• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • เกษตรกรซานตงใช้ระบบนำทางดาวเทียมเป่ยโต่วในการปลูกแครอทช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้น – thaibizchina

เกษตรกรซานตงใช้ระบบนำทางดาวเทียมเป่ยโต่วในการปลูกแครอทช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้น – thaibizchina

ทำไม ปลูกแครอทจึงจะใช้ระบบนำทางดาวเทียมเป่ยโต่ว ประเด็นนี้ได้รับความสงสัยจากชาวเน็ตจีนหลายท่าน

“เติ้ง ไห่หยิง” เกษตรกรในอำเภอจวี้เหย่ เมืองเหอเจ๋อ มณฑลซานตง ซึ่งเป็นคนแรกที่ใช้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติที่นำทางโดยดาวเทียมเป่ยโต่ว (Beidou Navigation Satellite System: BDS) ในการหว่านเมล็ดพันธุ์ ทำให้สามารถประหยัดแรงงานและที่ดิน สร้างรายได้เพิ่มขึ้น

นับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา นายเติ้งฯ ได้เริ่มใช้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติที่นำทางโดย BDS ในการปลูกแครอท เนื่องจากระบบนี้สามารถดำเนินการหลายขั้นตอนในการปลูก เช่น การขุดร่อง การหว่าน และการคลุมดิน ให้เสร็จพร้อม ๆ กัน โดยเกิดข้อผิดพลาดเพียงแค่ 2 เซนติเมตรต่อพื้นที่ 100 เมตร ซึ่งได้ช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการปลูกและประหยัดที่ดิน อีกทั้ง หากใช้วิธีการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม ก็คือ ใช้รถแทรกเตอร์หว่านเมล็ดพันธุ์ 20 หมู่ (1 หมู่เท่ากับ 667 ตารางเมตร) ในเวลา 10 ชั่วโมง แต่ใช้ระบบฯ นี้แทน สามารถหว่านเมล็ดพันธุ์ได้ 40 หมู่ ซึ่งไม่เพียงช่วยประหยัดเวลาได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังประหยัดกำลังคนได้กว่าครึ่งหนึ่งอีกด้วย

นายเติ้งฯ ได้คำนวณว่า ด้วยระบบฯ นี้ ที่ดิน 1 หมู่ มีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเกือบ 2,000 หยวนต่อปี (ประมาณ 10,000 บาท) ทั้งนี้ แครอทที่ใช้ระบบฯ นี้ในการปลูก ล้วนเป็นผลผลิตคุณภาพดี สามารถส่งจำหน่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตและตลาดระดับไฮเอนด์ในจีน รวมถึงมีการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ อาทิ เกาหลีใต้ มาเลเซีย เป็นต้น ในช่วงปีที่ผ่านมา เขาได้เผยแพร่เทคโนโลยีนี้ให้กับเกษตรกรในระแวกใกล้เคียง การเผยแพร่เทคโนโลยีการปลูกคุณภาพสูงนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและร่ำรวยขึ้น

แหล่งที่มา
https://www.jnnews.tv/guanzhu/p/2022-12/01/937953.html 

 

webmaster

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]