สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์จีน (CASS)

สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์จีน

(Chinese Academy of Social Sciences – CASS)

ที่อยู่: 5 Jianguomennei Dajie, Beijing, China, 100732

โทร: (86)-10-85886809, เว็บไซต์: http://www.cass.cn/

(1) โครงสร้างผู้บริหารสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์จีน

เกา เสียง (Gao Xiang, 高翔)
– ผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์จีน
– เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำสถาบันฯ
เจิน จ้านหมิน (Zhen Zhanmin, 甄占民)
– รองผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์จีน
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำสถาบันฯ
หาง หยวนเซียง (Hang Yuanxiang, 杭元祥)
– หัวหน้าคณะกรรมการกลางการตรวจสอบและกำกับดูแลวินัยแห่งชาติประจำสถาบันฯ
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำสถาบันฯ
หวัง ชางหลิน (Wang Changlin, 王昌林)
– รองผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์จีน
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำสถาบันฯ
จ้าว จื้อหมิน (Zhao Zhimin, 赵志敏)
– เลขาธิการ สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์จีน
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำสถาบันฯ
จ้าว รุ่ย (Zhao Rui, 赵芮)
– รองผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์จีน
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำสถาบันฯ

(2) โครงสร้างองค์กรของสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์จีน

หน่วยงานภายใน

  1. สำนักงานกลาง (General Office)
  2. สำนักงานบริหารการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (Bureau of Scientific Research Management)
  3. สำนักงานบุคลากรและการศึกษา (Bureau of Personnel and Education)
  4. สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ (Bureau of International Cooperation)
  5. สำนักงานการคลังการก่อสร้างและการวางแผน (Bureau of Finance, Capital Construction and Planning)
  6. สำนักงานบุคลากรผู้เกษียณอายุ (Bureau of Work for Veteran Cadres)
  7. สำนักงานตรวจสอบและกำกับดูแล (Supervisory Bureau)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1. มหาวิทยาลัยบัณฑิตสังคมศาสตร์ (University of China Academy of Social Science)
  2. ห้องสมุดทางสังคมศาสตร์ (Chinese Academy of Social Science library)
  3. สำนักพิมพ์เอกสารทางสังคมศาสตร์ (Social Sciences Academic Press)
  4. ศูนย์บริการ (Center for Services)
  5. ศูนย์วิจัยนโยบายด้านวัฒนธรรม (Research Center for Cultural Policy)

วิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง

  1. สำนักพิมพ์สังคมศาสตร์ในจีน (Social Science in China Press)
  2. สำนักพิมพ์สังคมศาสตร์จีน (Chinese Social Sciences Press)
  3. บริษัทพัฒนามนุษยศาสตร์จีน (Chinese Corporation for Promotion of Humanities)

หน่วยงานตัวแทน

  1. สำนักงานตำนาน – พงศาวดารท้องถิ่นจีน (Office of Guiding Group for China’s Local Chronicles Compilation (State Local Chronicles Museum, Local Chronicles Publishing House)

คณะปรัชญาและวรรณกรรม

  1. สถาบันวิจัยวรรณกรรม (Institute of Literature)
  2. สถาบันวิจัยวรรณกรรมชาติพันธุ์ (Institute of Ethnic Literature)
  3. สถาบันวิจัยวรรณกรรมต่างประเทศ (Institute of Foreign Literature)
  4. สถาบันวิจัยภาษาศาสตร์ (Institute of Linguistics)
  5. สถาบันวิจัยปรัชญา (Institute of Philosophy)
  6. สถาบันวิจัยศาสนาโลก (Institute of World Religions)

คณะประวัติศาสตร์

  1. สถาบันวิจัยประวัติศาสตร์ (Institute of History)
  2. สถาบันวิจัยโบราณคดี (Institute of Archaeology CASS)
  3. สถาบันวิจัยประวัติศาสตร์โบราณ (Institute of Ancient History)
  4. สถาบันวิจัยประวัติศาสตร์ยุคสงครามฝิ่น (Institute of Modern History)
  5. สถาบันวิจัยประวัติศาสตร์โลก (World history Research)
  6. ศูนย์วิจัยประวัติศาสตร์ชายแดนจีนและภูมิศาสตร์ (Research Center for Chinese Borderland History and Geography)
  7. สถาบันวิจัยทฤษฎีประวัติศาสตร์ (Institute of History Theory)
  8. สถาบันไต้หวันศึกษา (Institute of Taiwan Studies)

