Inside Innovation | เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet)

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet)
ดาวเทียมสื่อสารวงโคจรต่ำ Low-Earth Orbit (LEO) 5G Broadband Satellite 

สัมภาษณ์ คุณอิซาเบล ฉางหลิว (Isabel Chang Liu)
ผู้ร่วมก่อตั้งและรองประธานบริษัท Galaxy Space (银河航天)
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 เผยแพร่คลิปวิดีโอ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564

ปัจจุบัน พื้นที่บนโลก (land) มีเพียง 20% ที่ครอบคลุมสัญญาณอินเทอร์เน็ต การใช้งานดิจิทัลและจำนวนอุปกรณ์ IoT ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ยังมีประชากรโลกจำนวนอีก 47% ที่ยังไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

ดาวเทียมสื่อสารวงโคจรต่ำ (LEO broadband satellite) คือ คำตอบในการเชื่อมโยงพื้นที่ห่างไกล ชนบท ทางทะเล ทางอากาศ เข้าด้วยกัน รวมถึงการสื่อสารในช่วงภัยพิบัติ และบรรเทาสาธารณภัย ในพื้นที่ที่อินเตอร์เข้าไม่ถึง อุตสาหกรรมการสื่อสารผ่านดาวเทียมนี้ จะนำไปสู่โอกาสที่สำคัญทางเทคโนโลยี นวัตกรรม และธุรกิจมากมาย

ฝ่าย อว. สอท.กรุงปักกิ่ง ขอแนะนำให้รู้จัก Galaxy Space สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีดาวเทียมระดับยูนิคอร์นของจีน ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน 2018 Galaxy Space มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว มีบุคลากรมากกว่า 300 คน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ปักกิ่ง ซีอาน และเฉิงตู

ขณะนี้ ดาวเทียมบรอดแบนด์แบบวงโคจรต่ำดวงแรกของ Galaxy Space อยู่ในวงโคจรเกือบ 2 ปีแล้ว และกำลังวางแผนสร้างโรงงานดาวเทียมขนาดใหญ่ โดยตั้งเป้าหมายการผลิตดาวเทียม 500 ดวงต่อปี

อิซาเบล ฉางหลิว กล่าว่า ทิศทางการพัฒนาของ Galaxy Space ในอนาคต จะเน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต้นทุนต่ำ เพื่อลดต้นทุนการผลิตดาวเทียมเพื่อให้สร้างดาวเทียมได้มากขึ้นและเร็วขึ้น และสร้างความสัมพันธ์ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่ดาวเทียมอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม เป็นโซลูชั่นราคาประหยัดและประสิทธิภาพสูง ที่สามารถเติมเต็มช่องว่างของการสื่อสารทางสภาพภูมิประเทศ และมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่รองรับ

ฝ่ายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง
(กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.))
www.stsbeijing.org
www.facebook.com/stsbeijing

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]