หนิงเซี่ยหุย เปิดตัว 2 ตำรับสมุนไพรจีนป้องกันและรักษาโรค COVID-19

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 โรงพยาบาลแพทย์แผนจีนนครหยินชวน (Yinchuan Hospital of Traditional Chinese Medicine :银川市中医医院) ได้เปิดตัวยาสมุนไพรจีนป้องกัน COVID-19 ภายใต้ชื่อ
Anti-epidemic Granule (Sugar-free) (固本避瘟颗粒 (无糖型))” โดยได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เขตฯ หนิงเซี่ยหุย (宁夏回族自治区药品监督管理局) ให้สามารถใช้สำหรับป้องกัน COVID-19 อย่างเป็นทางการ

ส่วนผสมหลักของยา Anti-epidemic Granule ได้แก่ พืชตระกูลโสมหวงฉี (黄芪), โกฐเขมา (Atractylodes macrocephala:炒白术), ฝางเฟิง (Siler:防风), โป่งรากสน (tuckahoe:茯苓),ดอกสายน้ำผึ้ง (Honeysuckle:金银花), ใบงาขี้ม่อน (Folium Perillae :紫苏叶), พืชตระกูลราก (Rhizome:贯众) เจี๋ยเกิ๋ง (platycodon:桔梗), และ โหล่วเกง (Reed Root:芦根) โดยผลิตในรูปแบบผงยาชง ละลายในน้ำได้ดีทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้เร็ว สะดวกกว่ายาต้มสมุนไพรจีนแบบทั่วไป

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 สถาบันวิจัยการแพทย์แผนจีนหนิงเซี่ยของโรงพยาบาลแพทย์แผนจีนของเขตฯ หนิงเซี่ยหุย (宁夏中医医院暨宁夏中医研究院) ยังได้เปิดตัวยาสมุนไพรจีนป้องกัน COVID-19 อีกหนึ่งชนิด ภายใต้ชื่อ “Anti- epidemic Mixture (益气防疫合剂)” เป็นยาน้ำชนิดเข้มข้น สรรพคุณทางยาดีขึ้น และอายุการเก็บรักษานานกว่ายาต้มสมุนไพรจีนทั่วไป

ตั้งแต่ปี 2563 โรงพยาบาลแพทย์แผนจีนนครหยินชวนและโรงพยาบาลแพทย์แผนจีนของเขตฯ หนิงเซี่ยหุย ได้คิดค้นยาสมุนไพรตำรับต่าง ๆ เพื่อรักษาอาการที่เกิดจากการติดเชื้อ COVID-19 อาทิ ยาสมุนไพรฟอกปอด Lung Cleaner Mixture (清肺排毒合剂), ยาเสริมความสมดุลของเลือดในร่างกาย Replenishing Qi and Solid health Mixture (益气固卫合剂) ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาอาการของผู้ป่วยติดเชื้อที่อยู่ระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล (อันเนื่องมาจากเกิดการแพร่ระบาดอีกครั้งเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา) ตลอดจนการคิดค้นยาเพื่อป้องกัน COVID-19 อาทิ ยาชงป้องกัน COVID-19 แบบไร้น้ำตาล (Anti-epidemic Granule (Sugar-free)) และยาชงป้องกัน COVID-19 สูตร 2 (Anti-epidemic Mixture 2)

ทั้งนี้การใช้ยา Anti-epidemic Mixture ชนิดต่าง ๆ ยังจำเป็นต้องได้รับการสั่งจ่ายโดยแพทย์จากโรงพยาบาลแพทย์แผนจีนของเขตฯ หนิงเซี่ยหุยเท่านั้น แต่สำหรับยา Anti-epidemic Granule (Sugar-free) สามารถใช้ได้อย่างแพร่หลาย โดยล่าสุดได้ถูกแจกจ่ายแก่ประชาชนที่อยู่ระหว่างการกักตัวและอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่ยากต่อการเดินทาง จนต้องการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของประชาชน
ในพื้นที่

แหล่งอ้างอิง:

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1715459704387471947&wfr=spider&for=pc

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1715429403788030500&wfr=spider&for=pc

http://nxyjglt.nx.gov.cn/xwzx/gzdt/202002/t20200224_1966765.html

https://mp.weixin.qq.com/s/LvoLJXqxP8TT2IbAuN_86g

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]