ในช่วงเดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา รัฐบาลมณฑลซานตง ได้เผยรายงานเศรษฐกิจในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2564 (มกราคม – กันยายน 2564) ของมณฑลซานตง โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
- ภาพรวมเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อยู่ที่ 6,043,920 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทอุตสาหกรรม |
มูลค่าเพิ่ม (ล้านหยวน) |
สัดส่วนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 (คิดเป็นร้อยละ) |
1. อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ |
412,990 |
7.7 |
2. อุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิ |
2,365,320 |
8.9 |
3. อุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิ |
3,265,610 |
10.9 |
1.1 ภาคเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง
ขยายตัวร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 มูลค่ารวม 785,140 ล้านหยวน โดยยังคงรักษาความสมดุลตลอดปีนี้ สุกรยังคงผลิตอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็นสุกรเลี้ยงในคอกมากกว่า 28 ล้านตัว และสุกรเลี้ยงแบบปล่อยอีกกว่า 33 ล้านตัว สรุปได้ ดังนี้
ประเภทผลผลิต |
มูลค่า (ตัน) |
สัดส่วนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 (คิดเป็นร้อยละ) |
1. ผักสด |
58,803,000 |
3.8 |
2. เนื้อสัตว์ |
6,103,000 |
18.2 |
3. ประมง |
5,246,000 |
7.8 |
1.2 ภาคอุตสาหกรรม
ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ยังคงมีความมั่นคง และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในเดือนกันยายน ขยายตัวร้อยละ 3.2 แบ่งเป็น 5 ภาค อุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ได้แก่ (1) อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ขยายตัวร้อยละ 1.0 (2) อุตสาหกรรมการผลิต ขยายตัวร้อยละ 12.5 (3) อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า ความร้อน ก๊าซ และน้ำ ขยายตัวร้อยละ 10.6 (4) อุตสาหกรรมการผลิตที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง ขยายตัวร้อยละ 19.7 และ (5) อุตสาหกรรมสารสนเทศรุ่นใหม่ ขยายตัวร้อยละ 28.1 รายละเอียด ดังนี้
ประเภท |
สัดส่วนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 (คิดเป็นร้อยละ) |
1. สินค้าทางด้านอุตสาหกรรม
– หุ่นยนต์อุตสาหกรรม – รถยนต์ไฟฟ้า (EV) – แผงวงจรรวม (IC) – อุปกรณ์ Opto-electronics และอื่น ๆ |
60.4 68.2 68.3 76.3 |
2. เศรษฐกิจ
– บริษัทที่รัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้น – บริษัทร่วมทุน – บริษัทที่ถือหุ้นหรือลงทุนโดยชาวต่างชาติ รวมถึงฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน – บริษัทเอกชน |
8.4 12.3 9.0 13.5 |
ในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2564 มีผลกำไรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด 362,100 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563
1.3 ภาคบริการ
ในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2564 เงินรายได้เข้าสู่ภาคบริการทั้งหมด 712,960 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 30.1 และผลกำไรรวม 48,470 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 52.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563
- รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคมูลค่ารวม 2,367,460 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 18.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยในเดือนกันยายน มูลค่ารวม 281,710 ล้านหยวน ขยายตัว ร้อยละ 8.1 รายละเอียด ดังนี้
ประชากร |
มูลค่ารายจ่ายของประชากร เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 (ล้านหยวน) |
สัดส่วนเมื่อเทียบกับ |
1. ประชากรในเมือง |
1,948,850 |
18.7 |
2. ประชากรในชนบท |
418,610 |
18.1 |
ประเภทการใช้จ่าย | มูลค่ารวมเมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปี 2563 (ล้านหยวน) |
สัดส่วนเมื่อเทียบกับ |
1. อาหาร |
268,300 |
29.6 |
2. สินค้าปลีก
– อุปกรณ์กีฬาและความบันเทิง – อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร – เพชร พลอย และอัญมณี – อุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Device) – โทรศัพท์อัจฉริยะ (Smart Phone) |
2,099,160 |
17.3 75.8 61.5 83.9 24.2 65.1 |
