นักวิจัยจีนตัดต่อยีนปลาคาร์พไร้กระดูกส่วนกล้ามเนื้อครั้งแรกของโลก

7 มี.ค. 66 – นักวิจัยจากสถาบันวิจัยการประมงเฮยหลงเจียง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์การประมงแห่งประเทศจีน (Heilongjiang Fishery Research Institute, Chinese Academy of Fishery Sciences) ได้เพาะพันธุ์ปลาคาร์พตระกูลครูเชียน (crucian carp) ตัวแรกของโลกที่ไม่มีกระดูกหุ้มกล้ามเนื้อ โดยนักวิจัยสามารถทำลายยีนชื่อ bmp6 โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของปลา เมื่อต้นปี พ.ศ. 2565 ทีมนักวิจัยได้ปล่อยกลุ่มทดลองปลาครูเซียนคาร์พรุ่นที่ 3 ประมาณ 20,000 ตัวในฐานทดสอบที่เมืองฮาร์บิน ผลการตรวจสอบในเดือนสิงหาคมพบว่าอัตราความสำเร็จสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นความก้าวหน้าทางทฤษฎีและเทคนิคครั้งสำคัญในการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และเพื่อให้แน่ใจว่าได้คำนึงถึงความปลอดภัยทางชีวภาพของพันธุ์ใหม่อย่างเต็มที่ ทางทีมวิจัยได้ดำเนินการพัฒนาสายพันธุ์ปลอดเชื้อ ซึ่งสามารถช่วยกำจัดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปลาที่ตัดต่อยีนในธรรมชาติ และคาดว่าจะเสร็จสิ้นการวิจัยภายในปี พ.ศ. 2568

https://www.chinadaily.com.cn/a/202303/07/WS640691d8a31057c47ebb2b39.html

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]