• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • ส่านซีประกาศแผนปฏิบัติการเร่งสร้างสร้างความรุ่งเรืองบนแถบเส้นทางสายไหมร่วมกัน – ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในจีน (Thailand Business Information Center in China)

ส่านซีประกาศแผนปฏิบัติการเร่งสร้างสร้างความรุ่งเรืองบนแถบเส้นทางสายไหมร่วมกัน – ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในจีน (Thailand Business Information Center in China)

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 มณฑลส่านซีได้ประกาศแผนปฏิบัติการบูรณาการอย่างลึกซึ้งในแผนการสร้างความรุ่งเรืองบนแถบเส้นทางสายไหมร่วมกัน (แผนปฏิบัติการฯ) ตามแผนการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ของมณฑลส่านซีฉบับที่ 14 (2563- 2568) แผนพัฒนาฯ ที่ จะสร้างเมืองแบบมี “หนึ่งหัวใจหลัก สองแขนง สี่เส้นทาง ห้าศูนย์และหลายแพลตฟอร์ม” แบ่งเป็น

หนึ่งหัวใจหลัก (一核) หมายถึง นครซีอาน ศูนย์กลางการส่งเสริมการพัฒนาและเติบโตสู่เมืองโดยรอบ

สองแขนง (“两翼) หมายถึง แขนง 2 แห่ง หมายถึง 2 ขุมทรัพย์พลังงานได้แก่ เมืองยวีหลิน ทางตอนเหนือของส่านซี แหล่งพลังงานสำรองที่สำคัญที่สุดของมณฑล และเขตนิเวศวิทยาทางตอนใต้ของมณฑลส่านซี โดยเฉพาะบริเวณลุ่มเม่น้ำฮั่นเจียง ที่นอกจากจะเป็นแหล่งการก่อสร้างอย่างมีคุณภาพสูงของส่านซีแล้วยังเป็นพื้นที่เชื่อมต่อและใช้ประโยชน์ได้จากเส้นทางขนส่ง ILSTC (the New International Land-Sea Trade Corridor in western China: 西部陆海新通道) และอานิสงส์จากเขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซี

“สี่เส้นทาง” (四通道) หมายถึง 1) สะพานแผ่นดินแห่งใหม่ยูเรเซียน (The New Eurasian Land Bridge (NELB) )2) เส้นทางระเบียงเชื่อมต่อจีน-รัสเซีย-มองโกเลียสู่อาเซียน (蒙俄—东盟“南北干线”通道) อันเป็นผลมาจาการต่อยอดความร่วมมือ China-Mongolia-Russia Economic Corridor (CMREC) [1] 3) เส้นทางเชื่อมต่อเอเชียใต้-ยุโรป (ยุโรป-ปากีสถาน-จีน) (亚欧干线中巴“南亚支线”通道) และ 4) เส้นทางเชื่อมต่อเอเชีย-ยุโรป สู่ทะเลเมดิเตอเรเนียน (亚欧干线地中海“西亚支线”通道) เตอเรเนียน (亚欧干线地中海“西亚支线”通道) 

 

ห้าศูนย์(五中心) หมายถึงศูนย์รวบรวมการขนส่ง การพาณิชย์ และลอจิสติกส์ ศูนย์ความร่วมมือการผลิตระหว่างประเทศ ศูนย์การศึกษาและเทคโนโลยี ศูนย์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมระหว่างประเทศ และศูนย์การเงินของเส้นทางสายไหม

หลายแพลตฟอร์ม(多平台) หมายถึงแพลตฟอร์มเปิดที่ครอบคลุม เช่น เขตนำร่องการค้าเสรีมณฑลส่านซีและ “ฉิน ช่วง หยวน” (秦创原) โมเดลขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ นิทรรศการนานาชาติเส้นทางสายไหม (Silk Road International Expo: 丝绸之路国际博览会) อุทยานความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ (Overseas Economic and Trade Cooperation Park: 境外经贸合作园区) และการเป็นเจ้าภาพจัดงานฟอรัมเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป (Euro-Asia Economic Forum: 欧亚经济论坛)

ข้อมูลข้างต้นจะเป็นฟันเฟืองสนับสนุนหลักในการสร้างมณฑลส่านซีสู่เมืองศูนย์กลางการค้าและการขนส่ง มีอุตสาหกรรมที่สำคัญพร้อมเป็นฐานการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมสำหรับเอเชียกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันตก โดยมณฑลส่านซีได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาห้าศูนย์ข้างต้นในอีก 5 ปีข้างหน้า (2563-2568) ดังนี้