3. สินค้าออนไลน์ |
383,910 |
22.6 |
- การลงทุนในทรัพย์สินถาวร
เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 มีการซื้อขายบ้าน มูลค่ารวม 920,240 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 เป็นจำนวนกว่า 108 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 การลงทุนในอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิลดลงร้อยละ 7.6 การลงทุนในอุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิ อุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ การลงทุนภาคเอกชน (Private Investment) เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 และการลงทุนด้านอุตสาหกรรมไฮเทค เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7
- การค้าระหว่างประเทศ
มูลค่าการนำเข้า – ส่งออกรวม 2,118,730 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 แบ่งเป็น (1) มูลค่าการส่งออก 1,233,280 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 (2) มูลค่าการนำเข้ารวม 885,460 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 รายละเอียด ดังนี้
ประเภทสินค้าส่งออก |
สัดส่วนเมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปี 2563 (คิดเป็นร้อยละ) |
เมื่อเทียบกับจำนวนสินค้าส่งออกทั้งหมด (คิดเป็นร้อยละ) |
สินค้าเครื่องจักรกลและไฟฟ้า |
45.0 |
43.5 |
สินค้าทั่วไป |
31.1 |
66.2 |
สินค้าจากบริษัทเอกชน |
39.2 |
70.2 |
เฉพาะในเดือนกันยายน มูลค่าการนำเข้า – ส่งออกรวม 268,320 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 แบ่งเป็น (1) มูลค่าการส่งออก 169,050 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 (2) มูลค่าการนำเข้ารวม 99,280 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1
- ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
ดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 โดยสภาพ CPI ของสินค้าและบริการหลักฯ จำนวน 8 ประเภท มีรายละเอียด ดังนี้
ที่ | รายการ |
สัดส่วนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 (คิดเป็นร้อยละ) |
1 |
อาหาร ยาสูบ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ |
0.7 |
2 |
เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม |
0.1 |
3 |
ที่พักอาศัย |
1.0 |
4 |
สินค้าและบริการในชีวิตประจำวัน |
-0.4 |
5 |
การขนส่งสาธารณะ และโทรคมนาคม |
3.7 |
6 |
การศึกษา ศิลปะ และความบันเทิง |
1.0 |
7 |
การแพทย์ และสาธารณสุข |
0.1 |
8 |
อื่น ๆ |
-1.6 |
- จำนวนผู้มีงานทำและรายได้ประชากร
ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา จำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด 976,000 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และมีอัตราการว่างงานที่ได้มีการขึ้นทะเบียนร้อยละ 3.21
รายได้เฉลี่ยต่อคนโดยรวมของประชากรในมณฑลซานตง 27,313 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในเขตเมือง 35,497 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 และรายได้เฉลี่ยต่อคนของประชากรในเขตชนบท 16,861 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8
ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา มณฑลซานตง มีการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพและเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงขับเคลื่อนสถานการณ์ไปในทางที่ดี อัตราการเติบโตของ GDP สะท้อนให้เห็นถึงความสมดุลทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ในหลายด้านของประเทศ เป็นตัวชี้วัดหลักของเศรษฐกิจเพื่อกำหนดทิศทางเศรษฐกิจในอนาคต สามารถเพิ่มศักยภาพและกําลังในการแลกเปลี่ยนทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบเดิมของเศรษฐกิจ หรือสามารถปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพ การปรับปรุงคุณภาพ และประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง GDP เป็นตัวบ่งชี้หรือสัญญาณทางเศรษฐกิจที่สำคัญ จะช่วยให้นักลงทุนวิเคราะห์และพยากรณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในอนาคตได้ และนำมาซึ่งโอกาสในการลงทุน
แหล่งที่มา:
https://sd.dzwww.com/sdnews/202110/t20211025_9334152.htm (เว็บไซต์ทางการ 大众网 วันที่ 25 ต.ค. 2564)
http://news.iqilu.com/shandong/yaowen/2021/1025/4982795.shtml (เว็บไซต์ทางการของมณฑลซานตง สำนักข่าว (齐鲁网) วันที่ 25 ต.ค. 2564)