1 พ.ค. 66 – นักวิจัยจากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ (Chinese Academy of Sciences) ได้พบหลักฐานที่สำคัญเกี่ยวกับน้ำที่ตำแหน่งทางตอนใต้ (low latitudes) ของดาวอังคาร โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับจากกล้องและเครื่องตรวจจับบนรถโรเวอร์ จู้หรง (Zhurong) จากการศึกษาทางธรณีสัณฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบของวัสดุชั้นเนินทรายในพื้นที่ลงจอดยานสำรวจดาวอังคาร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อบอุ่นที่สุด เผยให้เห็นว่าชั้นผิวน้ำของเนินทรายอุดมไปด้วยแร่ธาตุ รวมทั้งไฮเดรตซัลเฟต (hydrated sulfates) ไฮเดรตซิลิกา (hydrated silica) และเฟอร์ริไฮไดรต์ (ferrihydrite) ซึ่งอนุมานได้ว่าลักษณะพื้นผิวของเนินทรายเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของน้ำเกลือเหลวที่เกิดจากการละลายของน้ำแข็งและหิมะที่ตกลงมาบนพื้นผิวของเนินทรายที่มีเกลือ เมื่อน้ำเกลือแห้ง แร่ธาตุไฮเดรตที่ตกตะกอนจะจับตัวกับอนุภาคทรายเพื่อสร้างเม็ดทรายและผิวเปลือก จากนั้นผิวเปลือกจะแตกออกอีกโดยการหดตัว กระบวนการนี้เกิดขึ้นซ้ำในภายหลัง ทำให้เกิดสันและรอยคล้ายแถบบนผิวเปลือกดาวอังคาร ผลการศึกษาตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances (งานวิจัย: https://www.science.org/doi/10.1126/sciadv.add8868)
https://www.chinadaily.com.cn/a/202305/01/WS644f2181a310b6054fad09d6.html