  1. สร้างช่องทางบูรณาการเครือข่ายทางทะเล ทางบก และทางอากาศที่สะดวกและมีประสิทธิภาพที่เชื่อมต่อทั้งภายในและต่างประเทศ แบ่งเป็น 1) ส่งเสริมการก่อสร้างเส้นทางสายไหมทางอากาศ โดยจะเปิดสิทธิจราจรทางอากาศที่ 5 ให้กับประเทศบนแถบเส้นทางสายไหมมากยิ่งขึ้น (สิทธิการจราจรทางอากาศที่ 5 [2] เป็นสิทธิในสิทธิในการจราจรทางอากาศของจีน (Air Traffic Freedom Rights) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ระดับ ที่ 5 หมายถึง สิทธิในการเดินอากาศของประเทศที่ 3 ที่ประเทศต้นทางให้สิทธิแก่ประเทศใดประเทศหนึ่งให้สามารถบรรทุกผู้โดยสาร สินค้า หรืออื่นๆ ที่ได้รับอนุญาตได้) โดยในส่วนของสนามบินซีอานเสียนหยางได้ใช้ประโยชน์จากสิทธิฯ ข้างต้นครั้งแรก ในเส้นทางบนส่งสินค้าโซล-ซีอาน-ฮานอย เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2019 และเพิ่มจำนวนเส้นเที่ยวบินโดยตรงระหว่างประเทศบนแถบเส้นทางสายไหมกับนครซีอาน โดยปัจจุบัน สนามบินซีอานเสียนหยางเป็นหนึ่งในสนามบินภาคีตามการลงนามในพิธีสารความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศระหว่างอาเซียน – จีน โดยที่ได้รับสิทธิการจราจรทางอากาศที่ 3 4 และ 5 โดยมีสนามบินนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ เป็นคู่ภาคี พยายามให้เสร็จสิ้นระยะที่ 3 ของโครงการขยายการสร้างสนามบินนานาชาติซีอานเสียนหยาง ตั้งเป้าเพิ่มปริมาณสายการบินทั้งในและต่างประเทศให้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 70 ปลายทาง และคาดการณ์จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบินฯ ต่อปีจะไม่ต่ำกว่า 67 ล้านคน รวมถึงเป้าหมายด้านการขนส่งสินค้าและบริการทางไปรษณีย์ไม่ต่ำกว่า 800,000 ตัน/ปี 2) ทางราง ไม่เพียงแต่จะเร่งการก่อสร้างรถไฟใต้ดินในนครซีอานเท่านั้น แต่ยังเร่งการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างนครซีอานและเมืองอื่นๆ ด้วย โดยมีเป้าหมายเพิ่มระยะทางรถไฟความเร็วสูงให้ครอบคลุมมากถึง 1,500 กิโลเมตร 3) สร้างเขตสาธิตเศรษฐกิจสนามบินนครซีอานมาตรฐานระดับชาติ (西安国家级临空经济示范区) สนับสนุนให้เมืองเสียนหยางพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่แถวสนามบิน ส่งเสริมการพัฒนา China-Europe Express Chang’an Express และแสวงหาความร่วมมือกับเมือง (เขต) ต่างๆ ที่มีรถไฟขนส่งระหว่างประเทศโดยตรงให้ผ่าน
    นครซีอาน
  2. สร้างฐานอุตสาหกรรมในพื้นที่ให้สามารถแข่งขันในระดับสากล สร้างระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่สามารถตอบสนองความต้องการความสำคัญในประเทศและต่างประเทศ ตั้งเป้าเพิ่มอัตราการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศของมณฑลส่านซีโตเฉลี่ยร้อยละ 15/ปี อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีของการใช้เงินทุนจากต่างประเทศคือร้อยละ 13 การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศต่อหัวเฉลี่ย 21 ดอลลาร์สหรัฐฯ และอัตราเฉลี่ยการการใช้เงินทุนจากต่างประเทศต่อหัวสูงไม่ต่ำกว่า 395 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  3. พัฒนาให้มณฑลส่านซีกลายเป็นพื้นที่หลักของนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการแห่งชาติ โดยเฉพาะการใช้ “ฉิน ช่วง หยวน” (秦创原) โมเดลขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างมีคุณภาพสูง พัฒนาให้วิสาหกิจไฮเทคของมณฑลส่านซีให้มีไม่ต่ำกว่า 10,000 แห่ง และดึงดูดผู้มีความสามารถและแรงงานทักษะระดับสูงจากต่างประเทศที่มาทำงานในมณฑลส่านซี ให้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 0.4 ของผู้ถูกจ้างทั้งหมด
  4. พัฒนาให้มณฑลส่านซีเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของเส้นทางสายไหม เป้าหมายคือ มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมคิดเป็นมากกว่า 3.5% ของ GDP มณฑลส่านซี มูลค่าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในมณฑลส่านซีเพิ่มขึ้นถึง 100 ล้านหยวน และจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด 900 ล้านคน
  5. พัฒนาให้มณฑลส่านซีกลายเป็นศูนย์การเงินของเส้นทางสายไหม ตั้งเป้าภายในปี 2568 อุตสาหกรรมการเงินจะมีสัดส่วนต่อ GDP มณฑลไม่ต่ำกว่า 8 %

