คำแนะนำการเรียนต่อจีนด้านวิศวกรรมศาสตร์
1) ศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน
• สืบค้นข้อมูลหลักสูตร / สถาบันวิจัย จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่สนใจ
• ศึกษาหาข้อมูลงานวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านที่เราสนใจจริงๆ
• ทุนการศึกษาของรัฐบาลจีน (ข้อมูลทุนการศึกษาจีน www.stsbeijing.org/contents/2316)
2) ทักษะสำคัญ (ขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่ศึกษา)
• ภาษาจีน / อังกฤษ : HSK4-6 TOFEL IELTS
• วิศวกรรมพื้นฐาน : เลข ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ โปรแกรมมิ่ง
• กรณีเรียนข้ามสาย : ศึกษาและเตรียมตัวแต่ละวิชาให้พร้อม
3) นักเรียนจากสายอาชีพ
นักเรียนที่จบจากปวช. / ปวส. ควรศึกษาวิชาพื้นฐานเพิ่มเติม เช่น เลข ฟิสิกส์
4) มีเป้าหมายการเรียนต่อ
รู้จุดประสงค์การเรียนต่อ ไปเรียนทำไม เรียนเพื่ออะไร
5) LEARN & LEAD
ควรเรียนรู้ทั้งด้านวิชาการและวิธีการคิด / เทคนิค / แนวทางพัฒนาของจีนด้วย
6) รักษาสุขภาพระหว่างเรียน
ความต่างของสภาพภูมิอากาศและความเป็นอยู่
(คลิป : https://youtu.be/VnIDMc4eEZ0)
วิศวกรรมโยธา การจัดการการก่อสร้าง
เวณิกา ตันพิพัฒน์ (คลิป : youtu.be/0eJeuyIXEJk)
หลังเรียนจบสถาปนิกและทำงานที่ไทยได้ 1 ปี ใฝ่ฝันอยากเป็น ASEAN Architect การมีประสบการณ์ทำงานต่างประเทศและพูดภาษาที่ 3 ได้
ป.โท / เอก : Construction Management, School of Civil Engineering
(ข้อมูลหลักสูตร www.thuicpm.cn/icpm)
• QS World University Rankings by Subject 2021 อันดับ 7 ของโลก
• เปิดรับสมัครนักศึกษาที่จบจากทุกสาขา
• ควรมีประสบการณ์ทำงาน 1-2 ปี
• ประกอบด้วย 3 ศูนย์วิจัย และ 3 สถาบัน (https://bit.ly/3nx257b)
ชิงหัวเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็น International สูง ระหว่างเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมหลากหลายในต่างประเทศ เช่น กิจกรรมแข่งขัน / งานสัมมนา / งานบรรยาย
สายงานหลังเรียนจบ
โครงการก่อสร้างต่างๆ ในไทย เช่น การบริหารจัดการอาคารในเมือง โครงการรถไฟความเร็วสูง
China’s Mega Projects
องค์ความรู้จากสิ่งรอบตัว ระหว่างศึกษาอยู่ที่ ม.ชิงหัว : สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง , สะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า , โครงการรถไฟความเร็วสูง , สนามบินนานาชาติปักกิ่งต้าซิง , โรงพยาบาลชั่วคราวเมืองอู่ฮั่น
วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
ภารัณ ชวพันธุ์ (คลิป : youtu.be/adPVkE7eytA)
งานวิจัย : ด้านการแพทย์ หุ่นยนต์โครงกระดูกภายนอก ปัจจุบันจีนขึ้นเป็นผู้นำการวิจัยด้านนี้อีกด้วย
Mechanical Engineering, Zhejiang University
(ข้อมูลหลักสูตร http://me.zju.edu.cn)
• QS World University Rankings by Subject 2021 อันดับ 35 ของโลก
• มีห้องปฏิบัติการวิจัยสำคัญของรัฐและมณฑล
• เปิดรับสมัครนักศึกษาที่จบจากทุกสาขา
เมคคาทรอนิกส์เป็นการบูรณาการหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน วิศวฯ เครื่องกล , วิศวฯ อิเล็กทรอนิกส์ , วิศวฯ การควบคุมอัตโนมัติ , วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
” จีนเป็นประเทศที่น่าสนใจในการเลือกเรียนต่อด้านวิศวกรรม รัฐบาลจีนมีนโยบายให้การสนับสนุนเป็นอย่างมาก “
MADE IN CHINA 2025
นโยบายเปลี่ยนจีน จาก “โรงงานของโลก” เป็น “แหล่งผลิตสินค้านวัตกรรมของโลก”
China Standards 2035
จีนผลักดันการพัฒนามาตรฐานสู่ระดับสากล เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างความก้าวหน้าของจีน
• หุ่นยนต์อัจฉริยะ
• เครื่องจักรระบบอัตโนมัติ
• อุปกรณ์เกษตรอัจฉริยะ
วิศวกรรมชลศาสตร์และทรัพยากรน้ํา
ภวิสร ชื่นชุ่ม (คลิป : youtu.be/xzADhhn3Obc)
Hydraulic Engineering, School of Civil Engineering
(ข้อมูลหลักสูตร www.civil.tsinghua.edu.cn/he)
• QS World University Rankings by Subject 2021 อันดับ 7 ของโลก
• ควรมีพื้นฐานความรู้ด้านวิศวกรรมโยธา สำหรับการศึกษาต่อในระดับป.โท / เอก
• ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการสำคัญของรัฐ 1 แห่ง และสถาบันวิจัย 6 แห่ง (รายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/3njamv6)
AI for Water Management in China
ปัจจุบันจีนใช้ระบบ AI ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในประเทศ รวมหลายศาสตร์เทคโนโลยีบูรณาการการทำงานร่วมกัน เช่น IoT, Big Data, GPS, Cloud computing เป็นต้น
ตัวอย่างความก้าวหน้าของจีน
• เขื่อน Three Gorges Dam โรงไฟฟ้าพลังน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
จุดประสงค์การสร้าง : ผลิตกระแสไฟฟ้า ป้องกันน้ำท่วม โดยมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ 32 ตัว แต่ละตัวมีกำลังการผลิต 700,000 กิโลวัตต์
• โครงการผันน้ำจากใต้สู่เหนือ South–North Water Transfer Project โครงการลำเลียงน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก แบ่งเป็น 3 เส้นทาง
จุดประสงค์การสร้าง : แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคเหนือ มีเป้าหมายที่จะลำเลียงน้ำ 44.8 พันล้านลูกบาศก์เมตร/ปี
วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม 2564
09:30 – 10:30 น. (เวลาไทย) 10.30 – 11.30 น. (เวลาจีน)
แขกรับเชิญ
ภวิสร ชื่นชุ่ม (คิงส์)
วิศวกรรมชลศาสตร์และทรัพยากรน้ํา มหาวิทยาลัยชิงหัว
เวณิกา ตันพิพัฒน์ (เวย์)
วิศวกรรมโยธา ภาควิชาการจัดการการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยชิงหัว
ภารัณ ชวพันธุ์ (บุ๊ค)
วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง
ดำเนินรายการโดย
ดร.สรสิช ผดุงรัชดากิจ (เติ้ล)
อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์