เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2564 สำนักงานสถิติเขตฯ หนิงเซี่ยหุยรายงานสภาวะเศรษฐกิจเขตฯ หนิงเซี่ยหุยในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 (เดือน ม.ค. – มิ.ย.) ประจำปี 2564 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
- ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 (เดือน ม.ค. – มิ.ย.)
ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) มูลค่ารวม 202,882 ล้านหยวน อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 11.2 จำแนกเป็น
– อุตสาหกรรมปฐมภูมิ 8,513 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5
– อุตสาหกรรมทุติยภูมิ 88,303 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7
– อุตสาหกรรมตติยภูมิ 106,066 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9
- ภาคการเกษตรและปศุสัตว์
ภาคการเกษตรและปศุสัตว์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 มีมูลค่ารวม 19,778 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7
- อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (Large-scale industries)
มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ 11.7 หากจำแนกตามกลุ่มประเภทอุตสาหกรรมแล้ว พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีระดับสูง มีอัตราการเติบโตในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 (เดือน ม.ค. – มิ.ย.) มากที่สุดที่ร้อยละ 56.9 ตามด้วยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ด้านการผลิตอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.5
- การบริโภคในพื้นที่
ยอดการค้าปลีกในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 (เดือน ม.ค. – มิ.ย.) รวม 64,035 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าการค้าออนไลน์ 14,740 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.6 และธุรกิจการขนส่งสินค้าและไปรษณีย์เติบโตขึ้นกว่าร้อยละ 66.8
- รายได้ประชากรต่อหัวและอัตราการจ้างงานในพื้นที่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 (เดือน ม.ค. – มิ.ย.)
– รายได้ประชากรทั้งเขตเฉลี่ยที่ 12,232 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 จำแนกเป็น
– รายได้ประชากรเขตชนบท (Disposable Income Per Capita of Rural Residents) 5,643 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5
– รายได้ประชากรใเขตเมือง (Disposable Income Per Capita of Urban Residents) 17,756 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 นอกจากนี้ พบข้อมูลอัตราการจ้างงานในช่วงครึ่งปีแรกปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 22.2 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 มีประชาชนได้รับการจ้างงานเพิ่มขึ้น 58,000 คน อัตราขึ้นทะเบียนว่างงานร้อยละ 3.87 ลดลงร้อยละ 0.18
- การค้าระหว่างประเทศในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 (เดือน ม.ค. – มิ.ย.)
6.1 การค้าระหว่างประเทศของเขตฯ หนิงเซี่ยหุยรวม 7,350 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 จำแนกเป็น
– การส่งออก มูลค่า 5,360 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8
– การนำเข้า มูลค่า 1,990 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2
6.2 เมืองที่มีอัตราการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศสูงสุด 3 อันดับแรก คือ
– นครหยินชวน (银川市) 4,070 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.2
– เมืองสือจุ่ยซาน (石嘴山市) 1,980 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 0.1
– เมืองอู๋จง (吴忠市) 150 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2
6.3 คู่ค้าสูงสุด 5 อันดับแรก (1) ญี่ปุ่น 968.54 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 (2) อินเดีย 685.04 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.82 (3) สหรัฐอเมริกา 627 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.13 (4) เกาหลีใต้ 461.22 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.25 และ (5) กานา 406.68 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 104.6
6.4 สินค้านำเข้าหลักของเขตฯ หนิงเซี่ยหุย คือ (1) แร่โลหะและแร่ 690 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 (2) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 630 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.1 (3) ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแปรรูป 120 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 176.7 (4) เหล็ก 70 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 41 และ (5) โพลีซิลีกอน 60 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 โดยทั้ง 5 กลุ่มสินค้านำเข้าข้างต้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78.9 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด
