Science Technology Innovation Weekly No.9/2565

1. จีนสร้างเครือข่ายกลุ่มดาวเทียมสื่อสารในวงโคจรต่ำ

6 มี.ค. 65 – GalaxySpace บริษัทด้านเทคโนโลยีดาวเทียมสื่อสารวงโคจรต่ำของจีนประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมสื่อสารแถบความถี่กว้างวงโคจรต่ำ (LEO) จำนวน 6 ดวง ณ ศูนย์ส่งดาวเทียมซีชางด้วยจรวดขนส่งลองมาร์ช 2C ขึ้นสู่อวกาศและเข้าสู่ วงโคจรที่กำหนด เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 โดยตั้งเป้าสร้างเครือข่ายการสื่อสารระบบอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมที่สามารถให้บริการสื่อสารได้นานกว่า 30 นาทีต่อครั้ง ดาวเทียมบรอดแบนด์วงโคจรต่ำ 6 ดวงนี้ ได้รับการพัฒนาและสร้างเครือข่ายทดสอบที่มีการเชื่อมต่อกับสัญญาณ 5G ผ่านดาวเทียมครั้งแรกในจีน

2. การจัดสรรงบประมาณกองทุนวิจัยทางวิทยาศาสตร์

8 มี.ค. 65 – จากการสำรวจข้อมูลจากนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศจีน พบว่า ร้อยละ 76.2 มองว่า รัฐบาลกลางดำเนินการการจัดสรรงบประมาณสำหรับเงินทุนวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้นักวิจัยมีอิสระและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบการจัดการเงินทุนวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันของจีน มีความใกล้เคียงกับความต้องการของนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ช่วยลดภาระ เช่น การสมัครโครงการ การดำเนินโครงการ การส่งวัสดุ และการชำระเงินคืน ฯลฯ

3. นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ

9 มี.ค. 65 – หวัง จื้อกัง รมว.วท. จีน กล่าวในการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ ถึงความจำเป็นต้องพัฒนาและให้ความสำคัญแก่บุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน สามารถเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานด้านการขับเคลื่อนนวัตกรรมได้ ซึ่งในปี 2021 จีนได้ลงทุนวิจัยและพัฒนามากถึง 2.79 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น 14.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี เปิดตัวผลงานด้านเทคโนโลยีใหม่ขั้นสูง ที่สร้างมูลค่าทางเทคโนโลยีถึง 3.7 ล้านล้านหยวน

4. แผนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

10 มี.ค. 65 – รายงานผลงานรัฐบาลจีนประจำปี 2564 ในการประชุมสองสภาและตัวแทนของการประชุมสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งประชาชนจีน มีการพิจารณานโยบายเร่งด่วนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เสริมสร้างระบบนิเวศสำหรับธุรกิจดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล การพัฒนาเมืองอัจฉริยะและศูนย์ดิจิทัลชุมชน การพัฒนาระบบฐานข้อมูลดิจิทัล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถ เพื่อการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและการบรรลุเป้าหมายของการเป็นประเทศสังคมนิยมที่แข็งแกร่งและทันสมัย

5. บทบาทของมหาวิทยาลัยในการบ่มเพาะผู้มีความสามารถ เพื่อยกระดับคุณภาพของการวิจัยขั้นพื้นฐาน

11 มี.ค. 65 –การวิจัยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นบ่อเกิดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาความแข็งแกร่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจะต้องส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมและที่สำคัญคือ การวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการวิจัยขั้นพื้นฐาน ในระยะเวลาที่ผ่านมามหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัยระดับสูงทางวิทยาศาสตร์มีบทบาทที่สำคัญในการวิจัยขั้นพื้นฐานและบ่มเพาะผู้ที่มีความสามารถ ด้วยการส่งเสริมนโยบายหลัก 3 ประการ คือ (1) เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยและพัฒนาขีดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ (2) จัดสรรทุนสนับสนุนการวิจัยพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง (3) เร่งสร้างทีมผู้ที่มีความสามารถระดับสูง

ที่มา

  • http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2022-03/06/content_531607.htm?div=-1
  • http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2022-03/08/content_531690.htm?div=-1
  • http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2022-03/09/content_531748.htm?div=-1
  • https://baijiahao.baidu.com/s?id=1726867938923098475&wfr=spider&for=pc
  • https://news.cctv.com/2022/03/11/ARTIhQ7VxULbWahCxi6XICU7220311.shtml?spm=C94212.P2Zgu9C2lQBU.EdmaNB4aadRE.4
อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]