Science Technology Innovation Weekly No.42/2565

1. โดรนกระพือปีกของ ม.เป่ยหาง สร้างสถิติโลกสำหรับการบินด้วยการชาร์จเพียงครั้งเดียว

21 ต.ค. 65 – ทีมวิจัยเครื่องบินแนวคิดใหม่ของสถาบันวิจัยนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นแนวหน้า (Innovation Research Institute of Frontier Science and Technology) มหาวิทยาลัยเป่ยหาง ได้พัฒนาและทดสอบเครื่องบินกระพือปีกคู่ขนาดใหญ่ ซึ่งได้สร้างสถิติโลกไว้ โดยเวลาในการบินสูงสุดของเครื่องบินต่อการชาร์จหนึ่งครั้งคือ 1 ชั่วโมง 31 นาที 04 วินาที 98 เสี้ยววินาที ซึ่งยานพาหนะที่มีปีกกระพือมีแนวโน้มการใช้งานที่สำคัญในการลาดตระเวนทางทหาร การสำรวจดาวอังคาร การขับไล่นกในสนามบิน และยานพาหนะในอวกาศ

2. จีนประสบความสำเร็จในการแยกเชื้อไวรัสฝีดาษลิง และเริ่มวิจัยยาวัคซีน

21 ต.ค. 65 – สถาบัน Sinopharm China Bio-Wuhan Institute of Biological Products ประสบความสำเร็จในการแยกสายพันธุ์ไวรัส Monkeypox ออกจากตัวอย่างทางคลินิกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้สำเร็จ และเริ่มทำการวิจัยเกี่ยวกับยาวัคซีน เพื่อช่วยในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การป้องกันและควบคุมเชื้อไวรัสฝีดาษลิง

3. เทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมชีวิตคนจีนให้ดีขึ้น

22 ต.ค. 65 – เว็บไซต์ Asian Digital CFO รายงานว่า ในทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้รวมรากฐานของอุตสาหกรรมดิจิทัลและเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล มูลค่าตลาดรวมของเศรษฐกิจดิจิทัลของจีนเติบโตขึ้นจาก 11 ล้านล้านหยวนในปี พ.ศ. 2555 เป็น 45.5 ล้านล้านหยวนในปีที่แล้ว และปี พ.ศ. 2555 – 2564 อัตราการท่องอินเทอร์เน็ตของจีนเพิ่มขึ้นจาก 42.1% เป็น 73% มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 5G มากถึง 475 ล้านคนในประเทศ และจีนมีเครือข่าย 5G ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ความสำเร็จของการสร้างดิจิทัลของจีนเป็นประโยชน์ต่อสังคมในทุกด้าน ทุกวันนี้ ผู้คนสั่งอาหารด้วยการสแกนรหัส QR และชำระบิลด้วยการสแกนใบหน้า รวมถึงบริการที่จอดรถและการคัดแยกขยะด้วยระบบดิจิทัล จีนได้ก่อตั้งแพลตฟอร์มการศึกษาออนไลน์และแพลตฟอร์มข้อมูลการประกันสุขภาพแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก

4. โมดูลห้องปฏิบัติการเมิ่งเทียนจะเปิดตัวในเดือนนี้ การก่อสร้างสถานีอวกาศจีนเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย

23 ต.ค. 65 – ตามแผนการก่อสร้างของสถานีอวกาศจีน โมดูลห้องปฏิบัติการเมิ่งเทียน (Mengtian) จะเปิดตัวในเดือนนี้ ปัจจุบันมีการเตรียมการทดสอบระบบต่าง ๆ ของโครงการ เพื่อให้แน่ใจว่าการก่อสร้างสถานีอวกาศจีนจะเสร็จสมบูรณ์ตามกำหนด ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานักบินอวกาศประจำภารกิจเสินโจว-14 (Shenzhou-14) ได้ดูแลการประกอบสถานีอวกาศอย่างระมัดระวัง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการไปเยือนโมดูลเมิ่งเทียน ปัจจุบันนักบินอวกาศอยู่ในวงโคจรมานานกว่า 4 เดือน

5. ดาวเทียมคาร์บอนจีนประสบความสำเร็จในการติดตามการปล่อยคาร์บอนในเมืองเป็นครั้งแรก

25 ต.ค. 65 นักวิจัยชาวจีนจากสถาบันฟิสิกส์บรรยากาศ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Institute of Atmospheric Physics, CAS) และนักวิจัยชาวต่างประเทศประสบความสำเร็จในการติดตามปริมาณการปล่อยคาร์บอนในเมืองเป็นครั้งแรก ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องได้รับการตีพิมพ์ออนไลน์ใน Advances in Atmospheric Science นักวิจัยได้ใช้ข้อมูลการสังเกตคาร์บอนไดออกไซด์ของดาวเทียมคาร์บอนของจีนทั่นแซต (TanSat) และข้อมูลการสังเกตไนโตรเจนไดออกไซด์ของดาวเทียมเซนติเนล (Sentinel) ของยุโรป คำนวณความสัมพันธ์ระหว่างการปล่อยก๊าซคาร์บอนโดยมนุษย์กับไนโตรเจนไดออกไซด์ ผลการคำนวณสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่ระบุในรายการการปล่อยมลพิษ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าอัตราส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไนโตรเจนไดออกไซด์สามารถตรวจสอบได้ในเชิงปริมาณผ่านการใช้ดาวเทียมสังเกตการณ์

  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202210/0c2a81a575a9454e8d8eb9f6e32fdab5.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202210/1c13dcab518240728c2a04e9ab31f88e.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202210/bcadd4c6975142f19f59b0e6c773c542.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202210/064dcde5c50549f78140157ee6f652ec.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202210/dcb44d5e49f04883ad039f70e159aa8c.shtml

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]