6.5 สินค้าส่งออกหลักของเขตฯ หนิงเซี่ยหุย คือ (1) สารเคมีอินทรีย์ 1,010 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 (2) อุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 880 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.5 (3) ยารักษาโรคและวัสดุการแพทย์ 830 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 นอกจากนี้ พบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแปรรูป โลหะผสมเหล็ก และล้อยางรถยนต์
มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.3, 10.1 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ โดยกลุ่มสินค้านำเข้าข้างต้นคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 69.4 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
6.6 อุตสาหกรรมเกษตรที่มีการส่งออก (1) อุตสาหกรรมเก๋ากี้ 100 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 29 (2) อุตสาหกรรมไวน์ 3.71 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.4 (3) อุตสาหกรรมเนื้อวัวแปรรูป 7.14 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 323.5 (4) อุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อแพะ (แบบเลาะกระดูก) 1.73 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 203.7 และ (5) วัตถุดิบไส้เทียมเพื่อการทำไส้กรอก 7.58 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5
สรุปภาพรวมสภาวะเศรษฐกิจของเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 ยังคงขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายหลังประกาศหลุดพ้นความยากจนเมื่อเดือนธันวาคม 2563 รัฐบาลเขตฯ เร่งส่งเสริมให้เกิดการ จ้างงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่องด้วยจุดเด่นในด้านแรงงาน อัตราค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 1,660 หยวน/เดือน ต่ำเป็นอันดับต้น ๆ ของจีน แต่ก็พบความพยายามในการยกระดับอัตราค่าแรงขั้นต่ำครั้งใหม่เฉลี่ย 1,950 หยวน/เดือน ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ก.ย. 2564 นี้) ซึ่งส่งผลดีต่อการจ้างงานในพื้นที่ ไม่เพียงครอบคลุมเฉพาะภาคการเกษตรและปศุสัตว์ที่เป็นอุตสาหกรรมหลักของพื้นที่ แต่ยังรวมไปถึงภาคการผลิตที่สามารถส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้เพื่อเพิ่มผลิตผลให้มากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาแม้รัฐบาลเขตฯ หนิงเซี่ยหุยจะพยายามส่งเสริมและลงทุนในอุตสาหกรรมสมัยใหม่เพื่อเพิ่มโอกาสในการผลิตสินค้าที่มีคุณค่าและมูลค่าสูงแล้วก็ตาม แต่ยังขาดแคลนการลงทุนในระบบสาธารณูปโภคที่จะส่งเสริมให้ก้าวไปสู่ยุคของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ได้ เพราะเขตฯ หนิงเซี่ยหุยยังไม่สามารถอาศัยการผลิตเชิงนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นของตนเองได้มากเท่าที่ควร ส่งผลให้การปรับโครงสร้างการผลิตเป็นไปอย่างล่าช้า กระทบกับรายได้ประชากร และการไหลออกของแรงงาน เขตฯ หนิงเซี่ยหุยจึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยี อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ผ่านการยกระดับนครหยินชวน เมืองเอกของเขตฯ หนิงเซี่ยหุยให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะนำร่อง เพื่อดึงดูดการลงทุนด้านเทคโนโลยีจากวิสาหกิจที่มีชื่อเสียงสู่พื้นที่มากขึ้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2564 คกก. พัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติแห่งเขตฯ หนิงเซี่ยหุยและมูลนิธิพัฒนาเยาวชนเขตฯ หนิงเซี่ยหุยได้เปิดตัวกองทุนนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเยาวชนแห่งแรกของเขตฯ (宁夏首家青少年科技创新基金) ด้วยทุน 5 ล้านหยวน เพื่อสนับสนุนเยาวชนให้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการและกิจกรรม เสริมสร้างแรงบันดาลใจและแนวคิดเชิงสร้างสรรค์
ข้อมูลอ้างอิง
- http://yinchuan.customs.gov.cn/yinchuan_customs/531985/531987/3809926/index.html
- https://www.ndrc.gov.cn/fggz/fgzh/gnjjjc/dqjj/202107/t20210730_1292595.html?code=&state=123
- https://baijiahao.baidu.com/s?id=1708124175982814385&wfr=spider&for=pc
The post เศรษฐกิจหนิงเซี่ยครึ่งปีแรกสดใส เร่งเพิ่มการลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง appeared first on thaibizchina.