งเสริมรูปแบบการขนส่งที่เชื่อมโยงกับ “เส้นทางเมืองรอง” + “ทวีปยุโรปตะวันตก” มาปรับใช้ เนื่องจากในปี 2563 มณฑลส่านซีประสบความสำเร็จในการผลักดันเส้นทางขนส่งสินค้าจากเมืองรองไปยังทวีปยุโรป (แต่อย่างไรก็ต้องมาบรรจบที่นครซีอานก่อน) โดยในไตรมาสที่ 3 นี้ มณฑลส่านซีจะมุ่งบูรณาการกับเมืองใหญ่บริเวณเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง2 เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล3 และ เขตเศรษฐกิจจิง-จิน-จี้4 เพื่อเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าสู่ทวีปยุโรปให้มากขึ้นอีกด้วย
7. การค้าระหว่างประเทศ
ข้อมูลจากศุลกากรนครซีอาน รายงานมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ รวม 222,970 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 จำแนกเป็น
– การส่งออก 112,220 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3
– การนำเข้า 110,750 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21
7.1 สินค้าส่งออกหลักของมณฑลส่านซี ได้แก่ (1) ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า มีปริมาณการส่งออกเป็นอันดับ 1
ของมณฑลโดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90 ของมูลค่าการส่งออกทั้งมณฑล (2) น้ำมันพืช 57,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 586.6 และ
(3) เซมิคอนดักเตอร์ 15,500 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 98
7.2 คู่ค้า 4 อันดับแรกที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด คือ (1) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง 18,920 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.7 (2) สหภาพยุโรป 26,720 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 (3) สหรัฐอเมริกา 18,380 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.1 และ (4) กลุ่มประเทศบนแถบเส้นทางสายไหม 36,240 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9
7.3 การค้าระหว่างประเทศระหว่างมณฑลส่านซีกับกลุ่มประเทศบนแถบเส้นทางสายไหมรวม 36,240 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 จำแนกเป็น (1) การส่งออก 24,240 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 และ (2) การนำเข้า 11,990 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 54
โดยประเทศคู่ค้าของส่านซีกับประเทศบนแถบเส้นทางสายไหมที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด 4 อันดับแรกคือ (1) อินเดีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 259.8 (2) รัสเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 114.3 (3) โปแลนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 187.5 และ (4) ปากีสถาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 250.9
7.4 การค้าระหว่างประเทศระหว่างมณฑลส่านซี-อาเซียน รวม 20,401 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4
7.5 การค้าระหว่างประเทศมณฑลส่านซี-ไทย รวม 1,630 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.98 จำแนกเป็น (1) ส่านซีนำเข้าจากไทย 141.7 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ 22.2 และ (2) ส่านซีส่งออกไปไทย 1,489.227 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ 59.03
สินค้าหลักที่มณฑลส่านซีนำเข้าจากไทย 5 อันดับแรก คือ
- เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าฯ 64.687 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 11.19
- ยางและของที่ทำด้วยยาง 31.67 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 570.25
- ผลไม้และลูกนัตที่บริโภคได้ 26.15 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.35
- เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ บอยเลอร์ เครื่องจักร เครื่องใช้กลฯ 7.14 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 17.8
- ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม 5.84 ล้านหยวน (ติดอันดับเป็นครั้งแรก)
สินค้าหลักที่มณฑลส่านซีส่งออกไปไทย 5 อันดับแรก คือ
- เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าฯ 663.22 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.4
- อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ 150.97 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 980.68
- เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ บอยเลอร์ เครื่องจักร เครื่องใช้กลฯ 136.55 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 118.22
- ผลไม้และลูกนัตที่บริโภคได้ฯ 111.34 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 3.25
- เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 94.35 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 14.93
สรุปภาพรวมสภาวะเศรษฐกิจของมณฑลส่านซีในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 (เดือน ม.ค. – มิ.ย. 2564) ยังคงเร่งพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจผ่านการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการนำเข้าส่งออกที่มุ่งเสาะหาประเทศคู่ค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ส่านซียังตั้งเป้าใช้ประโยชน์จากการเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาแห่งชาติ ซึ่งได้เร่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ระบบสื่อสารและอินเทอร์เน็ตซึ่งได้ติดตั้งเสาสัญญาณเพื่อขยายคุณภาพสัญญาณ 5G ในเขตเมืองและพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังได้สะดวกสบายมากขึ้นเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจภาคบริการ ซึ่งเป็น 1 ในอุตสาหกรรมทำเงินหลักของมณฑลส่านซี แม้ปัจจุบัน จะพบการแพร่ระบาดของเชื้อฯ COVID-19 สายพันธุ์เดลต้า ในหลายพื้นที่ของจีน แต่มณฑลส่านซีได้ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการลงพื้นที่ตรวจหาเชื้อฯให้แก่ประชาชนในวงกว้าง ตลอดจนมาตรการพ่นฆ่าเชื้อโรค จำกัดการเข้า-ออกพื้นที่สาธารณะ รวมถึงการนำฐานข้อมูลสัญญาณโทรศัพท์มาใช้ในการวิเคราะห์และสืบสวนโรคได้อย่างแม่นยำ เชื่อได้ว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ดี เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นเจ้าภาพงานมหกรรมกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 14 ที่กำลังจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-27 ก.ย. 2564 นี้
ข้อมูลอ้างอิง
- https://www.sohu.com/a/478690185_350221
- http://district.ce.cn/zg/202107/28/t20210728_36758269.shtml
- https://baijiahao.baidu.com/s?id=1707165287293832246&wfr=spider&for=pc
- https://baijiahao.baidu.com/s?id=1704713130673317867&wfr=spider&for=pc
- http://www.cnr.cn/sxpd/sx/20210708/t20210708_525529996.shtml
The post เศรษฐกิจส่านซีครึ่งแรกของปี 64 สดใส ขยายตัว 10.2% การค้ากับไทยพุ่งกว่า 54.98% appeared first on thaibizchina.