สำนักงานสรรพากรนครฉงชิ่งเปิดเผยสถิติการนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศเดือนมกราคม- เมษายน 2564 มีมูลค่ารวม 245,910 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.3 แบ่งเป็นมูลค่าการนำเข้า 92,420 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.7) มูลค่าการส่งออก 153,490 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.2)
เดือนเมษายน 2564 นครฉงชิ่งมีมูลค่าการนำเข้าส่งออกรวม 65,660 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7) แบ่งเป็นมูลค่าการนำเข้า 24,480 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.2) มูลค่าการส่งออก 65,660 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 22) โดยมูลค่าการนำเข้าส่งออกสินค้าทั่วไปเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 มูลค่ารวม 23,940 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.4)
มูลค่าการนำเข้าส่งออกแบ่งตามประเภทวิสาหกิจ ได้แก่ (1) วิสาหกิจเอกชนมีมูลค่านำเข้าส่งออก 101,515 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.3) (2) รัฐวิสาหกิจ มีมูลค่าการนำเข้าส่งออก 23,340 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.3) และ (3) วิสาหกิจต่างชาติ มีมูลค่าการนำเข้าส่งออก 117,180 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9)
คู่ค้ารายใหญ่ของนครฉงชิ่งใน 4 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ (1) อาเซียน มีมูลค่า 40,110 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4) (2) สหภาพยุโรป มีมูลค่า 38,920 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.6) และ (3) สหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 35,620 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.2) นอกจากนี้ มูลค่าการนำเข้าส่งออกกับประเทศในแถบเส้นทางข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง มีมูลค่า 68,160 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.2)
สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค มีมูลค่าการส่งออก 58,750 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 9,810 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 34) ในขณะที่สินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการนำเข้า 37,850 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7) แร่และแร่โลหะ มีมูลค่าการนำเข้า 6,060 ล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 120)
สถิติข้างต้นสะท้อนความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของนครฉงชิ่ง โดยนครฉงชิ่งเป็นฐานการผลิตและส่งออกคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่ใหญ่ที่สุดของโลกมีปริมาณซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คทั้วโลก นอกจากนี้นครฉงชิ่งยังเป็นฐานการผลิตโทรศัพท์มือถือคิดเป็นร้อยละ 10 ของโทรศัพท์มือถือทั้งโลก จึงอาจกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่ที่พบเจอในท้องตลาด 3 เครื่องจะมี 1 เครื่องที่ผลิตจากนครฉงชิ่ง และโทรศัพท์มือถือ 10 เครื่องจะมี 1 เครื่องที่ผลิตมาจากนครฉงชิ่ง จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย อาจเพิ่มช่องทางการเข้าอยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตของอุตสาหกรรมดังกล่าวกับผู้ประกอบการในนครฉงชิ่ง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Chongqing customs district P.R.CHINA (เข้าถึงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564)
http://chongqing.customs.gov.cn/chongqing_customs/515855/515856/3670596/index.html
Chinanews.com (เข้าถึงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564)
h b ttps://www.sohu.com/a/396800983_120388781
ภาพประกอบ : สำนักงานสรรพากรนครฉงชิ่ง
(Chongqing Customs District P.R. China)