• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • เมื่อสักครู่นี้ มีคนมาสัมภาษณ์ผมเรื่อง 5G จีน เพราะตอนสมัยใช้ชีวิตที่จีน ผมเคยมี…

เมื่อสักครู่นี้ มีคนมาสัมภาษณ์ผมเรื่อง 5G จีน เพราะตอนสมัยใช้ชีวิตที่จีน ผมเคยมี…

เมื่อสักครู่นี้ มีคนมาสัมภาษณ์ผมเรื่อง 5G จีน เพราะตอนสมัยใช้ชีวิตที่จีน ผมเคยมีโอกาสได้ทำวิจัยในแล็ป Wireless communication networks and security ,part of State key lab of integrated service network และมีคลาสสอนทั้งนศจีนและนศต่างชาติระดับปริญญาโทด้วย โดยใช้ภาษาอังกฤษ
.
แน่นอนว่า ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษา Native ของผม ช่วงแรกที่สอน มีทั้งเขียนผิดไวยากรณ์ ใช้ศัพท์ผิด อธิบายงงๆกำกวม เคยถึงขั้นที่มีนักศึกษาต่างชาติ เดินออกมาหน้าคลาส มาเขียนกระดานแทนเราเลย ว่า มันควรอธิบายแบบนี้สิ ในฐานะของคนสอน เราควรทำเช่นไรต่อ? ตำหนินักศึกษาที่อยู่ดีดีก็ออกมาเขียนกระดาน ทั้งที่เราเป็นอาจารย์ครูผู้สอน? หรือเราควรทำเช่นไร
.
ยอมรับว่า แวบแรก รู้สึกอายยยยย มากกกกก 555 แต่สิ่งที่ผมทำคือ ยิ้ม พร้อมขอบคุณนักศึกษาคนนั้น ที่ช่วยอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น พร้อมทั้งเดินหน้าอธิบายต่อ และใช้วิกฤตินั้น สร้างบรรยากาศในการถกกัน ยิ่งเป็นคลาสปริญญาโทด้วยแล้ว การถกเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่คมขึ้น เป็นสิ่งที่ควรทำ
.
ถ้ามัวแต่อายหรือโมโห ยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็นคนสอน เราผิดไม่ได้ สุดท้าย ก็ไม่รู้ว่าจะเป็นครูผู้สอนได้อย่างไร เพราะหน้าที่ของครูผู้สอนคือ "การทำให้ผู้เรียน ได้รับความรู้และประสบการณ์จากผู้สอนมากที่สุดและถูกต้องที่สุดเท่าที่ทำได้" และแน่นอนคือ ไม่มีใครไม่เคยผิดพลาด ผิดก็แค่แก้ไข
.
หลังจากคลาสนั้น คนที่ออกมายืนเขียนกระดาน อธิบายเมื่อผมทำให้เขารู้สึกว่าอธิบายได้ไม่ชัดเจนพอ ก็ขอโทษผมเป็นการส่วนตัว และได้พูดคุย Discuss กัน ด้วยบรรยากาศของวิชาการ บนพื้นฐานของความรู้ มิใช่อารมณ์

ย้ำอีกครั้งว่า ใครๆก็ผิดได้ ผิดก็แค่แก้ไข และพัฒนาต่อ

ไหนๆก็พูดถึงประเด็นนี้ ขออนุญาตแนะนำผู้ช่วยที่ผมใช้บ่อยๆตั้งแต่สมัยอยู่จีน เวลาเขียน Thesis เป็นภาษาอังกฤษ หรือใช้ทำสไลด์สอนนศ. เพื่อตรวจเช็คการใช้ภาษาอังกฤษ ให้สื่อสารออกมาได้ถูกต้องและเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ก็คือ Grammarly
.
แอปนี้ไม่จำเป็นต้องเสียเงินก็ได้ มีเวอร์ชั่นใช้ฟรี ซึ่งก็โอเคนะ ช่วยแก้ไขให้เราได้ในระดับหนึ่ง อย่างปัญหาในรูปที่ผมแคปเจอร์มา แอปก็แก้ให้ได้นะ หรือจะใช้ Google translate แปลจากไทยเป็น Eng หากติดตั้งแอปนี้ ก็มีขึ้นเตือนบน Google translate ด้วย ถือว่าสะดวกและชีวิตง่ายขึ้นทีเดียว

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน



ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]