• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • การคิดเชิงนวัตกรรม กับ การพัฒนาก้าวกระโดดของจีน . ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์นี้ อ้ายจงไ…

การคิดเชิงนวัตกรรม กับ การพัฒนาก้าวกระโดดของจีน . ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์นี้ อ้ายจงไ…

การคิดเชิงนวัตกรรม กับ การพัฒนาก้าวกระโดดของจีน
.
ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์นี้ อ้ายจงได้มีโอกาสมาร่วมเป็นวิทยากรกับทางอาจารย์จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ มาอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการนวัตกรรมที่โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย โดยเน้นการสร้างนวัตกรรมตามหลัก “Design Thinking” มันเลยทำให้อ้ายจงได้ย้อนคิดถึงที่ประเทศจีน
.
ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่เน้นหนักทางด้านผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ดูได้จากนโยบาย Made in China 2025 เป็นการเปลี่ยนจากประเทศผู้ใช้นวัตกรรมและผลิตผลจากประเทศอื่น มาเป็นผลิตนวัตกรรมโดยจีนเพื่อใช้ในจีนและส่งออกไปต่างประเทศ ตั้งเป้าไว้ภายในปี 2025 แต่ความจริง หลายปีมานี้เราก็เห็นแบรนด์จีนกลายเป็นแบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์ทีเดียว รวมถึงธุรกิจแนว Startup
.
โดยข้อมูลเมื่อปี 2018-2019 ระบุว่า “จีนมี Startup ระดับ Unicorn (มูลค่าแตะระดับพันล้านเหรียญสหรัฐ) กว่า 160 ราย ส่วนใหญ่อยู่ที่กรุงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ หังโจว และเซินเจิ้น ที่น่าสนใจคือเมืองเซินเจิ้นนี่แหล่ะ เพราะในมุมมองของบ้านเรา มีภาพจำไม่ดีนัก หลายคนจดจำเซินเจิ้นในฐานะ “เมืองก็อปปี้” “ของก็อปเซินเจิ้น” แต่ตอนนี้ด้วยการพัฒนานวัตกรรม ทำให้เกิดบริษัท Startup แบรนด์นวัตกรรมขึ้นมาในเมืองนี้จำนวนมากและก้าวสู่ระดับโลก
.
สตาร์ทอัพของจีนที่ก้าวมาสู่ Unicorn มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ,ธุรกิจสื่อสันทนาการ และ ธุรกิจ E-commerce
.
อ่านมาถึงตรงนี้ อาจ “งง” กับคำว่า ธุรกิจอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ใช่ไหมครับ เนื่องจากมันดูไม่น่าจะเป็นนวัตกรรม คือเรามีภาพจำอีกนั่นแหล่ะว่า “นวัตกรรม = เทคโนโลยี” แต่ความจริงแล้ว “ไม่ใช่”
.
นวัตกรรมคือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือต่อยอดสิ่งเดิมให้นำมาใช้ประโยชน์ในแนวทางใหม่ๆหรือยกระดับให้ดีขึ้นจากเดิม
.
จีน เป็นประเทศที่มีประวัติยาวนาน มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์และ มีการบันทึกผลงานต่างๆในยุตก่อนและยุคประวัติศาสตร์จำนวนมาก แต่มาถึงยุคหนึ่ง ห้าหกสิบปีก่อน กลายเป็นว่า จีนกลับถูกมองเป็นประเทศที่เอาแต่ลอกเลียนผลงานประเทศอื่น ไม่คิดอะไรใหม่ๆ
.
รัฐบาลจีนเล็งเห็นทั้งจุดแข็งของตนเอง “มีวัฒนธรรมหลากหลาย-โดดเด่น” และ จุดอ่อน คือ “ยังมีการคิดนวัตกรรมของตนเองออกมาได้น้อย หรือเน้นคัดลอก” จึงออกนโยบาย “พัฒนา Creative Industry” ไปพร้อมกับ Made in China 2025 โดยหลักการ Design Thinking เป็นหนึ่งในเบื้องหลังสำคัญทำให้สามารถเห็นภาพชัดเจนขึ้น เช่น

“จะสร้างอะไร” “เอาอะไรที่มีอยู่มาใช้ได้” “ออกแบบอย่างไร” “ประยุกต์ หรือสร้างนวัตกรรมออกมาอย่างไร” “ใครเป็นคนใช้หรือเกี่ยวกับนวัตกรรมนั้น”
.
หลายคนมักเข้าใจผิดว่า Design Thinking ต้องทำตามหลักแบบเชิงเส้น เริ่มจากขั้นแรกคือเข้าอกเข้าใจปัญหา และเรียงลำดับขั้นไปเรื่อยๆ แต่จริงๆคือ เราสามารถเริ่มจากขั้นตอนไหน หรือทำกลับไปกลับมาก็ได้ นี่คือสาเหตุที่เราเริ่มเห็นสิ่งใหม่ๆของจีนออกมาท้องตลาดได้ไวที่อาจยังไม่สมบูรณ์นักแต่ทำออกมาเพื่อให้มีการทดลองใช้ จะได้รู้พฤติกรรมการใช้งานจริงได้เลย
.
สำหรับอ้ายจง การคิดนวัตกรรมอะไรออกมาสักอย่าง ขอแค่เรากล้าคิด -> คิดและลองทำ -> ใช้ได้จริง และมีประโยชน์กับอะไรบางอย่าง เท่านี้ก็สามารถเป็นนวัตกรรมและต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ครับ

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน





ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]