• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • พลังแห่งโซเชียลจีน!”ชาวจีนช้อปแหลกเพื่อแบรนด์อุปกรณ์กีฬาสัญชาติจีน” ยอดขายเพิ่มข…

พลังแห่งโซเชียลจีน!”ชาวจีนช้อปแหลกเพื่อแบรนด์อุปกรณ์กีฬาสัญชาติจีน” ยอดขายเพิ่มข…

พลังแห่งโซเชียลจีน!”ชาวจีนช้อปแหลกเพื่อแบรนด์อุปกรณ์กีฬาสัญชาติจีน” ยอดขายเพิ่มขึ้น 52 เท่าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ตอบแทนยอดบริจาคน้ำท่วม 250 ล้านบาทจากแบรนด์
.
ได้ใจชาวจีนไปเต็มๆ สำหรับแบรนด์รองเท้าและอุปกรณ์กีฬาสัญชาติจีน “Erke” เมื่อพวกเขาประกาศบริจาคช่วยเหลือเหตุน้ำท่วมใหญ่มณฑลเหอหนาน คิดเป็นเงินมากถึง 50 ล้านหยวน (ราว 250 ล้านบาท) ชาวเน็ตจีนต่างพากันบอกว่า เป็นยอดเงินบริจาคที่สูงมาก ถ้าเทียบกับการเป็นแบรนด์จีน ไม่ได้เป็นแบรนด์ระดับโลก โดยสื่อจีน อย่างเช่น GlobalTimes สื่อกระบอกเสียงทางการจีน ใช้คำเรียกการบริจาคครั้งนี้ของ Erke ว่า Low-Profile Donation ด้วยซ้ำ
.
ด้วยสาเหตุข้างต้น จึงเกิดเป็นกระแสไวรัลไปทั่วโลกออนไลน์จีน โดยเฉพาะบน Weibo โซเชียลมีเดียจีน โพสต์ประกาศบริจาค 50 ล้านหยวน ของ Erke บนเพจทางการบน Weibo มียอด Likes มากกว่า 9.5 ล้านครั้ง และ จำนวนความคิดเห็นอีกกว่า 282,000 ความคิดเห็น และเมื่อพวกเขาทำการ Live สด ยอดดูก็มีมากถึง 2 ล้านวิว จากที่ก่อนหน้านี้ ยอดดู Live ของพวกเขา โดยเฉลี่ยต่ำกว่า 10,000 วิว
.
ไม่ใช่แค่ส่งผลต่อยอด Likes จำนวนความคิดเห็น ยอดดู Live สด บนสื่อโซเชียลของบริษัท แต่ทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับบริษัท Erke ต่างเป็น Talk of the Town เป็นไวรัล ติดคำค้นหายอดฮิตบน Weibo แทบทั้งนั้น โดยส่งผลไปถึงแคมเปญเฉพาะกิจที่ชาวโซเชียลจีนต่างทำขึ้นมาเพื่อ Erke นั่นคือ “ช้อปปิ้งสินค้า Erke อย่างบ้าคลั่ง เพื่อตอบแทนน้ำใจอันยิ่งใหญ่”
.
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อในพลังของโซเชียลจีน มีการเปิดเผยโดย 都市快报 ระบุว่า “Shop ของ Erke สาขาถนนเหยียนอัน เมืองหังโจว มณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นหนึ่งใน 20 กว่าสาขาในหังโจว แต่เป็นสาขาเดียวที่อยู่ในเขตเมือง เปิดมา 10กว่าปีแล้ว ปกติยอดขายของที่สาขานี้ก็ไม่ได้แย่อะไร แต่สองวันมานี้ (24-25 กรกฎาคม 2564) ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัว โดยมีผู้ให้สัมภาษณ์กับสื่อด้วยว่า “ตั้งใจมาซื้อรองเท้าของแบรนด์นี้โดยเฉพาะ หลังจากได้ยินข่าวการบริจาค 50 ล้านหยวน”
.
หลายสาขาของ Erke ตามเมืองต่างๆของจีน ก็มีรายงานบน Weibo เพจต่างๆว่า มีคนเข้าไปซื้อสินค้าแน่นร้านเป็นพิเศษแตกต่างจากช่วงเวลาปกติ
.
ชาวโซเชียลจีนไม่ได้พากันไปซื้อสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีชาวจีนบางคน ตั้งใจไปร่วมบริจาค โดยการจ่ายเงินค่าสินค้าเกินกว่าราคาที่ต้องจ่าย อย่างเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา เหตุเกิดที่สาขาหนึ่งของ Erke ในเมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู มีชายคนหนึ่งจ่ายเงินหน้าเคาน์เตอร์คิดเงิน จ่ายด้วยการสแกน QRCode จึงไม่ต้องรอพนักงานนับเงินหรือทอนเงินใดๆ สิ่งที่ชายผู้นี้ทำคือ จ่ายเงิน 1,000 หยวน (ราว 5,000 บาท) ทั้งๆที่ยอดเงินที่ต้องชำระเพียง 500 หยวน (ราว 2,500 บาท) เท่านั้น เมื่อสแกนจ่ายเงินเสร็จ ก็วิ่งออกจากร้านโดยทันที ซึ่งหลังเขาออกจากร้านไป พนักงานถึงจะรู้ว่าลูกค้าคนนี้จ่ายเงินก่อน และกำลังพยายามตามหาชายผู้นี้อยู่
.
ด้านข้อมูลจาก JD.com แพลตฟอร์ม E-commerce คู่แข่งสำคัญของ Alibaba ยักษ์ใหญ่จีน รายงานยอดขายของ Erke บนแพลตฟอร์ม JD.com ประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ยืนยัน “ยอดขายพุ่ง 52 เท่า”
.
Wu Rongzhao ประธานบริษัท Erke เปิดใจถึงการตัดสินใจบริจาคครั้งยิ่งใหญ่เพื่อน้ำท่วมมณฑลเหอหนานในครั้งนี้ ผ่านบัญชี Weibo ของเขา ว่า