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้างต้น มณฑลส่านซีจะมุ่งเน้นไปที่การดำเนินการตามโครงการหลัก 9 โครงการ ได้แก่

1) โครงการก่อสร้าง Xi’an Belt and Road Comprehensive Experimental Zone (西安一带一路综合实验区)

2) โครงการก่อสร้างช่องทางการค้าทางบก-น้ำ ที่สำคัญระหว่างเอเชีย-ยุโรป (亚欧陆海贸易大通道)

3) โครงการก่อสร้าง China-Europe Railway Express Xi’an Assembly Center (中欧班列西安集结中心) อย่างมีคุณภาพสูง

4) โครงการก่อสร้างเขตนำร่องการค้าเสรีอย่างนวัตกรรม (创新建设自由贸易试验区) โดยจะสร้างนครซีอานให้เป็นเมืองที่มีการ ผสมผสานวัฒนธรรมและ “พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ” แสดงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของซีอานไปกับทั่วโลก

5) โครงการสร้างฐานสาธิตการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการเกษตรและการฝึกอบรมขององค์กรความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (上海合作组织农业技术交流培训示范基地) ตามมาตราฐานสูง

6) โครงการก่อสร้างเขตสาธิตเศรษฐกิจสนามบินของนครซีอาน (西安临空经济示范区) โดยจะเพิ่มความร่วมมือกับเมืองและเขตอยู่รอบๆ อาทิ เขตเสียงหยาง เมืองเว่ยหนาน เมืองเป่าจี และเมืองถงชวน

7) โครงการสร้างศูนย์กลางการค้าของ The Belt and Road (“一带一路”大宗商品交易中心)

8) โครงการสร้างศูนย์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเส้นทางสายไหมของนครซีอาน (西安丝路科创中心) โดยจะส่งเสริมการสร้างเขตนำร่องการพัฒนาและนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์รุ่นใหม่แห่งชาติของนครซีอานและสนับสนุนการสร้างสร้างพื้นที่สาธิตเทคโนโลยีระดับไฮเอนด์ในเขตไฮเทคของนครซีอาน

9) โครงการสร้างศูนย์นิทรรศการการค้าเชิงวัฒนธรรมของ The Belt and Road (“一带一路”文化贸易展示中心)

แผนปฏิบัติฯ นี้สอดคล้องกับแนวคิดประธานาธิบดีสี จิ้ผิง เมื่อครั้งมาสำรวจมณฑลส่านซี[3] โดยได้กล่าวว่า มณฑลส่านซีควรเน้นส่งเสริมการพัฒนาอย่างมีคุณภาพสูง นวัตกรรมและดิจิทัล โดยเน้นประเด็นสำคัญและลักษณะเฉพาะของมณฑลส่านซี โดยมณฑลส่านซีเป็นศูนย์กลางของประเทศจีน สามารถสร้างเส้นทางเพื่อเชื่อมโยงเมืองทั้งในและต่างประเทศ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนามณฑลส่านซีสู่เมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งของเเนวคิดเส้นทางสายไหม

แหล่งที่อ้างอิง

https://mp.weixin.qq.com/s/RBRNL0G_6wkl-ufL_pBcDQ
https://mp.weixin.qq.com/s/9zvv37Eh-Pip4QkSsH_tOA

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1717088940098559623&wfr=spider&for=pc

[1] ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้เสนอแนวคิอ CMREC เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2557 ในการประชุมไตรภาคีครั้งแรกของผู้นำทั้งสามประเทศ ณ เมืองดูชานเบ เมืองหลวงของทาจิกิสถาน ปัจจุบัน CMREC มีช่องทางการสัญจรที่สำคัญสองเส้นทาง 1) จากภูมิภาคปักกิ่ง-เทียนจิน-เหอเป่ยของจีนไปยังฮูฮอตและต่อไปยังมองโกเลียและรัสเซีย; 2) จากต้าเหลียน เสิ่นหยาง ฉางชุน ฮาร์บิน และหม่านโจวหลี่ ไปจนถึงชิตาของรัสเซีย

[2] แหล่งที่อ้างอิงhttps://baike.baidu.com/item/%E7%AC%AC%E4%BA%94%E8%88%AA%E6%9D%83/402942?fr=aladdin

[3]แหล่งที่อ้างอิง http://www.shaanxi.gov.cn/zfxxgk/fdzdgknr/zcwj/szfbgtwj/szbf/202111/t20211103_2197908.html

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]