ไฮไลท์
- หลายปีมานี้ รัฐบาลกว่างซีมุ่งมั่นพัฒนาจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (strategic position) ให้เป็น Center port ของภูมิภาคจีนตะวันตกที่ใช้เชื่อมกับต่างประเทศ (มีชื่อเรียกทางการว่า ระเบียงการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่ หรือ ILSTC) ปัจจุบัน ท่าเรือ 311 แห่งใน 106 ประเทศ/ดินแดนทั่วโลกสามารถลำเลียงสินค้าส่งไปที่ท่าเรือชินโจว (มีตารางเดินเรือไปยังสิงคโปร์ และฮ่องกงทุกวัน) และขบวนรถไฟในท่าเรือชินโจวสามารถวิ่งไปยัง 91 สถานีใน 41 เมืองใน 14 มณฑลทั่วประเทศจีน
- ความเคลื่อนไหวล่าสุดของการขนส่ง “เรือ+ราง” ที่ท่าเรือชินโจว เมื่อผู้นำเข้าจีนใช้ “เรือ+ราง” เพื่อการลำเลียง ‘รถยนต์นำเข้า’ จากตะวันออกกลางเป็นครั้งแรก ตามรายงาน รถยนต์นำเข้าจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ จำนวน 100 คัน ได้ใช้บริการการขนส่ง “เรือ+ราง” ที่ท่าเรือชินโจวของกว่างซี เพื่อลำเลียงต่อไปยังเขตสินค้าทัณฑ์บนแบบครบวงจรเขตเมืองใหม่หลานโจว ในนครหลานโจว มณฑลกานซู่
- สำหรับผู้ประกอบการไทย ‘ท่าเรือชินโจว’ เป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ นอกจากจะตั้งอยู่ใกล้กับประเทศไทยและมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันแล้ว ท่าเรือแห่งนี้มีฟังก์ชันพิเศษในการนำเข้าสินค้ากลุ่มพิเศษที่ต้องได้รับการอนุมัติเป็นกรณีพิเศษ อาทิ ผลไม้ เนื้อสัตว์ ธัญพืช(ข้าว) รถยนต์ประกอบสำเร็จ และไวน์
- โดยเฉพาะในฤดูผลไม้ที่กำลังจะมาถึงในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ผู้ประกอบการสามารถศึกษา วางแผน และจองระวางขนสินค้าทางเรือไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหารถบรรทุกแออัดที่บริเวณนอกด่านทางบกโหย่วอี้กวาน ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลไม้สดที่ต้องรอคิวผ่านด่านเป็นเวลานาน
รูปแบบการขนส่ง “เรือ+ราง” เป็นหนึ่งในการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal transportation) ที่มุ่งยกระดับประสิทธิภาพงานขนส่งและโลจิสติกส์ (ลดต้นทุน ลดเวลา) และช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการขนส่งสินค้า
ที่ผ่านมา บีไอซี ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับพัฒนาการของการขนส่งสินค้าด้วยวิธีการผสมผสานระหว่าง “เรือ+ราง” แบบไร้รอยต่อที่ ‘ท่าเรือชินโจว’ ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้มองเห็นโอกาสและลู่ทางใหม่ ๆ ในการขนส่งสินค้าที่ครอบคลุมและหลากหลาย
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของการขนส่ง “เรือ+ราง” ที่ท่าเรือชินโจว เมื่อผู้นำเข้าจีนใช้ “เรือ+ราง” เพื่อการลำเลียง ‘รถยนต์นำเข้า’ จากตะวันออกกลางเป็นครั้งแรก ตามรายงาน รถยนต์นำเข้าจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ จำนวน 100 คัน ได้ใช้บริการการขนส่ง “เรือ+ราง” ที่ท่าเรือชินโจวของกว่างซี เพื่อลำเลียงต่อไปยังเขตสินค้าทัณฑ์บนแบบครบวงจรเขตเมืองใหม่หลานโจว ในนครหลานโจว มณฑลกานซู่ (ใช้วิธีการ customs transfer ไปดำเนินพิธีการศุลกากรที่นครหลานโจว)
หลายปีมานี้ รัฐบาลกว่างซีมุ่งมั่นพัฒนาจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (strategic position) ให้เป็น Center port ของภูมิภาคจีนตะวันตกที่ใช้เชื่อมกับต่างประเทศ (มีชื่อ
