Science Technology Innovation Weekly No.47/2565

1. เรือวิจัยวิทยาศาสตร์ “ทั่นสั่ว 2” เสร็จสิ้นการทดลองทางทะเลลึก

25 พ.ย. 65 – เรือวิจัยทางวิทยาศาสตร์ “ทั่นสั่ว-2” ของจีน บรรทุกแท่นปฏิบัติการเคลื่อนที่ ในทะเลลึกไปยังทะเลจีนใต้เพื่อทดลองและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใต้ทะเล ด้านวิศวกรรม และเครื่องหาลำดับยีนชีวภาพในทะเลลึก แท่นดังกล่าวเสร็จสิ้นการทดสอบทางทะเล 3 ครั้ง ที่ระดับน้ำ 1,500 เมตร 2,500 เมตร และ 4,500 เมตร ความลึกในการทำงานสูงสุดอยู่ที่ 4,308 เมตร

2. อาจารย์ไทยในโครงการหลู่ปันเวิร์คชอป

25 พ.ย. 65 – นิธินันท์ ชมชื่น อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคเทียนจินโป๋ไห่ (Tianjin Bohai Vocational Technical College) จากประเทศไทย มีชื่อภาษาจีนว่า เค่ออิง เป็นอาจารย์สอนภาษาจีนให้กับนักเรียนไทยภายใต้โครงการ หลู่ปันเวิร์คชอป (Luban Workshop) ซึ่งเป็นโครงการฝึกอบรม ทางเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาที่จัดร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยาในประเทศไทย และเป็นโครงการแรกของโครงการหลู่ปันเวิร์คชอป จำนวน 25 แห่งทั่วโลก จนถึงปัจจุบัน มีนักเรียนไทยประมาณ 100 คนได้เรียนภาษาจีนขั้นพื้นฐานกับเธอ และสำเร็จการศึกษาจากโครงการนี้

3. อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 10 แห่ง

28 พ.ย. 65 – กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกระทรวงศึกษาธิการจีน อนุมัติโครงการนำร่องการก่อสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ด้านเทคโนโลยี การบินและอวกาศ พลังงานแห่งอนาคตและหุ่นยนต์อัจฉริยะแห่งอนาคต จำนวน 10 แห่ง โดย ทั้ง 2 กระทรวงจะจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อประสานงานและกำกับดูแลความก้าวหน้า ศึกษาและแก้ไขปัญหาในโครงการ และขยายขอบเขตของโครงการในอนาคต

4. “เทคนิคการชงชาจีนแบบดั้งเดิม” ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

29 พ.ย. 65 – “เทคนิคการชงชาจีนแบบดั้งเดิมและประเพณีที่เกี่ยวข้อง” เป็นความรู้ ทักษะ และการปฏิบัติในการจัดการการปลูกชา การเก็บชา การชงชา การดื่มชาและการแบ่งปัน เป็นประเพณีที่แตกต่างเพื่อพัฒนาชาแต่ละชนิด สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านช่วงชีวิตประจำวันของชาวจีนมาโดยตลอด ได้รับการประกาศในการประชุมครั้งที่ 17 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลและองค์การยูเนสโก (UNESCO) เพื่อการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ จัดขึ้นที่เมืองราบัต ประเทศโมร็อกโก ปัจจุบัน จีนมีมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ทั้งหมด 43 รายการ มากที่สุดเป็นอันดับแรกของโลก

5. การเปิดตัวยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม เสินโจว-15 ประสบความสำเร็จ

30 พ.ย. 65 – สำนักงานด้านวิศวกรรมอวกาศที่มีมนุษย์ขับเคลื่อนแห่งชาติจีน (China Manned Space Engineering Office) รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 65 จรวดขนส่งลองมาร์ช-เอฟ2 บรรทุกยานอวกาศที่มีมนุษย์ เสินโจว-15 ถูกปล่อยจากศูนย์ปล่อยยานอวกาศจิ่วเฉวียน “เสินโจว-15” ประสบความสำเร็จในการแยกตัวออกจากจรวด และเข้าสู่วงโคจรที่กำหนดหลังจากยานอวกาศเข้าสู่วงโคจรแล้ว ได้ดำเนินการนัดพบ และเทียบท่ากับชุดประกอบสถานีอวกาศตามที่กำหนด ลูกเรือของยานเสินโจว-15 และยานเสินโจว-14 จะสับเปลี่ยนการทำงานบนวงโคจร เพื่อติดตั้ง ทดสอบเดินเครื่อง บำรุงรักษาและซ่อมแซมอุปกรณ์ภายในและภายนอกห้องโดยสาร และทดลองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ

  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202211/26588fb0d26e4c6db102e7577297ba4d.shtml
  • https://www.chinadaily.com.cn/a/202211/25/WS63801175a31057c47eba0fca.html
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202211/1b7bc91cd5e24245a26963cbd17643ee.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202211/edecab3b3bd54f4f94c209448bd88eb3.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202211/5e423d99095e443cbaf98687fb4d5155.shtml

ผู้จัดทำ นวัต จึงเจริญธรรม
ผู้ตรวจทาน บุษรินทร์ เณรแก้ว

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]