1. ชั้นเรียนในอวกาศ จุดประกายความคิดสร้างนักวิทย์ฯ รุ่นใหม่
9 ธ.ค. 64 – นอกจากจะเป็นนักบินอวกาศในยานเสินโจว-13 แล้ว พวกเขาทั้ง 3 คน ยังได้เป็น “ครูอวกาศ” ที่สอนจากสถานีอวกาศจีนครั้งแรก ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตบนอากาศ การสาธิตการทดลองโมเลกุลน้ำ การเคลื่อนไหวของร่างกาย การเคลื่อนที่ของวัตถุในสภาพแวดล้อมที่ไร้น้ำหนัก และอธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้นที่เกี่ยวกับอวกาศ ทำให้นักเรียนรู้สึกเหมือนได้อยู่ในจักรวาลจริง ๆ และสามารถถามคำถามได้เหมือนกับที่เรียนในห้องเรียนทั่วไป นักบินอวกาศหญิงหวัง ย่าผิง ได้นำนักเรียนเยี่ยมชมบ้านบนอวกาศและบรรยายว่า บ้านในสถานีอวกาศ ก็มีไมโครเวฟ ตู้เย็น อาหารที่รับประทาน และสามารถออกกำลังกายได้ด้วยลู่วิ่งและจักรยานในอวกาศได้ด้วย
2. แหล่งผลิตพลังงานนิวเคลียร์ของจีนเข้าสู่ยุคการผลิตและการใช้
6 ธ.ค. 64 – โครงการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ทางตอนใต้ของจีน มณฑลเจ้อเจียง ระยะที่ 1 ได้เริ่มดำเนินการทดลองผลิตไฟฟ้าบนพื้นที่ 460,000 ตร.ม. ให้กับประชาชนในพื้นที่ 4,000 คน สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ 196 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี นอกจากนี้ โครงการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ในมณฑลซานตง ทางตอนเหนือของจีน ได้ผลิตพลังงานนิวเคลียร์เชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก บนพื้นที่ 700,000 ตร.ม. ให้กับประชาชนที่อาศัยบริเวณนั้น จำนวน 200,000 คน โครงการฯ ดังกล่าว ได้ดำเนินการโดยตระหนักถึง คนในท้องถิ่น ความปลอดภัย และความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์
3. จีนเปิดตัวเครื่องตัดไฟเบอร์เลเซอร์กำลังสูงสุด 100,000 วัตต์
10 ธ.ค. 64 – จีนเปิดตัวเครื่องตัดไฟเบอร์เลเซอร์ที่มีกำลังแสงเลเซอร์สูงสุด 100,000 วัตต์ ซึ่งได้รับการพัฒนาจากมหาวิทยาลัยหนานฮัวและบริษัท Wuhan Raycus Fiber Laser Technologies Co.,Ltd. โดยสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงในงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้กำลังแสงเลเซอร์สูง เช่น การเชื่อมท่อของโรงงานนิวเคลียร์ การขจัดสารนิวเคลียร์ที่ปนเปื้อนบนพื้นผิว การหลอมแก้ว เครื่องดังกล่าวมีประสิทธิภาพที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก
4. จีนสร้างเขตนําร่องการพัฒนานวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระดับชาติ รวม 17 แห่ง
7 ธ.ค. 64 – จีนสร้างเขตนําร่องการพัฒนานวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระดับชาติ ทั้งหมด 17 แห่ง ในพื้นที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน หางโจว เหอเฝย เซินเจิ้น เต๋อชิง ฉงชิ่ง เฉิงตู ซีอาน จี่หนาน กวางโจว อู่ฮั่น ซูโจว ฉางซา เจิ้งโจว และเสิ่นหยาง โดยกระทรวงวิทย์ฯจีน วางแผนสร้างเขตนําร่องฯ 20 แห่งภายในปี 2023 ซึ่งจะเป็นพื้นที่พัฒนาเครื่องมือเชิงนโยบายที่ใช้ได้จริงและมีประสิทธิภาพ สร้างแบบจําลองที่บูรณาการปัญญาประดิษฐ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถเรียนรู้และพัฒนาจากประสบการณ์ รวมถึงสร้างพื้นที่สําหรับปัญญาประดิษฐ์ชั้นนําด้วย
5. การประชุมคณะทำงานว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจของรัฐบาลกลาง
13 ธ.ค. 64 – การประชุมฯ มีนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้ (1) การพึ่งพาตนเองของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับสูง (2) การปฏิรูประบบเศรษฐกิจด้วยกลยุทธ์ของการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (3) ลดภาระและข้อจำกัดของนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (4) ให้ความสำคัญกับห้องปฏิบัติการแห่งชาติและส่งเสริมการปฏิรูปสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (5) รัฐวิสาหกิจควรมีบทบาทในการเป็นผู้นำของ ภาคเศรษฐกิจและการตลาด (6) ปลูกฝังและเสริมสร้างกลุ่มวิสาหกิจทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำต่าง ๆ
ที่มา
- http://www.news.cn/2021-12/09/c_1128148704.htm
- https://www.zghy.org.cn/item/488403162462388224
- http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2021-12/13/content_527124.htm?div=-1&fbclid=IwAR1nualiYf-JKk040Jqb7feIejCtN-mjNYAkLor78xU3vYC9TrlG9QqV9kc
- https://www.xinhuathai.com/china/247439_20211207
- http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2021-12/13/content_527117.htm?div=-1&fbclid=IwAR1HGGrv5tbZxK-38o_cZBzdJkbPU42prd10lO3DZXEtMvM4-9RFNCcujIY