“Erke ผ่านวิกฤติมาหลายต่อหลายครั้ง นับตั้งแต่ก่อตั้งแบรนด์เมื่อ 21 ปีที่แล้ว ไม่ว่าจะน้ำท่วมใหญ่จนทำให้อุปกรณ์ของบริษัทและวัตถุดิบเสียหายจำนวนมาก หลังจากก่อตั้งได้เพียง 3 ปี อีก 5 ปีจากนั้นก็เจอปัญหาทางการเงิน และเมื่อ 6 ปีที่แล้ว ก็เพิ่งเจอเหตุไฟไหม้ใหญ่ที่ทำให้สินค้าครึ่งหนึ่งเสียหาย จนถึงตอนนี้ บริษัทก็ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากเหมือนกัน แต่แต่ไม่ถึงกับขั้นใกล้ล้มละลาย อย่างไรก็ตามวิกฤติที่เกิดกับพวกเขา ทำให้เขาเข้าใจปัญหาของผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็นอย่างดี”
.
อย่างไรก็ตาม แบรนด์อุปกรณ์กีฬาสัญชาติจีนแท้ๆ ไม่ได้มีแค่ Erke เพียงแบรนด์เดียวที่ตัดสินใจบริจาคก้อนใหญ่ ยังมีแบรนด์ Anta อีกหนึ่งแบรนด์ที่บริจาค 50 ล้านหยวนช่วยเหลือน้ำท่วมเหอหนาน ตามการรายงานของ GlobalTimes
.
ทั้งนี้ ตั้งแต่สงครามการค้าจีน-อเมริกาเมื่อหลายปีก่อน และการแพร่ระบาดโควิดเมื่อปีที่แล้ว (2563) เป็นดั่งการกระตุ้นให้คนจีนหันมาบริโภคแบรนด์ Local มากยิ่งขึ้น เรียกว่าเป็นการบริโภคแบบชาตินิยม ก็ว่าได้

.
อ้ายจงเล่าเรื่องจาก

Weibo:都市快报
https://m.weibo.cn/1847582585/4662918639259509

Weibo: 头条新闻 (คลิปชาวจีนจ่ายเงินเกิน เพื่อตอบแทน Erke)
https://m.weibo.cn/1618051664/4662475998101969

GlobalTimes
https://www.globaltimes.cn/page/202107/1229422.shtml

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #กระแสสังคมจีน #การตลาดจีน





ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]