Science Technology Innovation Weekly No.48/2565

1 ฐานการศึกษาวิทยาศาสตร์ระดับชาติของจีน

3 ธ.ค. 65 – สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน (China Association for Science and Technology) เปิดเผยว่า โครงร่างแผนปฏิบัติการความรู้ทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (พ.ศ. 2564-2578) จะเพิ่มความสามารถในการทำให้วิทยาศาสตร์เป็นที่นิยมทางสังคมอย่างจริงจังและลึกซึ้งยิ่งขึ้น สร้างแรงจูงใจระยะยาว ส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมและกลุ่มต่าง ๆ เพื่อจัดตั้งการศึกษา การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และปรับปรุงความสามารถในการให้บริการ ทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่นิยมมากขึ้น ในเดือนเมษายนปีนี้ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศจีนได้กำหนดให้หน่วยการเรียนรู้ชุดแรกจำนวน 800 ชุด เป็นฐานการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งชาติชุดแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 – 2568

2. นักบินอวกาศยานเสินโจว-14 เดินทางถึงปักกิ่งอย่างปลอดภัย

5 ธ.ค. 65 – สำนักงานด้านวิศวกรรมอวกาศที่มีมนุษย์ขับเคลื่อนแห่งประเทศจีน (China Manned Space Engineering Office) รายงานว่า นักบินอวกาศเฉิน ตง นักบินอวกาศ หลิว หยาง และนักบินอวกาศไช่ ซู่เจ๋อ ประสบความสำเร็จในภารกิจที่มีมนุษย์ควบคุมในยานเสินโจว-14 และเดินทางถึงปักกิ่งอย่างปลอดภัยในช่วงเช้าของวันที่ 5 ธันวาคม หลังจากเดินทางถึงปักกิ่ง นักบินอวกาศทั้ง 3 คนจะเข้าสู่ช่วงแยกตัวพักฟื้น เข้ารับการประเมินสุขภาพและตรวจสุขภาพ อย่างครอบคลุม

3. จีนทดลองเพาะปลูกข้าวในอวกาศสำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก

5 ธ.ค. 65 – เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2565 แคปซูลของยานอวกาศบรรจุมนุษย์เสินโจว- 14 ลงจอดที่ ฐานลงจอดตงเฟิงได้สำเร็จ พร้อมข้าวและเมล็ดอาราบิดอปซิสและตัวอย่างการทดลองวิทยาศาสตร์อวกาศอื่น ๆ นับเป็นครั้งแรกในโลกที่ทำการทดลองการเพาะปลูกข้าวตลอดวงจรชีวิตของข้าว จนได้เมล็ดพันธุ์พืชในอวกาศ โดยใช้พืชต้นแบบ Arabidopsis thaliana เพื่อศึกษาอย่างเป็นระบบ เจิ้ง หุ้ยฉง นักวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านพืชศาสตร์โมเลกุล (CAS Center for Excellence in Molecular Plant Sciences) กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ผลกระทบของสภาวะ ไร้แรงโน้มถ่วงในอวกาศมีผลต่อการออกดอกของพืช

4. จีนบุกเบิกวิธีการสร้างแบบจำลอง AI โปรตีน

8 ธ.ค. 65 – หลี จื่อชิง ศาสตราจารย์ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และคณะ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเซี่ยเหมิน (Xiamen University) และ บริษัท MindRank AI พัฒนาแบบจำลอง AI แห่งแรกที่สามารถทำนายความสัมพันธ์และอธิบายการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโปรตีน เป็น AI ตัวแรกที่สามารถวิเคราะห์โครงสร้างไดนามิกของโปรตีนได้ ซึ่งสามารถช่วยนักเคมีทางการแพทย์คัดกรองโมเลกุลขนาดเล็กที่มีความว่องไวสูงได้แม่นยำยิ่งขึ้นและช่วยเร่งการพัฒนายาได้ ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ (Advanced Science)

5. จีนประสบความสำเร็จห้องปฏิบัติการสเปกโทรสโกปีในทะเลลึก

7 ธ.ค. 65 – สถาบันมหาสมุทร สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Institute of Oceanology, Chinese Academy of Sciences) ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบตรวจจับรามานสเปกโทรสโกปีแบบหลายช่องสัญญาณใต้ท้องทะเลลึกระบบแรกของโลก (Multi-channel Raman insertion probes, multi-RiPs) ที่สามารถตรวจจับส่วนประกอบทางเคมีหลักของสารในทะเลลึกได้ และสภาพแวดล้อมที่รุนแรงผ่านสเปกตรัมที่สร้างโดยเลเซอร์ เช่น การตรวจจับวัตถุไวไฟ โครงสร้างและองค์ประกอบของน้ำแข็ง ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องและการเชื่อมต่อพื้นฐาน การทำงานในพื้นที่ความร้อนใต้พิภพและพื้นที่อื่น ๆ การสังเกตการณ์ใต้ท้องทะเล แบบหลายจุดในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง และการทดลองที่ควบคุมได้ เพื่อศึกษาผลกระทบของของเหลวใต้ทะเลลึกและความเย็นที่ไหลผ่านต่อระบบนิเวศทางทะเล และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202212/000321cd9ead4b4ea162b499c94f23a1.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202212/fa4bda69d7e7484198a2e1c520cc2eba.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202212/029405b88b4e4eaca6588236f6a0a927.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202212/8c8361689e8b430b81676336c02ede20.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202212/978e2829b6b04f16a1cebd96950fe83f.shtml

ผู้จัดทำ นวัต จึงเจริญธรรม
ผู้ตรวจทาน บุษรินทร์ เณรแก้ว

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]