• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • เปิดเคล็ด(ไม่)ลับ สร้างแบรนด์-เจาะตลาดจีนอย่างไร “ไม่ให้โดนก็อป-ลอกเลียนสินค้า” …

เปิดเคล็ด(ไม่)ลับ สร้างแบรนด์-เจาะตลาดจีนอย่างไร “ไม่ให้โดนก็อป-ลอกเลียนสินค้า” …

เปิดเคล็ด(ไม่)ลับ สร้างแบรนด์-เจาะตลาดจีนอย่างไร “ไม่ให้โดนก็อป-ลอกเลียนสินค้า”

—–

ปัญหาหนึ่งของการทำธุรกิจที่จีน จะนำสินค้าไปขายในจีน คือการโดนคนจีนปลอมสินค้า หรือ “แอบเอาแบรนด์เราที่ดังอยู่แล้วในต่างประเทศ เช่น ที่ไทย ไปจดเป็นtrademarkของเขาในจีน จดดักไว้ ” พอเราจะเข้าไปขายในจีน เราก็จะมีปัญหาตรงนี้ หลายแบรนด์โดนบ.จีนที่จดดักไว้มาขายชื่อนั้นในราคาแพงมาก (ในความเป็นจริง มีบ.ในจีนที่ดักจดชื่อแบรนด์ต่างประเทศเอาไว้โดยเฉพาด้วยซ้ำ)

เมื่อปี2018 มีคนส่งข้อความมาปรึกษาอ้ายจง ว่าเจอปัญหาคนจีนมาเดินชมงาน THAIFEX งานจัดแสดงผลิตภัณฑ์อาหารในไทย แล้วเอาชื่อแบรนด์สินค้าไปแอบจด ซึ่งผมต้องบอกเลยว่า เป็นความจริงนะครับ มีคนจีนหรือบริษัทในจีนจำนวนไม่น้อยที่ตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อจดTrademarkแบรนด์ต่างประเทศเพื่อดักทางเอาไว้ก่อนแบรนด์เหล่านี้เข้าตลาดจีน

ถ้าใครยังจำที่อ้ายจงเคยเล่าไปก่อนหน้านี้ได้ ก็คงจะทราบว่า “金枕头 ชื่อภาษาจีนของพันธุ์ทุเรียนหมอนทองไทย ก็ถูกบริษัทในจีนเอาไปจดTrademarkในหลายชนิดสินค้าเช่นกัน (อาหารสัตว์ยังมีเอาชื่อพันธุ์ทุเรียนหมอนทองไปจด)

แม้แต่การเปิดบัญชี Officialของแบรนด์เราบน Social media ของจีน เช่น เปิด Official Weibo account (การ Verify account) หรือ WeChat ก็มีหลายเคส ที่บ.ในจีน/คนจีนที่แอบเอาชื่อเราไปจดตัดหน้าในจีน ได้เอาไปแอบเปิดVerified account เพื่อดักเอาลูกค้าในโลกsocialเช่นกัน อันนี้ลูกค้าที่มาติดต่อทำการตลาดจีนกับบริษัทของอ้ายจงเจอหลายเจ้าเลย

วิธีการป้องกันคนจีน-ผู้ประกอบการในจีนลอกเลียนแบบ หรือก็อปปี้สินค้าของเราคือ

1. หากมีแผนจะทำแบรนด์เจาะตลาดจีน ควรจะไปจดtrademarkเอาไว้

และที่สำคัญ “ควรเป็นชื่อบริษัทของเราที่ไทยเป็นคนจดและเป็นเจ้าของ Trademarkในจีน แม้เราจะมีคู่ค้าในจีน ก็ควรจะต้องเป็นบริษัทเรานะครับ เว้นแต่ว่าเราเข้าไปจัดตั้งบริษัทในจีน”

จากประสบการณ์ของอ้ายจง ในการทำตลาดจีนเราควรต้องพึงระวังและตระหนักให้ดีด้วยว่า ” เรามีความสามารถที่จะเข้าไปในตลาดจีนจริงไหม เพราะในความเป็นจริงไปตลาดจีนต้องใช้งบและกำลังภายในมากมาย เอาแค่จดTrademarkในจีนแบบถูกต้องและครอบคลุมจริงๆก็ใช้งบไม่น้อยแล้ว (ค่าจด เริ่มต้นที่หลักหมื่นบาท แต่ถ้าเรามีหลายสินค้า หรือสินค้าเดียวแต่ครอบคลุมหลายประเภท ก็จะใช้งบเพิ่มขึ้นอีก แต่ก็เห็นควรว่า ถ้าจะเริ่มลุยตลาดจีนจริงๆ ควรจดครับ)

2. ทำแบรนด์ของเราให้เป็นที่รู้จีกในไทยด้วย อย่าเน้นผลิตเพื่อตลาดจีนอย่างเดียว ไม่ว่าจะส่งขายในจีน หรือขายในไทยแต่เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน

ปัจจุบัน คนจีนสนใจสินค้าแบรนด์ต่างประเทศมากขึ้น เขาต้องการสินค้าที่เป็นแบรนด์สินค้าของประเทศนั้นโดยตรง พวกสินค้าของดีเฉพาะถิ่น Local product ก็ได้รับความนิยมเพิ่มเรื่อยๆ

อีกอย่าง สินค้าที่ทำเพื่อขายคนจีนโดยเฉพาะ ก็มีหลายเคส ที่เกิดดราม่าในจีนหลังมีชื่อเสียงระดับหนึ่งแล้ว โดยคนจีนตั้งข้อสงสัยว่า เป็นสินค้าไทยจริงไหม เพราะถามคนไทย ไม่มีใครรู้จัก และไม่เห็นมีวางขายตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านทั่วไปที่ไม่ใช่แค่แหล่งท่องเที่ยว

3. การสร้างแบรนด์ การทำตลาด Marketing และการขาย ไม่ควรพึ่งแต่ Partner หรือคู่ค้าในจีนอย่างเดียว แต่เจ้าของแบรนด์ต้องสร้าง “การรับรู้ Awareness” ให้รับรู้ถึงตัว Brandของเรา

เพื่อป้องกันการคัดลอกสินค้า เพราะเขาจะคัดลอกได้แต่สินค้า แต่ความเป็นBrandของเรายังอยู่ ซึ่งจะข้อนี้จะเชื่อมโยงกับข้อที่ผ่านมาด้วย โดยเฉพาะถ้าเรามีแบรนด์ที่แข็งแกร่งในไทยอยู่แล้วด้วย

4. สร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้า-แบรนด์ของเรา

หากเราทำสินค้าให้มีเอกลักษณ์ และพัฒนาสินค้าอยู่ตลอดเวลา ใครจะมาลอกเลียนแบบ ก็เป็นได้แค่ของก็อปปี้ครับ

—–

ทั้งหมดนี้คือคำแนะนำเบื้องต้น จากประสบการณ์ของอ้ายจงในการติดต่อธุรกิจและช่วยผู้ประกอบการไทยสร้างแบรนด์-เจาะตลาดจีนนะครับ ซึ่งในการดีลธุรกิจและเจาะตลาดจีนจริงๆมีกระบวนท่าอีกมากซึ่งไม่เป็นแบบแผนตายตัว เพราะมีสิ่งที่ไม่คาดคิดรอเราอยู่เสมอ

หากใครมีข้อสงสัย ต้องการคำแนะนำ หรือต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สามารถแสดงความคิดเห็นได้เลยครับ

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน


ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]