เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 สำนักข่าวท้องถิ่นรายงานข่าว เกษตรกรเมืองม้าวหมิง มณฑลกวางตุ้งประสบความสำเร็จในการปลูกทุเรียนพันธุ์มูซานคิงและพันธุ์หนามดำที่นำต้นกล้ามาจากมาเลเซีย โดยเริ่มปลูกครั้งแรก เมื่อปี 2561 ซึ่งประสบผลสำเร็จครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 และคาดว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือนตุลาคม 2565
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทย ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว ขอเรียนเพิ่มเติมว่า พื้นที่ทดลองเพาะปลูกทุเรียนดังกล่าว ตั้งอยู่ที่ตำบลกวนจู เมืองม้าวหมิง โดยเป็นพื้นที่เพาะปลูกของนายเติ้ง ยู่เฉียง (Deng Yuqiang) มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 300 หมู่ (ประมาณ 125 ไร่) โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปลูกลิ้นจี่และไม้กฤษณา 200 หมู่ (ประมาณ 83.33 ไร่) และพื้นที่ทดลองปลูกทุเรียน 100 หมู่ (ประมาณ 41.66 ไร่) ปัจจุบัน มีต้นกล้าที่ติดตาต่อกิ่งแล้วจำนวน 20,000ต้น และคาดว่าจะติดตาต่อกิ่งเพิ่มเติมจนครบ 200,000 ต้นในอนาคต
ในช่วงที่ผ่านมา ทุเรียนเป็นราชาผลไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในจีน ปัจจุบัน ไทยยังคงเป็นประเทศเดียวที่ได้รับอนุญาตนำเข้าทุเรียนสดเข้ามายังจีนได้ ซึ่งเมื่อปี 2564 จีนนำเข้าทุเรียนกว่า 821,500 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 4,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7 เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยในจำนวนดังกล่าว จีนนำเข้าทุเรียนจากไทยมากถึงร้อยละ 90 ของปริมาณการนำเข้าทุเรียนทั้งหมดของจีน คิดเป็นมูลค่ากว่า 3,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการนำเข้าทุเรียนทั้งนี้ ในช่วงก่อนเริ่มต้นการทดลองปลูกทุเรียน นายเติ้งฯ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเกษตรจีนตอนใต้ (South China Agricultural University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านการเกษตรชั้นนำของจีน ที่นครกว่างโจว รวมถึง ผู้เชี่ยวชาญจากมาเลเซียมาให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการทดลองเพาะปลูกทุเรียนด้วย นอกจากนี้ นายเติ้งฯ กล่าวว่า พื้นที่ทดลองเพาะปลูกประกอบด้วยทุเรียนหลากหลายสายพันธุ์ แต่ตนมีแผนที่จะพัฒนาสายพันธุ์มูซานคิงและหนามดำจากมาเลเซียเท่านั้น เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ทุเรียนที่มีมูลค่าในตลาดค่อนข้างสูง
อันมหาศาลนี้ ทำให้เกษตกรจีนเริ่มหันมาให้ความสนใจที่จะทดลองปลูกทุเรียนในจีน โดยเมื่อปี 2557 เกษตรกรจีนทดลองเพาะปลูกทุเรียนโดยใช้ต้นกล้าที่นำเข้ามาจากเวียดนามเป็นครั้งแรกที่มณฑลไห่หนาน ซึ่งเพาะปลูกเป็นผลสำเร็จเมื่อปี 2562 ดังนั้น การทดลองปลูกทุเรียนที่เมืองม้าวหมิงนับในครั้งนี้ นับเป็นความสำเร็จในการทดลองปลูกทุเรียนครั้งที่ 2 ของจีน ไทยในฐานะเป็นแหล่งเพาะปลูกทุเรียนที่สำคัญในภูมิภาค อาจต้องจับตามองความเคลื่อนไหวนี้ ซึ่งศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจวจะรายงานความคืบหน้าให้ผู้อ่านทราบต่อไป
หมายเหตุ
– หมู่ (亩) เป็นหน่วยวัดพื้นที่ของจีน โดย 1 หมู่ เท่ากับ 0.42 ไร่
แหล่งที่มาของข้อมูล
https://www.mm111.net/mmwb/2022-05/12/node_1.html
https://www.163.com/dy/article/H6AGNME70534K1QC.html
webmaster
เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู