• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • #เล่าจีน ตำนานกระต่ายบนดวงจันทร์ผู้ลงมาปัดเป่าทุกข์โศกขจัดโรคระบาดลนโลกมนุษย์ ต้…

#เล่าจีน ตำนานกระต่ายบนดวงจันทร์ผู้ลงมาปัดเป่าทุกข์โศกขจัดโรคระบาดลนโลกมนุษย์ ต้…

#เล่าจีน ตำนานกระต่ายบนดวงจันทร์ผู้ลงมาปัดเป่าทุกข์โศกขจัดโรคระบาดลนโลกมนุษย์ ต้นกำเนิดการบูชาเทพเจ้ากระต่ายในวันไหว้พระจันทร์
.
เมื่อถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับเทศกาลนี้ คือ “ตำนานเทพเจ้ากระต่าย” ซึ่งทำให้อ้ายจงนึกถึงเมื่อช่วงปี 2018 หรือ 3 ปีก่อน ได้รับเชิญไปทำกิจกรรมของสื่อหลักของจีน CRI (ในเครือ China Media Group) โดยได้ไปเยี่ยมชม Beijing Yuetan Inheritance Club ที่จัดแสดงผลงานทางศิลปะวัฒนธรรมของจีน
.
ครั้งนั้นอ้ายจงได้ฟังบรรยาย “ตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่ายปักกิ่ง” ตุ๊กตาและของเด็กเล่นคู่บ้านคู่เมืองปักกิ่งมาตั้งแต่อดีต อ้ายจงได้ระบายสีตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่ายด้วย แต่ก็อย่างในรูปครับ ผลงานนี่เด็กอยุบาลเห็นแล้วยิ้มเลย เฮ้ยยย เพื่อนกันนี่นา (ฝีมือเด็กน้อยมากๆ) มีลงข่าวในสื่อจีนด้วยนะครับ ดีนะ ไม่มีรูปผลงานเต็มๆของอ้ายจงไปลง ไม่งั้นต้องขอปี๊บหนึ่งใบ >< กล่าวถึงตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่าย หลายคนคงจะสงสัยว่า "ทำไมถึงต้องเป็นเทพเจ้ากระต่าย?" เรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร มามา อ้ายจงจะเหลา เอ้ย เล่าให้กระจ่าง . มีเรื่องเล่ากันว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งในอดีตนานแสนนาน ที่เมืองปักกิ่งเกิดโรคระบาดอย่างหนัก เมื่อเทพธิดาฉางเอ๋อบนดวงจันทร์มองลงมา ก็เกิดความสงสารเป็นอย่างมาก จึงส่งกระต่ายหยกที่อยู่ข้างกายตนลงมารักษาชาวบ้าน โดยกระต่ายหยกแปลงกายเป็นหญิงสาวที่มารักษาชาวบ้านจนหายจากโรคจนหมดทุกคน (บางครั้งก็เห็นเป็นชายบ้าง หญิงบ้าง) ชาวบ้านจึงตอบแทนด้วยสิ่งของต่างๆ . แต่กระต่ายหยกที่แปลงกายเป็นคน ก็ปฏิเสธไปและขอเพียงชุดเสื้อผ้าเพื่อเอาไว้สวมใส่เท่านั้น ทำให้ชาวบ้านเห็นกระต่ายหยกในร่างคนที่แตกต่างไป . เมื่อแก้ไขโรคระบาดเสร็จแล้ว กระต่ายหยกตัวนั้นก็ลอยกลับสู่ดวงจันทร์ ท่ามกลางความซาบซึ้งใจของชาวบ้าน ทุกคนจึงพากันยกย่องให้เป็นเทพเจ้า และปั้นตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่ายเพื่อบูชาและระลึกถึง โดยคนจีนเรียกเทพเจ้ากระต่ายว่า 兔儿爷 . มีหลักฐานที่ชี้ถึงตำนานนี้ว่า ชาวจีนเริ่มปั้นตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่ายและนำของมาบูชาพระจันทร์ตั้งแต่ราวราชวงศ์หมิง ซึ่งเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 วันไหว้พระจันทร์ ชาวบ้านจะนำของมากราบไหว้บูชา พร้อมปั้นตุ๊กตาเทพเจ้ากระต่าย ที่อยู่ในชุดแต่งกายและขี่สัตว์ต่างๆ แต่ที่เห็นบ่อยสุดคือ ขี่เสือ #อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #เทพเจ้ากระต่าย #兔儿爷 #ไหว้พระจันทร์ #中秋节


ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]