1. “แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 14” จัดเก็บพลังงานใหม่
22 มี.ค. 65 – สำนักงานบริหารพลังงานแห่งชาติของจีน (National Energy Administration: NEA) ประกาศแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 14 เพื่อดำเนินการพัฒนาการจัดเก็บพลังงานใหม่ฉบับใหม่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการผลิตไฟฟ้า และการขับเคลื่อนการลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ โดยในแผนฯ เสนอว่า ภายในปีค.ศ. 2025 จะเร่งพัฒนาแหล่งกักเก็บพลังงานใหม่ในเชิงพาณิชย์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เช่น เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าเคมี พลังงานไฮโดรเจน และพลังงานความร้อน ให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร เช่น แบตเตอรี่โซเดียมไอออน อีกทั้งเสนอให้มีการจัดการความปลอดภัยของแบตเตอรี่ การเตือนล่วงหน้าเกี่ยวกับความปลอดภัยของระบบจัดเก็บพลังงานเคมีไฟฟ้า พัฒนาการจัดการความปลอดภัยในโรงไฟฟ้า เพื่อรองรับมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการ
2. การค้นพบทางโบราณคดีครั้งใหม่ของจีน ในปี 2021
23 มี.ค. 65 – สถาบันโบราณคดี สังกัดสถาบันสังคมศาสตร์แห่งชาติจีน (Chinese Academy of Social Sciences: CASS) ประกาศรายชื่อวัตถุทางโบราณคดีแห่งใหม่ ปี ค.ศ. 2021 จำนวน 6 รายการ ประกอบด้วย (1) หน้ากากทองคำสภาพสมบูรณ์ อายุกว่า 3,000 ปี ในหลุมบูชายัญ ณ โบราณสถานซานซิงตุย มณฑลเสฉวน (2) แหล่งผลิตหยกยุคหินใหม่หวงซาน เมืองหนานหยาง มณฑลเหอหนาน (3) ป้ายหินคำจารึกในสุสานราชวงศ์ถัง ณ มณฑลกานซู่ (4) โบราณวัตถุภายในสุสานในช่วงสมัยราชวงศ์ฉิน-ฮั่น ในหมู่บ้านเฉิงกวน อำเภอหยุนเหมิง มณฑลหูเป่ย (5) เครื่องดนตรีของเชื้อพระวงศ์และชนชั้นสูงในหลุมศพโบราณในช่วงยุคจ้านกั๋ว มณฑลเจียงซี (6) ซากโบราณยุคหินเก่าในอำเภอเต้าเฉิง มณฑลเสฉวน
3. นักวิทย์ฯ จีนประสบความสำเร็จในการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดของมนุษย์ที่มี “อายุน้อยที่สุดในโลก”
23 มี.ค. 65 – นักวิจัยจากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences: CAS) และสถาบันวิจัยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพเซินเจิ้น BGI ประสบความสำเร็จในการศึกษาเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนของมนุษย์โดยใช้ระยะเวลาเพียง 3 วัน ที่มี “อายุน้อยที่สุดในโลก” โดยเพาะเลี้ยงเซลล์ในหลอดทดลอง ถือเป็นความก้าวหน้าทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ความสำเร็จนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาการขาดแคลนอวัยวะและการปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะ ฯลฯ โดยผลการวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ใน “Nature” วารสารวิชาการระดับนานาชาติ
4. จีนประสบความสำเร็จการทดสอบเครื่องยนต์จรวดแรงขับสูงรุ่นใหม่
23 มี.ค. 65 – จรวดขนส่งลองมาร์ช 5B ผ่านการทดสอบและสำเร็จลุล่วงไปตามแผนที่วางไว้ โดยที่เครื่องยนต์ของจรวดทำงาน 100 วินาที และดับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ เชื้อเพลิงเหลวไฮโดรเจน-ออกซิเจน มีแรงขับเคลื่อนสูงตรงตามข้อกำหนดทางเทคนิคโดยรวม ระบบทดสอบต่าง ๆ ใช้งานได้ปกติ เช่น ระบบพารามิเตอร์และฟังก์ชันต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 2022 จีนมีแผนที่จะดำเนินการส่งยานอวกาศขนส่งสินค้าเทียนโจว-4 (Tianzhou-4) ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมเสินโจว-14 โมดูลห้องปฏิบัติการเวิ่นเทียน (Wentian) และโมดูลห้องปฏิบัติการเมิ่งเทียน (Mengtian) ขึ้นสู่อวกาศ
5. การสนับสนุนงานของมูลนิธิวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ
25 มี.ค. 65 – การประชุมมูลนิธิวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ (National Natural Science Foundation of China: NSFC) ครั้งที่ 8 ณ กรุงปักกิ่ง มีรายงานว่า งบประมาณทางการเงินของ NSFC ในปีนี้เพิ่มขึ้น 6.8% (33 พันล้านหยวน) โดยในปี ค.ศ. 2021 NSFC ใช้เงินกองทุนในการสนับสนุนงานวิจัยระดับพื้นฐาน บ่มเพาะทรัพยากรบุคคลด้านวิทยาศาสตร์ สนับสนุนทางการการแพทย์และการป้องกันโรคระบาด ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสนับสนุนการพัฒนาสู่ “เป้าหมายคาร์บอนคู่” เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอในระดับสูงสุด
ที่มา
- http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2022-03/22/content_532432.htm?div=-1
- https://baijiahao.baidu.com/s?id=1728037940134155763&wfr=spider&for=pc
- http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2022-03/23/content_532476.htm?div=-1
- http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2022-03/23/content_532481.htm?div=-1
- http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2022-03/25/content_532651.htm?div=-1