• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • “ควบคุมกวดวิชา” ความพยายามครั้งใหม่ แก้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจีน / เมื่อครั้ง…

“ควบคุมกวดวิชา” ความพยายามครั้งใหม่ แก้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจีน / เมื่อครั้ง…

“ควบคุมกวดวิชา” ความพยายามครั้งใหม่ แก้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจีน / เมื่อครั้งหนึ่งนร.อันดับ1 ปักกิ่ง ระบุ “คงจะเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กชนบทที่จะเข้าเรียน ใน มหาวิทยาลัยดีดี”
.
เมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลจีนได้ประกาศควบคุมธุรกิจติวเตอร์-กวดวิชาในจีน โดยให้ธุรกิจเหล่านี้เปลี่ยนเป็งองค์กรไม่แสวงหากำไร และจะไม่มีการออกใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจติวเตอร์-กวดวิชาเพิ่มเติม พร้อมควบคุมเรื่องการระดมทุน และห้ามเข้าตลาดหุ้น รวมถึงห้ามมีการจัดการเรียนการสอนในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ช่วงปิดภาคเรียน
.
จีนออกมาตรการดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่า “ต้องการลดภาระแก่พ่อแม่ในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ในปัจจุบันพ่อแม่ชาวจีน โดยเฉพาะชนชั้นกลางขึ้นไป มีค่าใช้จ่ายค่าเรียนพิเศษของลูกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
.
สามารถวิเคราะห์ได้ว่า จีนต้องการสร้างบรรยากาศที่ดี ลดค่าครองชีพ ลดค่าใช้จ่าย ให้ชาวจีนรุ่นใหม่ อยากมีลูกเพิ่มขึ้น หลังอัตราการเกิดในจีน ลดลงอย่างหนัก แม้จีนจะออกนโยบายลูกคนที่ 3 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีลูกเพิ่มขึ้นก็ตคาม เพื่อมาเติมเต็มจำนวนประชากรรุ่นใหม่

เนื่องจากจีนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบแล้ว และถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไป จะกระทบกับเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศของจีนในอนาคต
.
อีกหนึ่งเหตุผลหลัก คือ การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ทางจีนได้ดำเนินนโยบายลดความเหลื่อมล้ำมาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้วเหมือนกัน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นมานานและยังไม่สามารถแก้ได้
.
ยกตัวอย่างเช่น ย้อนไปเมื่อปี 2017 เกิดกระแสสังคมจีนถึงประเด็นดราม่า “คงจะเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กชนบทที่จะเข้าเรียน ใน มหาวิทยาลัยดีดี” โดยนักเรียนจีนที่สอบเกาเข่า หรือสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยจีน ได้คะแนนสูงสุดในปักกิ่ง สำหรับสายศิลป์ ได้จุดประเด็นนี้
.
เขาให้สัมภาษณ์กับสื่อ ว่า “เด็กจีนที่มาจากเขตชนบท คงจะเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยดีดี อย่างตัวผมที่มาจากชนชั้นกลาง พ่อแม่มีการศึกษา อาศัยในเมืองใหญ่อย่างกรุงปักกิ่ง ทำให้ไม่ต้องมาวิตกกังวลกับสภาพการใช้ชีวิต ทำให้ได้ใช้เวลาเต็มที่กับการเรียน ซึ่งมีโอกาสทางการศึกษามากมายที่เราได้รับ และครอบครัวก็พร้อมหยิบยื่นให้ ในขณะที่เด็กในชนบท จะไม่มีโอกาสตรงนี้เหมือนเรา”
.
ดราม่าในครั้งนั้น แบ่งชาวโซเชียลจีนเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่เห็นด้วย กับ ฝ่ายที่มองว่า เป็นการดูถูกผู้อื่น และการอยู่ในเมืองหรือชนบทไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการสอบ
.
แต่ว่ากันตามตรงนะครับ สิ่งที่เด็กคนนี้กล่าว มีส่วนจริง

มันมีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างในเมืองใหญ่และชนบทจริงๆ ทางการจีนก็ยอมรับและหาทางแก้
.
อย่างในปี 2007 ทางการจีนได้เริ่มต้นนโยบายเรียนฟรี ในการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี สำหรับเด็กในชนทบท พร้อมจัดสรรหนังสือฟรีและเงินช่วยเหลือค่าที่พักอาศัย เพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และในปี 2012 ทางการจีนได้เริ่มเพิ่มโควตาในมหาวิทยาลัยชั้นนำของจีน และในคลาสที่หนึ่ง ให้กับเด็กชนบท (มหาวิทยาลัยในจีน แบ่งเป็น 3 คลาส)
.
โดยความพยายามแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของจีน ก้าวมาถึงมาตรการล่าสุด “ควบคุมธุรกิจกวดวิชา” ธุรกิจที่จีนมองว่าเป็นส่วนหนึ่ง(สำคัญ)ของความเหลื่อมล้ำ ตามที่กล่าวไปข้างต้น

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]