24 ก.พ. 66 – นักวิจัยชาวจีนจากมหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsinghua University) และมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเจ้อเจียง (Zhejiang Chinese Medical University) ได้ค้นพบฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากลำไส้ชื่อ “ฟามซิน” (famsin) ซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับตัวของเมตาบอลิซึมระหว่างการอดอาหาร โดยในระหว่างการอดอาหาร จะมีการหลั่งโปรตีนที่เรียกว่า Gm11437 ก่อน แล้วจึงจับกับตัวรับกลิ่นที่ชื่อว่า OLFR796 การจับของ famsin-OLFR796 จะช่วยในการสร้างกลูโคสจากร่างกายในส่วนที่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรต (gluconeogenesis) และสร้างคีโตนจากการสลายไขมัน (ketogenesis) เพื่อใช้เป็นพลังงานในระหว่างการอดอาหาร ในขณะเดียวกัน การปิดกั้นการส่งสัญญาณของการจับ famsin-OLFR796 ช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดในหนูที่เป็นเบาหวาน ทำให้ฟามซินเป็นเป้าหมายการรักษาที่เป็นไปได้สำหรับการรักษาโรคเบาหวาน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Cell Research (งานวิจัย : https://www.nature.com/articles/s41422-023-00782-7)
ที่มา : https://www.chinadaily.com.cn/a/202302/24/WS63f87c8fa31057c47ebb0bf4.html