เรียกทางการว่า ระเบียงการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่ หรือ ILSTC) ปัจจุบัน ท่าเรือ 311 แห่งใน 106 ประเทศ/ดินแดนทั่วโลกสามารถลำเลียงสินค้าส่งไปที่ท่าเรือชินโจว (มีตารางเดินเรือไปยังสิงคโปร์ และฮ่องกงทุกวัน) และขบวนรถไฟในท่าเรือชินโจวสามารถวิ่งไปยัง 91 สถานีใน 41 เมืองใน 14 มณฑลทั่วประเทศจีน
นับตั้งแต่เปิดให้บริการมีขบวนรถไฟวิ่งมากกว่า 6,000 เที่ยว เพิ่มขึ้น 30% (YoY) เป็นขบวนรถไฟระหว่างประเทศที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในจีน มีขบวนรถไฟเที่ยวประจำ 5 วันต่อสัปดาห์เชื่อมนครฉงชิ่ง นครเฉิงตู นครคุนหมิง และนครกุ้ยหยาง มีขบวนรถไฟเชื่อม China-Europe Express ไปถึงโปแลนด์และเยอรมัน
“การพัฒนา ILSTC ช่วยดึงดูดให้สินค้าจากทั่วทุกมุมโลกมาใช้ท่าเรือชินโจว และดึงดูดให้ผู้ค้าจากทั้งในและต่างประเทศมาใช้ ILSTC เพื่อทำการค้าต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น” จากคำบอกเล่าของนายหวง กวางฮุย (Huang Guanghui/黄光辉) รองหัวหน้าช่วงท่าสถานีชินโจว จากข้อมูลปี 2564 พบว่า การนำเข้า-ส่งออกของ 14 มณฑลผ่านด่านในเขตฯ กว่างซีจ้วงมีมูลค่า 493,800 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 35.5% (YoY) สร้างสถิติใหม่
ปัจจุบัน ระบบโครงสร้างพื้นฐานมีความสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง (กำลังก่อสร้างและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง) การดำเนินพิธีการศุลกากรมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยออกเอกสารการขนส่งฉบับเดียวสำหรับการขนส่งสินค้า และมีการคิดอัตราค่าขนส่งราคาเดียวตลอดเส้นทาง ที่ผ่านมา แต่ละวันจะมีขบวนรถไฟสินค้าวิ่งเข้า-ออกสถานีชินโจวตะวันออก (ในท่าเรือชินโจว) ประมาณ 20 เที่ยว
ปี 2564 ท่าเรือชินโจวมีปริมาณขนถ่ายสินค้ารวม 167 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 22.3% (YoY) ปริมาณขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ 4.627 ล้าน TEUs เพิ่มขึ้น 17.1%
สำหรับผู้ประกอบการไทย บีไอซี เห็นว่า ‘ท่าเรือชินโจว’ เป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ นอกจากจะตั้งอยู่ใกล้กับประเทศไทยและมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันแล้ว ท่าเรือแห่งนี้มีฟังก์ชันพิเศษในการนำเข้าสินค้ากลุ่มพิเศษที่ต้องได้รับการอนุมัติเป็นกรณีพิเศษ อาทิ ผลไม้ เนื้อสัตว์ ธัญพืช(ข้าว) รถยนต์ประกอบสำเร็จ และไวน์
โดยเฉพาะในฤดูผลไม้ที่กำลังจะมาถึงในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ผู้ประกอบการสามารถศึกษา วางแผน และจองระวางขนสินค้าทางเรือไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหารถบรรทุกแออัดที่บริเวณนอกด่านทางบกโหย่วอี้กวาน ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลไม้สดที่ต้องรอคิวผ่านด่านเป็นเวลานาน
ปัจจุบัน เที่ยวเรือสินค้าระหว่างท่าเรือชินโจวกับท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือกรุงเทพมีหลายเที่ยวต่อสัปดาห์ ดังนี้
เที่ยวเรือข้างต้นใช้เวลาการขนส่งตั้งแต่ 4-7 วันเท่านั้น มีความสะดวกและรวดเร็ว ประหยัดต้นทุนเวลาและค่าใช้จ่าย และผู้ประกอบการไทยสามารถใช้ท่าเรือชินโจวเป็นจุดกระจายกระจายสินค้าไปทั่วประเทศจีนด้วยโมเดลการขนส่งแบบไร้รอยต่อ “เรือ+ราง” (ทั้งขาขึ้นและขาล่อง) หรือใช้ช่องทางดังกล่าวเพื่อขนส่งสินค้าไปยังเอเชียกลางและยุโรปได้ด้วย
จัดทำโดย นายกฤษณะ สุกันตพงศ์ ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
ที่มา เว็บไซต์ www.gx.chinanews.com.cn (中新社广西) วันที่ 10 และ 06 มีนาคม 2565