จีนเปิดใช้ระบบเฝ้าติดตาม ‘ธารน้ำแข็ง’ แบบเรียลไทม์ | XinhuaThai

(แฟ้มภาพซินหัว : จุดชมวิวบนธารน้ำแข็งต๋ากู่ ในอำเภอเฮยสุ่ย แคว้นปกครองตนเองอาป้า กลุ่มชาติพันธุ์ทิเบตและเชียง มณฑลซื่อชวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 14 พ.ย. 2020)

ปักกิ่ง, 27 ต.ค. (ซินหัว) — สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) เปิดเผยการเปิดใช้ระบบเฝ้าติดตามธารนำแข็งแบบเรียลไทม์อย่างเป็นทางการ เพื่อติดตามธารน้ำแข็งบนภูเขาอวี้หลง (Yulong Mountain) หรือภูเขาหิมะมังกรหยก ในมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ

ระบบดังกล่าวถูกพัฒนาร่วมกันโดยสถาบันสภาพแวดล้อมเชิงนิเวศวิทยาและทรัพยากรตะวันตกเฉียงเหนือ (NIEER) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน และศูนย์การสำรวจและจัดทำแผนที่แอนตาร์กติกจีน (CACSM) แห่งมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น ประกอบด้วยโมดูลที่ใช้ระบบดาวเทียมนำทางทั่วโลก (GNSS) เครื่องวัดระยะเลเซอร์ กล้อง อุปกรณ์ทางอุตุนิยมวิทยา อุปกรณ์วัดอุณหภูมิน้ำแข็ง และเครื่องวัดแผ่นดินไหว

ข้อมูลจากการเฝ้าติดตามจะถูกส่งผ่านเครือข่าย 4G และเผยแพร่ทางออนไลน์ โดยนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021 ระบบดังกล่าวดำเนินการเก็บข้อมูลการละลายและการสะสมตัวของธารน้ำแข็ง ความเร็วของธารน้ำแข็ง การสั่นสะเทือนของชั้นน้ำแข็ง และแรงดันความชื้นอุณหภูมิ ซึ่งช่วยลดความยากลำบากและอันตรายที่อาจเกิดจากการจำลองการเฝ้าติดตามธารน้ำแข็งที่ระดับสูง บรรลุความต่อเนื่องและความแม่นยำของการเก็บข้อมูล ตลอดจนการสร้างภาพการส่งข้อมูล

ทั้งนี้ ข้อมูลจากการเฝ้าติดตามของระบบข้างต้นจะถูกอัปเดตทางออนไลน์ทุก 5 นาที

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :

Xinhua

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]