คณะเศรษฐศาสตร์

  1. สถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์ (Institute of Economics)
  2. สถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม (Institute of Industrial Economics)
  3. สถาบันวิจัยการพัฒนาชนบท (Rural Development Institute)
  4. สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์เศรษฐศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Economic Strategy)
  5. สถาบันวิจัยการเงินและการธนาคาร (Institute of Finance and Banking)
  6. สถาบันเศรษฐศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงปริมาณ (Institute of Quantitative & Technical Economics)
  7. สถาบันวิจัยประชากรและเศรษฐกิจแรงงาน (Institute of Population and Labor Economics)
  8. สถาบันวิจัยอารยธรรมนิเวศวิทยา (Research Institute for Eco-civilization)

คณะสังคม รัฐศาสตร์และกฎหมาย

  1. สถาบันวิจัยนิติศาสตร์ (Institute of Law)
  2. สถาบันวิจัยกฎหมายระหว่างประเทศ (Institute of International Law)
  3. สถาบันวิจัยรัฐศาสตร์ (Institute of Political Science)
  4. สถาบันวิจัยชาติพันธุ์วิทยาและมานุษยวิทยา (Institute of Ethnology and Anthropology)
  5. สถาบันวิจัยสังคมวิทยา (Institute of Sociology)
  6. สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมแห่งชาติ (National Academy of Social Development Strategy)
  7. สถาบันวิจัยวารสารศาสตร์และการสื่อสาร (Institute of Journalism and Communication Studies)

คณะวิจัยนานาชาติ

  1. สถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์และการเมืองของโลก (Institute of World Economy and Politics)
  2. สถาบันวิจัยรัสเซีย ยุโรปตะวันออก และเอเชียกลางศึกษา (Institute of Russian, Eastern European & Central Asian Studies)
  3. สถาบันวิจัยยุโรปศึกษา (Institute of European Studies)
  4. สถาบันวิจัยตะวันตกเอเชียและแอฟริกาศึกษา (Institute of West-Asian and African Studies)
  5. สถาบันวิจัยละตินอเมริกาศึกษา Institute of Latin American Studies)
  6. สถาบันวิจัยกลยุทธ์ระหว่างประเทศแห่งชาติ (National Institute of International Strategy)
  7. สถาบันวิจัยอเมริกาศึกษา (Institute of American Studies)
  8. สถาบันวิจัยญี่ปุ่นศึกษา (Institute of Japanese Studies)
  9. สถาบันวิจัยการพัฒนาสันติภาพ (Institute of Peaceful Development Studies)

คณะวิจัยลัทธิมาร์กซ

  1. สถาบันวิจัยมาร์กซ (Academy of Marxism)
  2. สถาบันวิจัยจีนร่วมสมัย (Institute of Contemporary China Studies)
  3. สถาบันวิจัยสารสนเทศ (Institute of Information Studies
  4. สถาบันวิจัยการประเมินสังคมศาสตร์แห่งชาติ (National Institute of Assessment in Social Science)

(3) ภารกิจของสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์จีน

แผนพัฒนาสังคมศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนดำเนินสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์นอกจากจะจัดตั้งกลุ่มดำเนินงานวิจัยสำคัญเกี่ยวกับปรัชญาและสังคมศาสตร์แห่งชาติ ยังกำหนดโครงการวิจัยของสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์และหน่วยงานวิจัยในสังกัด ตามความต้องการการสร้างความเจริญทางวัตถุแบบสังคมนิยม การเสริมสร้างจิตสำนึกของอารยชน การสร้างนิติบัญญัติแบบประชาธิปไตย รวมถึงโครงการวิจัยตามความต้องการและทิศทางการพัฒนาในแต่ละสาขา สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์ยังมีภารกิจในการสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ระดับชาติ ทำการวิจัยด้านทฤษฎีสำคัญหรือปัญหาที่เกิดขึ้นในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ การดำเนินโครงการวิจัยหลักทั่วไปจะดำเนินการเป็นทีมวิจัยตามหัวข้อปัญหา คณะทำงานวิจัยจะใช้ความรู้ความชำนาญที่ถนัดเลือกหัวข้อปัญหานั้นไปดำเนินการวิจัย หัวข้อวิจัยส่วนมากจะมีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาเข้าร่วมวิจัยในเชิงบูรณาการ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของการทำวิจัย หรือบางครั้งอาจมีนักวิจัยบางกลุ่มเลือกทำงานวิจัยเดี่ยวตามความสนใจและความเชี่ยวชาญ

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]